ฝรั่งพูดคนไทยงง : Skating on Thin Ice
สำนวนในฉบับนี้มากับเรื่องเย็นๆ อย่าง "สเกตน้ำแข็ง" ครับ แต่เอาเข้าจริงความหมายจะพลิกผันจนน่างุนงงได้สักขนาดไหน ต้องลองเดาจากบทสนทนาของเพื่อนสนิท 2 คนโดยทั้งคู่ทำงานอยู่ ในบริษัทออกแบบแห่งหนึ่งครับ
Reece: How's your logo design for DTT Company going on?
รีซ งานออกแบบโลโก้ของบริษัทดีทีทีไปถึงไหนแล้วล่ะ
Reuben: Well, it's almost finished. I'm going to put a cat in the middle.
รูเบน ก็ใกล้เสร็จแล้วล่ะ ฉันกะจะใส่รูปแมวไว้ตรงกลางน่ะ
Reece: Let me see. It's cute but don't you think it looks similar to that of the competitor?
รีซ ไหน ขอดูหน่อย ก็น่ารักดีแต่มันดูเหมือนของบริษัทคู่แข่งมากไปหน่อย ไหม
Reuben: No way. The tone is different.
รูเบน ไม่แน่นอน โทนสีต่างกันนะ
Reece: I don't think that's a valid excuse in case they find out. They'll probably sue you and DTT for this. You'd better come up with another logo. You're skating on thin ice!
รีซ ถ้าพวกเขาเจอขึ้นมา แก้ตัวแค่นี้ฟังไม่ขึ้นหรอกนะ พวกเขาอาจจะฟ้องนายกับดีทีทีก็ได้ ฉันว่านายคิดหาโลโก้แบบอื่นดีกว่า นายน่ะกำลัง skating on thin ice รู้ไหม
สังเกตว่าสองหนุ่มพูดเรื่องการออกแบบ และแมวอยู่ดีๆ แต่รีซกลับปิดท้ายเป็นเรื่องสเกตน้ำแข็งไปเสียได้ แต่ก็น่าจะเดาไม่ยากครับ เพราะสำนวน skating on thin ice แปล ตามตัวก็คือ เล่นสเกตบนน้ำแข็งแผ่นบางๆ
ซึ่งมันก็เสี่ยงอันตรายใช่ไหมครับ เพราะน้ำแข็งอาจจะแตกทำให้ผู้เล่นล้มบาดเจ็บ ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของความหมายที่แท้ จริงว่า skating on thin ice คือ ทำบางอย่างที่เสี่ยงจะก่อให้เกิดปัญหา สังเกตว่า กริยา skate ต้องอยู่ในรูปเติม -ing เสมอ นั่นเท่ากับมันต้องตามหลังกริยา be เสมอ เช่นกัน (คือเป็นรูป continuous) แต่ถ้า คุณไม่อยากใช้กริยา skate สำนวนนี้ก็ยัง มีคำที่มาสับเปลี่ยนได้ครับคือ walk และ tread โดยคำแรกเป็นคำกลางๆ ที่รู้จักกัน ดีหมายถึง เดิน ในขณะที่คำหลังให้ความ หมายเจาะจงมากขึ้นหมายถึง เดินย่ำลงไป (คือเน้นว่าต้องใช้แรงในการเหยียบ) เพราะ ฉะนั้นจากกรณีด้านบน เราอาจจะพูดได้ว่า Reuben is walking/treading on thin ice. หรืออีกทางเลือกหนึ่งที่ดูง่ายกว่าก็คือ ไม่ต้องมีกริยาเติม -ing เลย ก็จะเหลือเป็น be on thin ice ถ้าใช้ตัวอย่างเดิมก็จะเป็น Reuben is on thin ice. นั่นเอง
ฉบับนี้ก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ แล้วติดตามสำนวน ชวนงงได้ใหม่ในฉบับหน้านะครับ
คอลัมน์ ฝรั่งพูดคนไทยงง
ผู้เขียน ณัฐวรรธน์ (I Get English Magazine)