ส่องระเบียบขนส่งฯ รถบัสมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ตรงไหนบ้าง?

ส่องระเบียบขนส่งฯ รถบัสมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ตรงไหนบ้าง?

ส่องระเบียบขนส่งฯ รถบัสมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ตรงไหนบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ส่องระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยมาตรฐานรถโดยสารแบบมีเครื่องปรับอากาศ จะต้องมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ทางออกฉุกเฉินจะต้องอยู่บริเวณใดบ้าง?

จากกรณีรถบัสทัศนศึกษาของนักเรียนเกิดเพลิงลุกไหม้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากนั้น หากย้อนดูระเบียบของกรมการขนส่งถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถบัสประเภท ม.1 (ข) หรือรถโดยสารมาตรฐาน 2 ข มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งโดยสารเกิน 30 ที่นั่ง ดังที่ปรากฏในข่าว ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับทางออกฉุกเฉินเอาไว้ ดังนี้

กระจกกันลมและส่วนประกอบตัวถังที่เป็นกระจก - ส่วนประกอบของตัวถังด้านข้างที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ (Tempered) จำนวนอย่างน้อย 2 บาน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่ด้านขวาของตัวรถค่อนไปทางด้านหน้ารถอย่างน้อย 1 บาน และอยู่ด้านซ้ายของตัวรถในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างน้อย 1 บาน ต้องมีข้อความว่า "ทางออกฉุกเฉิน"

หมายเหตุ: กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) เป็นกระจกนิรภัย เมื่อเกิดการแตกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคม 

ค้อนทุบกระจก - มีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย 2 อัน ติดตั้งอย่างปลอดภัยที่ด้านซ้ายและด้านขวาของตัวรถใกล้บ้านกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์

ค้อนสำหรับการทุบกระจกนิรภัยค้อนสำหรับการทุบกระจกนิรภัย

ประตูฉุกเฉิน - ประตูฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ประตู ความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร อยู่ที่ด้านขวาของห้องโดยสารบริเวณกลางตัวรถหรือค่อนไปทางท้ายรถหรือด้านท้ายรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกโดยไม่ต้องใช้กุญแจหรือเครื่องมืออื่นใด โดยบานประตูต้องเปิดออกได้เต็มความกว้างและส่วนสูง และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางออกประตู มีเครื่องหมายข้อความว่า "ประตูฉุกเฉิน" พร้อมคำอธิบายหรือสัญลักษณ์แสดงวิธีเปิดปิดเป็นภาษาไทยทั้งด้านในและด้านนอกตัวรถ ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน และต้องติดป้ายโคมไฟบนพื้นสีขาว ที่มีตัวอักษรคำว่า "EXIT" สีแดง มีความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เหนือบานประตู ซึ่งต้องให้แสดงสว่างพร้อมกับโคมไฟหน้ารถ

เครื่องดับเพลิง - ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม จำนวนอย่างน้อย 2 เครื่อง ติดตั้งไว้ที่ด้านหน้า 1 เครื่อง และที่ด้านหลัง 1 เครื่อง

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง และรถโดยสารขนาดเล็ก จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง เทียบกับรถยนต์ส่วนบุคคลที่กำหนดให้ตรวจสภาพปีละ 1 ครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook