ความแตกต่างระหว่างโอโซนกับออกซิเจน

ความแตกต่างระหว่างโอโซนกับออกซิเจน

ความแตกต่างระหว่างโอโซนกับออกซิเจน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


The Differences between Ozone and Oxygen

Has anyone ever invited you to the beach to "breathe in the ozone"? In Thailand, most people often misuse the word "ozone" for "clean air" or "oxygen". Though both ozone and oxygen are composed of the same element, their properties are vastly different from one another. What are the differences between ozone and oxygen? To set the record straight, we will examine the differences between oxygen and ozone in this issue.

As you all know, most organisms need to breathe in oxygen to survive. Gaseous oxygen is composed of two oxygen atoms (O2). At standard temperature and pressure, oxygen is a pale blue, odorless and tasteless gas that constitutes roughly 20% of the air by volume. When oxygen gas is irradiated by ultra violet light or UV, the bonds between the two oxygen atoms are broken, resulting in the formation of a tri-oxygen molecule known as ozone (O3). Even though ozone has just one extra oxygen atom, its chemical properties are completely different. Ozone is a pale blue gas with a sharp odor, similar to that of chlorine. Near the surface of the earth, ozone is considered a pollutant formed as a byproduct of automobile exhaust. At the concentration of 100 parts per billion, ozone can damage the mucus membranes of our respiratory tract and kill plant cells.

Despite its toxic effect at ground level, the presence of ozone at a high atmospheric level is surprisingly beneficial to us. The ozone layer helps to block the UV rays from reaching earth at high-intensity levels, thus protecting us from skin cancer. In turn, we can help protect the ozone by not using sprays that contain chlorofluorocarbons (CFC), which creates the hole in our ozone layer. Now that you know the difference between ozone and oxygen, the next time you want to ask someone to go on a nature trip with you, just say "let's go get a breath of fresh air" and leave the ozone up in our atmosphere, far away from our precious lungs.

ความแตกต่างระหว่างโอโซนกับออกซิเจน

เคยมีใครชวนคุณไปเที่ยวทะเล เพื่อจะได้ไป "สูดโอโซน" บ้างไหมคะ ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่มักใช้คำว่าโอโซนแบบผิดๆ แทนคำว่า "อากาศบริสุทธิ์" หรือ "ออกซิเจน" แม้ว่าโอโซนและออกซิเจนนั้นจะเกิดจากธาตุชนิดเดียวกัน แต่คุณสมบัติของก๊าซทั้งสองนั้นกลับต่างกันลิบลับ โอโซนกับออกซิเจนนั้นต่างกันอย่างไร เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะมาศึกษาความแตกต่างระหว่างออกซิเจนกับโอโซนในฉบับนี้กันค่ะ

คุณคงทราบแล้วว่า สัตว์แทบทุกชนิดต้องหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งก๊าซออกซิเจนเกิดจากอะตอมของธาตุออกซิเจนสองอะตอมต่อกัน (O2) ที่อุณหภูมิและความดันระดับปกติ ก๊าซออกซิเจนจะมีสีฟ้าจางๆ ไร้กลิ่นและรส และพบได้ประมาณ 20% ของปริมาณอากาศทั้งหมด เมื่อก๊าซออกซิเจนโดนรังสีอัลตร้าไวโอเลต (แสงเหนือแสงสีม่วง) หรือ ยูวี พันธะระหว่างออกซิเจนอะตอมก็จะแตกออกจากกัน ทำให้เกิดการสร้างก๊าซที่มีออกซิเจนทั้งหมดสามอะตอมที่เรียกว่าโอโซน (O3) แม้ว่าโอโซนจะมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นมาเพียงแค่หนึ่งอะตอม แต่มันทำให้คุณสมบัติทางเคมีนั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ก๊าซโอโซนมีสีฟ้าอ่อนและกลิ่นแรงคล้ายกลิ่นคลอรีน ที่อากาศระดับผิวโลก โอโซนถูกจัดเป็นสารพิษที่เกิดพร้อมเขม่าของการเผาไหม้เชื่อเพลิงรถยนต์ หากโอโซนมีความเข้มข้นเพียงหนึ่งร้อยในพันล้านส่วน มันก็จะสามารถทำลายเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจได้ และฆ่าเซลล์พืชได้

แม้ว่าโอโซนจะมีพิษในระดับผิวโลก แต่การมีโอโซนในชั้นบรรยากาศระดับสูง กลับมีประโยชน์ต่อเราอย่างไม่น่าเชื่อ ชั้นโอโซนช่วยป้องกันรังสียูวีไม่ให้ส่องมาถึงพื้นผิวโลกในความเข้มข้นสูง จึงช่วยปกป้องเราจากโรคมะเร็งผิวหนังได้ ในทางกลับกัน เราก็สามารถช่วยรักษาชั้นโอโซนในบรรยากาศได้ถ้าเราหยุดใช้สเปรย์ที่มีสารชื่อ คลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือซีเอฟซี ซึ่งทำให้เกิดช่องโหว่ในชั้นโอโซน เมื่อคุณทราบความแตกต่างระหว่างโอโซนและออกซิเจนแล้ว หากคุณอยากจะชวนใครไปเที่ยวชมธรรมชาติ ก็ให้พูดว่า "ไปสูดอากาศบริสุทธิ์กันเถอะ" และปล่อยให้โอโซนอยู่แต่ในชั้นบรรยากาศ ห่างไกลจากปอดอันมีค่าของเราเถอะค่ะ

Vocabulary

element (n.) อิลิเมนท์ ธาตุ
(be) composed of (phrv.) (บี) คอมโพสท์ ออฟ ประกอบด้วย ทำจาก
Pressure (n.) เพรชเชอร์ ความกดดัน แรงดันอากาศ
irradiate (v.) อิเรดิเอท ฉายรังสี ส่องสว่าง
pollutant (n.) พอลลูแทนท์ สารพิษ มลภาวะ
byproduct (n.) บายโพรดัคท์ กาก ผลิตผลพลอยได้ สารที่เกิดจากปฏิกริยาเคมี
mucus (n.) มิวคัส น้ำมูก เมือก เสมหะ
membrane (n.) เมมเบรน เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มบาง
atmospheric (adj.) แอทโมสเฟียริค เกี่ยวกับหรือประกอบไปด้วยอากาศหรือบรรยากาศ

คอลัมน์ Science Zone
ผู้เขียน วนนิตย์ (I Get English Magazine)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook