โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและวัยก่อนเรียน

โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและวัยก่อนเรียน

โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและวัยก่อนเรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกในวัยระหว่าง 1-6 ปีหรือวัยก่อนเรียน เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่และหลากหลาย อาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ และอย่างลืมให้เด็กดื่มนมวันละ 2-3 แก้วด้วย


รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ หัวหน้าหน่วยโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านว่าโภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูก โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาลคือ 16 ปี ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองในช่วง 3 ขวบปีแรก การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอ จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต

การเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโคของเด็กได้โดยวัดความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟัน

อาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายของลูก คืออาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ เหมาะสมกับวัยทุกวัน โดยมีอาหารหลัก 5 หมู่ที่หลากหลายและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ นม 2-3 แก้วต่อวัน

ปริมาณอาหารที่เรียกว่าเพียงพอ สำหรับเด็กวัย 4-6 ปี

กลุ่มข้าว+แป้ง วันละ 5 ทัพพี
กลุ่มผัก วันละ 3 ทัพพี
กลุ่มผลไม้ วันละ 3 ส่วน (ผลไม้แบบผล 1 ส่วน(ส้มผลกลาง 2 ผลหรือกล้วยน้ำว้า 1 ผล,ผลไม้แบบชิ้นคำเช่นมะละกอ แตงโม สับประรด 1 ส่วน= 8 ชิ้นคำ
กลุ่มนมวันละ 2-3 แก้ว
กลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 4 ช้อนกินข้าว
กลุ่มไขมัน น้ำมันวันละ 5 ช้อนชา (น้ำตาล,เกลือ กินได้แต่น้อย)

ตัวเลขข้างต้นที่คุณหมอสังคมแนะนำโภชนาการว่าทุกสิ่งสามารถยืดหยุ่นได้ ลูกก็เหมือนกับเราที่บางมื้ออาหารรสถูกปาก อร่อย ก็ทำให้ร่างกายทานได้มาก บางมื้อทานได้น้อย ที่ทางได้มากก็จะไปชดเชยกันแต่อย่าให้ขาดสารอาหารต่อเนื่องหรือทางไม่หลากหลาย จะส่งผลให้ขาดอาหารดังนั้นให้เชื่อมั่นว่าร่างกายของลูกสามารถยืดหยุ่นได้ คุณพ่อคุณแม่อย่าเครียดกับปริมาณ และให้ท่องเอาไว้ว่า ...ลูกกินแน่ ถ้าแม่รู้ใจ หมายถึงคุณพ่อคุณแม่ต้องทราบว่าลูกชอบอะไร และเราสามารถที่จะพลิกแพลงและใส่สิ่งที่เราต้องการาให้ลูกทานลงไปในเมนูอาหารนั้น ๆ ต้องจำไว้ว่าลูกชอบกินอะไร รสอะไร ผิวสัมผัสอย่างไร(นุ่ม,กรอบ ฯลฯ)ก็ปรุงอาหารอย่างนั้นให้ลูกทาน

ในอาหารของลูกอย่างขาด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 สารอาหาร 2 ชนิดนี้ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากส่างที่ให้ลูกทาน การขาด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ที่อยู่ในปลาและเนื้อสัตว์จะทำให้ลูกไม่เติบโต ส่วนไขมันก็เป็นสิ่งสำคัญต่อระบบสมอง ดังนั้นควรได้ไขมันที่เป็นไขมันดีที่มีอยู่ในปลา โดยเฉพาะปลาทะเล

สำหรับลูก ๆ แล้วโภชนาการดีที่ดีดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต การเฝ้าสังเกตความร่าเริง สดใส ภาวะไม่เจ็บป่วยบ่อย หรือการทุเลาจากภาวะป่วยทั่วไปเช่นอาการหวัด หรือภาวะท้องเสีย การเสริมความเจริญเติบโตด้วยอาหารทำให้เด็กด้วยอาหารให้เพียงพอ

การให้อาหารเกิน ความต้องการของร่างกายไม่เป็นผลดี หรือการให้ดื่มนมเกินปริมาณจะทำให้เกิดภาวะอ้วน ผลไม้รสหวานจัดก็ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ดังนั้นลูก ๆ ควรได้รับอาหารที่คุณพ่อคุณแม่จัดให้อย่างเพียวพอและมีคุณภาพ จึงเรียกได้ว่าเป็นสุขโภชนาการ


ที่มา : การศึกษาวันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook