วิวาทะ ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ "สมคิด"บอกว่าดี แต่"นักศึกษา"บอกว่าไม่ ?

วิวาทะ ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ "สมคิด"บอกว่าดี แต่"นักศึกษา"บอกว่าไม่ ?

วิวาทะ ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ "สมคิด"บอกว่าดี แต่"นักศึกษา"บอกว่าไม่ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้(5 ก.พ. 2556) คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ..." ซึ่งมีสาระสำคัญคือการเอามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ธ.) ออกนอกระบบ ก่อนหน้านั้นไม่นาน ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่าชาวธรรมศาสตร์ทั้ง 35,000 คน เห็นด้วยกับการออกนอกระบบ ขณะที่นักศึกษาธรรมศาสตร์บางส่วนได้ออกมาตอบโต้ในโลกอินเตอร์เน็ต

มติชนออนไลน์ จับประเด็น"มธ.ออกนอกระบบ นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่?" มาถามนักศึกษาธรรมศาสตร์


ที่มา: เพจวิวาทะ

นายกษิดิศ ครุฑางคะ นักศึกษารัฐศาสตร์ปีสาม สมาชิกกลุ่ม กล่าวว่า นักศึกษาเคยจัดเวทีเสวนากับท่านอธิการบดีสมคิดมาก่อนแล้ว ซึ่งอธิการบอกว่ายอมรับในหลักการเรียกร้องของกลุ่ม แต่พอเอาเข้าจริงอธิการบดี กลับไม่ได้ทำตามสัญญาเลยสักข้อเดียว

นายกษิดิศเปิดเผยว่า ยอมรับได้ที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ เพราะว่าเป็นมติของคณะรัฐมนตรีที่มีมานานหลายปีแล้ว ทว่าสิ่งที่ยอมรับไม่ได้คือตัวพระราชบัญญัติ ที่จัดโครงสร้างให้อำนาจกับอธิการบดี ไม่ได้ให้นักศึกษามีส่วนร่วม เช่นการให้อธิการบดี เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยด้วย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สภามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจของอธิการฯ นอกจากนั้นยังกำหนดให้อธิการมีตำแหน่งสำคัญในคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตของมหาลัย

สิ่งสำคัญที่สุดคือท่านอธิการสมคิดได้สัญญากับนักศึกษาแต่เพียงลมปากว่าจะไม่ขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษาและเมื่อถามว่าจะไม่ขึ้นค่าหอพักค่าไฟ ด้วยใช่หรือไม่ ท่านอธิการกลับตอบว่า "ผมไม่สัญญา"


นางสาวปรัชญา นงนุช นักศึกษารัฐศาสตร์ปีสาม ประธานสภานักศึกษา กล่าวว่า ในฐานะประธานสภานักศึกษา ตนต้องดำรงตัวเป็นกลาง จึงไม่อาจแสดงความคิดเห็นได้ แต่ได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งชื่อ "คณะกรรมการศึกษาการออกนอกระบบของธรรมศาสตร์" ออกมาศึกษาถึงผลกระทบ และชี้แจงข้อมูลแก่นักศึกษา นักศึกษามีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากจะมีการเคลื่อนไหว ให้ความรู้ ปิดประกาศ หรือรณรงค์อะไร ก็ทำได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของนักศึกษา


นายภากร นราตรีภพนาถ นักศึกษานิติศาสตร์ ปีที่สาม ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยว่า ตนเข้าใจว่าการออกนอกระบบมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี เรื่องที่ดีและอยากให้เกิดขึ้นคือการแก้ไขหลักสูตรใหม่ ให้ทันสมัยขึ้น แต่ก็กังวลเรื่องค่าเทอมที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต


นางสาวอติณัฐ เทวาพิทักษ์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปีที่สี่ กล่าวว่า การออกนอกระบบก็เป็นเรื่องดีในแง่ที่จะมีการบริหารแบบเอกชน ระบบบริหารที่ล้าช้าของฝ่ายทะเบียน และคณะจะได้ถูกปรับปรุง แต่ในฐานะที่มหาวิทยาลัยถูกสร้างขึ้นจากภาษีของประชาชนก็ควรจะมีภารกิจในการให้ความรู้แก่สังคม ไม่ควรขูดรีดนักศึกษาเป็นธุรกิจ


โดย นายหฤษฎ์ มหาทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook