ม.อ.ยันสละสิทธิ 56% ไม่เกี่ยวไฟใต้ อธิการฯจุฬาฯชี้ "หมอ-นิติ-อักษร-นิเทศ" ยังฮิต!

ม.อ.ยันสละสิทธิ 56% ไม่เกี่ยวไฟใต้ อธิการฯจุฬาฯชี้ "หมอ-นิติ-อักษร-นิเทศ" ยังฮิต!

ม.อ.ยันสละสิทธิ 56% ไม่เกี่ยวไฟใต้ อธิการฯจุฬาฯชี้ "หมอ-นิติ-อักษร-นิเทศ" ยังฮิต!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 30 เมษายน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกรณีที่ผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ประจำปีการศึกษา 2556 จากสถาบันที่เข้าร่วม 19 แห่ง ซึ่งมีผู้ขอสละสิทธิ 11,735 คน จากผู้ผ่านการคัดเลือก 43,445 คน ว่าจุฬาฯรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ 3,301 คน สละสิทธิ 730 คน ตัวเลขดังกล่าวถือว่าปกติ เพราะนักเรียนอาจจะยังไม่ได้คณะที่อยากเรียนจริงๆ และไปหวังผลในการรับคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลาง มากกว่า สำหรับจุฬาฯแบ่งสัดส่วนระหว่างรับผ่านระบบแอดมิสชั่นส์ และรับตรงอยู่ที่ 50:50 โดยคณะที่ได้รับความนิยมมีผู้เลือกเรียนมาก และไม่ค่อยมีคนสละสิทธิ จะเป็นคณะเดิมๆ เหมือนทุกๆ ปี คือ คณะแพทย์ศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์

ทั้งนี้ ถือว่าการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เป็นการช่วยเหลือเด็กไม่ให้ต้องวิ่งรอกสอบได้ส่วนหนึ่ง เชื่อว่าในปีหน้ามหาวิทยาลัยต่างๆ จะเข้าร่วมรับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์เพิ่มขึ้นŽ นพ.ภิรมย์กล่าว

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ.รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ 2,711คน แต่สละสิทธิ 984 คน เท่าที่ดูภาพรวมตัวเลขสละสิทธิคงที่ จึงไม่น่าตกใจ ส่วนปัจจัยการสละสิทธิของนักเรียนนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ค่านิยมที่พ่อแม่อยากให้เรียนมหาวิทยาลัยเก่าแก่ ระบบการสอบเอื้อให้นักเรียนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น หรืออยากรอให้ได้คณะที่อยากเรียนจริงๆ เพราะปัจจุบันที่นั่งในสถาบันอุดมศึกษามีมากเกินความต้องการของเด็ก

นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า มก.มีผู้สละสิทธิ 2,596 คน จากจำนวนรับ 6,944 คน ถือเป็นตัวเลขปกติ ยังไม่น่าห่วง เพราะเด็กอาจเลือกมหาวิทยาลัยยอดนิยม และปัจจุบันนักเรียนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ทั้งรับตรงที่มหาวิทยาลัยต่างๆ รับกันเอง รับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ หรือรอลุ้นในการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลางอีกรอบ ส่วนคณะ และสาขาของ มก.ที่นักเรียนเลือกสมัครค่อนข้างมาก และสละสิทธิน้อย เช่น คณะสัตวแพทย์ อุตสาหกรรมการเกษตร สาขา Food science ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ สาขาภาษาอังกฤษของคณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น ส่วนสาขาที่นักเรียนสละสิทธิมาก ส่วนใหญ่เป็นคณะที่อยู่ในวิทยาเขตต่างจังหวัด เช่น วิทยาเขตสกลนคร วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นต้น เพราะนักเรียนมักคิดว่าไกล ขณะเดียวกันจังหวัดเหล่านี้มีมหาวิทยาลัยราชภัฏรองรับอยู่แล้ว

สาขาที่กำลังจะเข้าขั้นวิกฤต และน่าห่วงคือคณะเกษตร ที่คนเรียนน้อยลงทุกปี แถมยังมีตัวเลขนักศึกษาออกกลางคันจำนวนมาก ปีละประมาณ 20% โดยบางคนเรียนไประยะหนึ่งก็สอบใหม่ไปเรียนคณะอื่นที่คะแนนสูงกว่า และจบออกไปแล้วมีเงินเดือนสูงกว่า ซึ่งไม่เฉพาะคณะเกษตรของ มก.เท่านั้น แต่หมายถึงคณะเกษตรของทุกมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือโดยอาจให้ทุนเด็กที่อยากเรียนในสาขาเกษตร เช่นเดียวกับช่วงที่มีปัญหาขาดแคลนแพทย์ ก็แก้ปัญหาโดยการให้ทุนการศึกษา ขณะเดียวกันจะต้องยกระดับอาชีพเกษตรกรให้มีค่าตอบแทนที่ดีขึ้นด้วย เพื่อดึงดูดให้คนสนใจเรียนมากขึ้นŽ อธิการบดี มก.กล่าว

นายชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า ภาพรวมตัวเลขการสละสิทธิการรับตรงของ ม.อ.อยู่ที่ประมาณ 56% ของจำนวนรับทั้งหมด ถือว่าไม่ต่างกับปีที่ผ่านมา เพราะเป็นการรับตรงรอบแรก ซึ่งนักเรียนอาจจะยังไม่ตัดสินใจ และรอผลการคัดเลือกผ่านระบบแอดมิสชั่นส์อีกรอบ โดยภาพรวมการรับนักศึกษาของ ม.อ.จะอยู่ที่ 80% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เล็กน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คิดว่าใช่เหตุผลสำคัญ เพราะนักศึกษาของ ม.อ.ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่ภาคใต้อยู่แล้ว ขณะที่ ม.อ.เองก็อยากให้มีนักศึกษาจากภูมิภาคอื่นเข้ามาเรียนด้วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ที่เด็กสละสิทธิมากถึง 56% คิดว่าไม่ใช่เพราะสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น แต่น่าจะเป็นเพราะปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก และนักเรียนส่วนใหญ่ก็คงอยากเรียนใกล้บ้านŽ นายชูศักดิ์กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook