ต่อภาษีรถยนต์ เสาร์-อาทิตย์ ยื่นที่ไหนได้บ้าง?

ต่อภาษีรถยนต์ เสาร์-อาทิตย์ ยื่นที่ไหนได้บ้าง?

ต่อภาษีรถยนต์ เสาร์-อาทิตย์ ยื่นที่ไหนได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ ต่อภาษีรถยนต์ วันเสาร์และอาทิตย์ ปี 2567 - 2568 มีช่องทางใดบ้าง? และสามารถยื่นออนไลน์ได้หรือไม่?

ช่องทางต่อภาษีรถยนต์ เสาร์-อาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง?

1. ต่อภาษีออนไลน์

การต่อภาษีออนไลน์สามารถทำได้ด้วยตนเองจากที่บ้าน ผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax กรณีรถยนต์อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือมอเตอร์ไซต์อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้เข้ารับการตรวจสภาพกับสถานตรวจรถเอกชน (ตรอ.) จากนั้นจึงจะสามารถยื่นชำระภาษีออนไลน์ได้ โดยรอรับเครื่องหมายการเสียภาษีทางไปรษณีย์ภายใน 5 วันทำการ

นอกจากนี้ การต่อภาษีออนไลน์สามารถซื้อประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกเพื่อใช้ยื่นต่อภาษีได้ทันที

2. Shop Thru for Tax ที่ห้างสรรพสินค้า 

1. ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี 14 สาขา
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 9.00-17.00 น.

หมายเหตุ: ห้างสรรพสินค้า BigC ทั้ง 14 สาขา ได้แก่

  • ลาดพร้าว
  • รามอินทรา
  • รัชดาภิเษก
  • บางปะกอก (ปิด 16.30 น.)
  • สำโรง
  • บางนา
  • อ่อนนุช
  • เพชรเกษม
  • สุขาภิบาล3
  • บางบอน (ปิด 16.30 น.)
  • สุวินทวงศ์
  • แจ้งวัฒนะ
  • บางใหญ่
  • สมุทรปราการ

2.เซ็นทรัลเวสต์เกต
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:00-17:30 น.

3.เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:00-17:30 น.

4.เซ็นทรัลศาลายา
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:00-18:30 น.

5.เซ็นทรัลเวิลด์
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 11:00-18:00 น.

6.ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.

7.ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.

3. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา

นำบัตรประชาชน สำเนาเล่มทะเบียน และเอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อชำระภาษีได้ สำหรับรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี โดยมีค่าบริการเพิ่มเติม 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายภาษี 40 บาท

4. ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)

บริการชำระภาษีผ่านตู้รับชำระภาษี หรือ Kiosk ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 ได้แก่ บางขุนเทียน ตลิ่งชัน สุขุมวิท มีนบุรี และจตุจักร โดยลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ทำรายการ จากนั้นเลือกชำระเงินและรับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีได้ทันที

ทั้งนี้ การชำระภาษีรถยนต์และจักรยานยนต์ทุกช่องทาง สามารถชำระล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook