เตรียมให้พร้อม มองให้ไกลกว่า AEC

เตรียมให้พร้อม มองให้ไกลกว่า AEC

เตรียมให้พร้อม มองให้ไกลกว่า AEC
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเร็วๆ นี้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หรือ UTK เราได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "การพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมรับ AEC ขึ้น" โดยได้ระดมความคิดและแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อมาเป็นโจทย์และแนวทางสำหรับพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดรับกับ AEC ต่อไป และยังได้ใช้โอกาสนี้สำรวจทัศนคติของคณาจารย์ตลอดจนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนที่เข้าร่วมเสวนา ว่ามีการรับรู้และมีมุมมองต่อเรื่องของ AEC กันอย่างไร

ผลการสำรวจที่ทำออกมาในวันนั้นพบว่า 79.7% ของผู้เข้าร่วมงานมีความเชื่อว่า AEC จะมีผลกระทบในด้านบวกกับการทำธุรกิจในประเทศไทย และ 21.3% คิดว่าน่าจะมีผลด้านลบต่อธุรกิจไทย

เมื่อถามถึงความเห็นว่า ทักษะ ฝีมือ และความสามารถของแรงงานฝีมือของคนไทยน่าจะอยู่อันดับที่เท่าไหร่ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ 46% ตอบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 1 และมีผู้ตอบว่าอยู่ในอันดับสอง 14% และอันดับที่ 3 จำนวน 22%

เราได้มีการสอบถามทัศนคติของผู้ร่วมเสวนาว่า การปรับตัวเพื่อรับ AEC ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะภาษาอังกฤษของแรงงาน ด้านการแข่งขันในธุรกิจที่จะรุนแรงมากขึ้น และด้านมาตรฐานในการผลิตสินค้าบริการที่องค์กรต้องพัฒนาให้สูงขึ้น ว่าเรื่องไหนที่ผู้เข้าร่วมงานมองว่าเป็นความท้าทายของธุรกิจไทยมากที่สุด คำตอบที่ได้รับคือ ประเด็นด้านการพัฒนามาตรฐานการผลิตฯ

ถัดมาคือทักษะภาษา และด้านการแข่งขัน โดยมีคะแนนโหวต 48.2%, 33.9% และ 17.9% ตามลำดับ มีหลาย ๆ คำตอบจากการสำรวจในครั้งนี้ที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า บุคลากรในวงการศึกษา วิชาการ และองค์กรธุรกิจกลุ่มนี้ตระหนักดีว่า ทักษะเรื่องภาษาที่จะสื่อสารยามเปิดเขตการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบระหว่าง 10 ประเทศเป็นเรื่องที่คนไทยจะต้องพัฒนากันอย่างจริงจัง เพราะมีเสียงโหวตถึง 67% ที่บอกว่าทักษะและขีดความสามารถเรื่องภาษาเป็นสิ่งที่คนไทยต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน

เมื่อมีการถามคำถามว่า ประเทศที่มีศักยภาพทางการแข่งขันมากที่สุดใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน คนส่วนใหญ่มากถึง 40.8% ตอบว่าประเทศสิงคโปร์ รองลงมาคือประเทศไทย 19.7% ตามมาด้วยประเทศมาเลเซีย 12.7%

และสุดท้ายเมื่อถามว่า หากให้คนไทยกลุ่มนี้ต้องเลือกไปทำงานใน 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน จะเลือกไปทำงานในประเทศใด คำตอบว่าเลือกไปประเทศสิงคโปร์มีมากถึง 47.1% ตามมาด้วยประเทศบรูไนดารุสซาลาม 16.2% และประเทศมาเลเซีย 11.8%

ผลการสำรวจที่ทำออกมานี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนไทย ณ วันนี้ตื่นตัวกับ AEC มาก รู้ว่าต้องเตรียมพัฒนาอะไร รู้ว่าเรื่องใดเป็นจุดแข็งและจุดอ่อน เข้าใจว่าจะเจอกับการแข่งขันทางด้านไหนบ้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของคนในวงการศึกษาและผลกระทบจากเศรษฐกิจของ 10 ประเทศจะกลายเป็นตลาดเดียวกันในอีก 2 ปีข้างหน้า

สำหรับผมมองว่าการเปิด AEC นั้นเป็นเพียงบทเรียนเริ่มต้นของการก้าว

ออกไปเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจเสรีกับนานาประเทศเท่านั้น ณ วันนี้คนไทยต้องไม่ลืมที่จะต้องศึกษาและรับมือข้อตกลงและความผูกพันทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) หรือ ASEAN +3 หรือ ASEAN +6

หากข้อตกลงทางเศรษฐกิจเหล่านี้เกิดขึ้น ตลาด AEC ก็จะกลายเป็นเรื่อง

คอลัมน์ Education Ideas

โดย ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ (UTK)

เล็ก ๆ ไปเลย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook