มองตลาด ร.ร.กวดวิชา"56 คาดโต 5%-ใช้ไอทีเสริมทัพ

มองตลาด ร.ร.กวดวิชา"56 คาดโต 5%-ใช้ไอทีเสริมทัพ

มองตลาด ร.ร.กวดวิชา"56 คาดโต 5%-ใช้ไอทีเสริมทัพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขวบปีที่ผ่านมาโรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งได้ปรับแบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, โลโก้, รูปแบบการสอน, วิชาเรียน ตลอดจนหันมาใส่ใจกับเรื่องกายภาพอย่างสถานที่เรียน และสถานที่พักผ่อนเพื่อให้สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งในส่วนของผู้เรียนและผู้ปกครอง

มองอย่างตรงไปตรงมา การปรับกระบวนยุทธครั้งนี้ เป็นการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง

เมื่อดูจากข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จะพบว่า รายได้ของโรงเรียนกวดวิชาทั้งระบบในปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านบาท จากจำนวนนักเรียนกว่า 4 แสนคน และมี

แนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามโรงเรียนกวดวิชาแบรนด์ดัง ส่วนใหญ่มองว่าตลาดโรงเรียนกวดวิชาเริ่มอิ่มตัว ผู้เรียนอาจจะน้อยลงตามจำนวนประชากรของประเทศที่ลดลง และสำหรับปี 2556 คาดว่าจำนวนผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 5% เท่านั้น

ค่าครองชีพสูงพ่นพิษ

"อนุสรณ์ ศิวะกุล" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วรรณสรณ์ธุรกิจ จำกัด และนายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา บอกว่า ปีที่แล้วตลาดของโรงเรียนกวดวิชาค่อนข้างได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตน้ำ ท่วมปี 2554 ทำให้ผู้ปกครองต้องนำเงินไปใช้ในการซ่อมแซมบ้าน ส่งผลให้โรงเรียนกวดวิชาทุกแห่งมีผู้เรียนลดลงเฉลี่ย 20% โดยบางรายมีผู้เรียนลดลงถึง 50%

"ปีนี้คาดว่าจำนวนผู้เรียนจะ กระเตื้องขึ้น 5% ซึ่งอาจไม่กลับไปอยู่เท่าจำนวนเดิมจากที่ผ่านมา และปกติแล้วต่อให้ภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา โรงเรียนกวดวิชาไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะจากภาวะการสอบแข่งขันทำให้เด็กต้องเรียนกวดวิชา กระนั้น แม้การขึ้นค่าจ้างทำให้รายได้ของผู้ปกครองเพิ่มขึ้น แต่ค่าครองชีพก็สูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลต่อการใช้เงินด้วย"

นอกจากนี้ คาดว่าต่อไปจำนวนเด็กที่เรียนกวดวิชาจะลดลง ด้วยเด็กในระบบลดลงทุกปี ส่งผลให้แผนขยายสาขาอาจชะลอลง ต้องหยุดรอดูว่าสาขาที่เปิดอยู่สามารถทำกำไรและอยู่รอดหรือไม่ ดังนั้น เพื่อดึงดูดผู้เรียน โรงเรียนกวดวิชาต้องสู้ด้วยการแข่งขันด้านคุณภาพ เพราะเด็กจะเลือกเรียนกับโรงเรียนที่สามารถทำให้เขาเข้าใจเนื้อหา และสามารถส่งเขาเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้

จับตาสรรพากรเรียกเก็บภาษี

สอด คล้องกับความคิดเห็นของ "น.พ.ธรรมศักดิ์ เอื้ออภิธร" ผู้จัดการทั่วไป โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่ (Enconcept E-Academy) ที่มองว่าตลาดโรงเรียนกวดวิชาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว อีกทั้งโรงเรียนกวดวิชาท้องถิ่นเข้มแข็งมากขึ้น เพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เหมือนกับแบรนด์ดัง ๆ และเพื่อขยายจำนวนลูกค้า โรงเรียนกวดวิชาอาจขยายกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มอื่นมากขึ้น เช่น จากที่สอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างเดียว ก็ขยายมายังกลุ่มชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือชั้นประถมศึกษา ทั้งยังมีการเพิ่มวิชาเรียน กล่าวคือ จากเดิมเป็นการสอนเพื่อเก็งข้อสอบ ก็เพิ่มวิชาเรียนให้ครอบคลุมหลักสูตรการเรียนในระบบ เพื่อให้นักเรียนตัดสินใจเรียนต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน หากมีการขยายสาขาจริง ๆ ก็อาจขยายไปจังหวัดขนาดกลางแทน อย่าง จ.บุรีรัมย์ จ.พัทลุง และโรงเรียนกวดวิชาต้องทำเรื่องการรับรองมาตรฐานมากขึ้น เพราะสำนักงานคณะกรรมการ

ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ผลักดันให้โรงเรียนกวดวิชาเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ด้วยเกรงว่าจะเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพ

"เรื่อง สำคัญอีกอย่างคือภาษี จะมีความชัดเจนว่าปีนี้จะเรียกเก็บจากโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ ถือได้ว่ามีผลกระทบครั้งใหญ่ เพราะที่ผ่านมาเราได้รับการยกเว้นภาษี ทำให้เราไม่มีความรู้มากพอในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำบัญชี หรืองบการเงิน หากมีการเก็บภาษีจริง ๆ คงต้องให้ระยะเวลากับโรงเรียนเพื่อการเตรียมตัว อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือโรงเรียนอาจต้องผลักภาระไปยังผู้บริโภค แต่จะทำอย่างนั้นทั้งหมดไม่ได้ คิดว่าจะมีการปรับขึ้นค่าเรียนส่วนหนึ่ง และโรงเรียนอาจยอมแบกรับภาษีที่เพิ่มขึ้นด้วย"

หนุนใช้เทคโนโลยีช่วยสอน

เร็ว ๆ นี้ เดอะเบรนทำการรีแบรนดิ้ง หนึ่งในการปรับเปลี่ยนคือ ได้เพิ่มรูปแบบการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ให้หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการ ของนักเรียน และสอดรับกับเงินในกระเป๋าของผู้ปกครอง ซึ่ง "มนตรี นิรมิตศิริพงศ์" ผู้อำนวยการสถาบันกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน บอกว่า จำนวนเด็กเลือกเรียนผ่านคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เห็นได้จาก 2 ปีที่ผ่านมามีนักเรียนกว่า 2 แสนคนเลือกเรียนระบบนี้ และในอนาคตอาจปรับมาเป็นการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ทั้งหมดก็เป็นได้

"ปัจจุบัน การเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีหลักสูตรไม่ตรงกัน แม้จะยึดหลักสูตรแกนกลาง แต่ก็สามารถจัดหลักสูตรได้เองตามความเหมาะสม ทำให้โรงเรียนกวดวิชาต้องคิดว่าจะจัดการสอนอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ที่ต่างกันของนักเรียน ซึ่งผมมองว่าการสอนผ่านดีวีดีไม่สามารถตอบโจทย์ได้ และต่อไปโรงเรียนกวดวิชาที่สอนผ่านดีวีดีจะลำบากแน่นอน หากไม่ปรับตัวจะอยู่ไม่ได้

ดังนั้น ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งต้องมีระบบและการจัดการที่เข้าถึงความต้องการของนักเรียนได้จริง ๆ จึงจะทำให้เด็กมีความสุข และเลือกเรียนกับคุณ"

ทั้งหมดเป็นกระแสที่ จะเกิดขึ้นกับตลาดของโรงเรียนกวดวิชาในปี 2556 ซึ่งต้องจับตาดูกันต่อไปว่าโรงเรียนกวดวิชาจะงัดกลยุทธ์ใดเข้ามาใช้ดึงดูด ลูกค้า หรือจะปรับตัวอย่างไรเพื่อแย่งชิงเค้กในตลาด ท่ามกลางสภาวการณ์ที่จำนวนผู้เรียน

อาจลดลงไปเรื่อย ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook