รู้ทัน ไวรัสตับอักเสบ บี

รู้ทัน ไวรัสตับอักเสบ บี

รู้ทัน ไวรัสตับอักเสบ บี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุของโรคที่คุ้นหูอยู่อีกหลาย ๆ โรค ไม่ว่าจะเป็น โรคตับแข็ง มะเร็งตับ หรือตับวายได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมบางคนดูแลรักษาสุขภาพอย่างดีแต่กลับเสียชีวิตด้วยมะเร็งตับได้

มีการประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 350 ล้านคน และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่มีผู้ที่เป็นพาหะ หรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในกระแสเลือดมากประมาณถึง 9 ล้านคนเลยทีเดียว

แต่ก่อนที่จะถูกเจ้าไวรัสชนิดนี้เล่นงานสุขภาพเรา มาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ไวรัสตับอักเสบ บี คืออะไรกันแน่ และทำไมถึงมีพิษสงร้ายกาจขนาดนั้น


ไวรัสตับอักเสบ บี คืออะไร

ไวรัสตับอักเสบ บี เป็น ดีเอ็นเอ ไวรัสชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก ความน่ากลัวของเชื้อไวรัสชนิดนี้ จะอาศัยอยู่ภายในตับ และจะพัฒนาตัวเองจนเป็นไวรัสที่สมบูรณ์ เมื่อไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และเกิดการตายของเซลล์ตับ หากเป็นเรื้อรังก็อาจเป็นแผลจนเกิดพังผืดขึ้นในตับทำให้เกิดตับแข็ง และนำไปสู่การเกิดตับวายและมะเร็งตับในที่สุด

ติดต่อกันได้อย่างไร

การติดเชื้อที่บ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อจากมารดาไปสู่บุตรขณะคลอด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และการรับเลือดหรือสารคัดหลั่งของร่างกายจากผู้ที่เป็นพาหะ เช่น การใช้ของปะปนกัน อย่างแปรงสีฟัน เข็มฉีดยา หรือมีดโกน เป็นต้น แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าการอยู่ร่วมบ้านกันหรือทำงานด้วยกัน และการรับประทานอาหารตามปกติจะทำให้ติดต่อได้


อาการที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ

โดยปกติแล้ว เมื่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เข้าสู่ร่างกาย จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมา มีเพียงแค่อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ผู้ที่ได้รับเชื้อจึงคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่อาการของโรคชนิดนี้ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ตับอักเสบฉับพลัน อาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาการเหมือนเป็นไข้หวัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ จุกตามชายโครงด้ายขวาเนื่องมาจากตับโต หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการตับอักเสบ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ และร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานขึ้นป้องกันการติดเชื้อได้ และส่วนมาผู้ป่วยจะไม่กลับมาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี อีก แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่สามารถจัดการกับเชื้อได้ อาจกลายเป็นตับอักเสบชนิดเรื้อรังได้

2.ตับอักเสบชนิดเรื้อรัง จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาจนกว่าจะมีการตรวจเลือด มักจะได้รับเชื้อนี้มาตั้งแต่เด็กหรือทารก โดยได้รับจากมารดาขณะคลอด รวมทั้งอาจได้รับเชื้อจากคนแวดล้อม หรือสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งขณะยังไม่แสดงอาการ จะถือว่าเป็นพาหะของโรค เชื้อไวรัสจะฝังอยู่ในร่างกายเรา และหากไม่มีการตรวจพบ

เซลล์ตับก็จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นตับแข็ง จนนำไปสู่การเกิดตับวาย และเป็นมะเร็งในที่สุด


ติดเชื้อหรือไม่

เราสามารถรู้ได้โดยการไปตรวจเลือดเพื่อตรวจหาเปลือกของไวรัส บี (HBsAg) หรือภูมิของไวรัส บี (Anti - HBs) หากพบว่ามีไวรัสตับอักเสบ บี แพทย์จะตรวจหาการทำงานของตับโดยการตรวจระดับ AST / ALT หากปกติ ควรตรวจซ้ำทุก 3-6 เดือน หรือเมื่ออ่อนเพลียผิดปกติ หากมีการทำงานของตับผิดปกติ แพทย์อาจจะนัดให้มาตรวจรักษาบ่อยขึ้น

การตรวจ HBsAg การตรวจนับปริมาณของไวรัสมีประโยชน์อย่างมาก ถ้าหากมีปริมาณไวรัสมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ ก็จะมีมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัย และหาทางรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


ถ้าติดเชื้อแล้วจะทำอย่างไร

ในกรณีของผู้ที่มีอาการตับอักเสบฉับพลัน แนะนำว่าให้พักผ่อนให้มาก ๆ ดูแลสุขภาพให้ดี ไม่เครียด ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ แต่ในรายที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์จะตรวจให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อทราบถึงการดำเนินของโรค บางรายมีแต่เชื้อแต่ไม่ปรากฏอาการ ตับไม่ได้รับความเสียหาย แพทย์อาจไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่ตรวจดูการทำงานของตับในทุกปี ส่วนในรายที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง อาจต้องมีการใช้ยาช่วย และสามารถหายเป็นปกติได้ แม้ไวรัสจะไม่หายขาด แต่ต้องมีการติดตามดูแลผล และสำหรับผู้ที่เป็นพาหะ ให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ใช้ชีวิตให้ปกติสุข อย่าเครียด และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อทุกชนิด


หากยังไม่ได้รับเชื้อจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร

โดยปกติแล้วทางโรคพยาบาลจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสอักเสบตับ บีให้กับทารกตั้งแต่แรกคลอดที่เวลา 0 ,1 และ 6 เดือนครบ 3 เข็ม ก็สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้นอีก ส่วนผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดได้ แต่ต้องฉีดกระตุ้นทุก 2-3 ปี


นอกจากไปฉีดวัคซีนแล้วเราสามารถป้องกันการติดเชื้อได้โดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีแผลให้ปิดแผลให้เรียบร้อย และไม่ใช้ภาชนะใด ๆ ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายหรือเป็นการรับเชื้อจากผู้อื่น ก็จะเป็นป้องกันตนเองได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา Never-age

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook