ฝรั่งพูดคนไทยงง : Have a finger in every pie
Have a finger in every pie
สำนวนฉบับนี้เป็นคำง่ายๆ ที่แปลตามตัวแล้วก็คือ "มีนิ้วในพาย ทุกชิ้น" จริงอยู่ว่าเวลานำไปใช้จริง คุณไม่สามารถแปลตรงตัวแบบนี้ได้ แต่ว่ากันจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้ก็ไม่ทิ้งความหมาย เดิมเท่าไรนะครับ มาลองเดาจากบทสนทนา ระหว่างครูวิทยาศาสตร์กับครูพละของ โรงเรียนแห่งหนึ่งกันก่อนครับ
Science Teacher: What happened? Why did the headmistress call you to her office?
ครูวิทยาศาสตร์ มีอะไรหรือเปล่า ทำไมอาจารย์ใหญ่เรียกอาจารย์ไปพบล่ะครับ
PE Teacher: She wanted to check the progress with the upcoming Sports Day. I needed to give her every last detail of it. And she ended up changing everything I had prepared.
ครูพละ ท่านอยากเช็กความก้าวหน้าของงานกีฬาสีที่กำลังจะจัดนี่ล่ะครับ ผม ต้องบอกรายละเอียดทุกอย่างให้ท่านฟัง แล้วสุดท้ายท่านก็เปลี่ยน ทุกอย่างที่ผมเตรียมไว้แต่แรกหมดเลย
Science Teacher: Me too! Last week she asked me to submit a full report about the Science Week project. She ordered me to change this and that without listening to me who is directly in charge of it. She does have a finger in every pie!
ครูวิทยาศาสตร์ เหมือนกันเลยครับ เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ท่านให้ผมส่งรายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ท่านสั่งให้ผมเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ แบบไม่ฟังผมเลยทั้งๆ ที่ผมดูแลเรื่องนี้โดยตรง ท่านนี่ have a finger in every pie! จริงๆ
ความหมายของสำนวนนี้ก็คือ "เข้าไปยุ่งหรือ ควบคุมเรื่องทุกเรื่อง" นั่นเอง การใช้สำนวนนี้จะแฝง ความรู้สึกว่าผู้พูดไม่พอใจ เพราะรู้สึกว่าถูกก้าวก่ายสิ่ง ที่เรารับผิดชอบหรือมีอำนาจอยู่ จึงเป็นสำนวนที่ใช้ในแง่ลบครับ สังเกตว่าแม้จะมีความหมายออกแนวพหูพจน์ แต่คำว่า finger ในสำนวนนี้ต้องเป็นรูปเอกพจน์คือ มี a นำหน้าเสมอครับ ส่วนถ้าเป็นการเข้าไปมีส่วน ร่วมในแง่บวก เราอาจเลือกใช้ชุดคำคือ friendly and helpful ซึ่งให้ความหมายว่า "มีน้ำใจช่วยเหลือ" แทน ครับ เช่น The headmistress is really friendly and helpful. She lets me do my task freely but when I have a problem, she is always there to help me handle it. อาจารย์ใหญ่เป็นคนที่มีน้ำใจช่วยเหลือ คนอื่นจริงๆ ท่านให้ผมทำงานของตัวเองได้อย่างอิสระ แต่เวลาที่ผมมีปัญหาท่านก็พร้อมจะช่วยแก้ไขเสมอ
ฉบับนี้ก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกับสำนวน ชวนงงกันอีกครั้งในฉบับหน้าครับ
คอลัมน์ ฝรั่งพูดคนไทยงง
ผู้เขียน ณัฐวรรธน์ (I Get English Magazine)