เปิดกลยุทธ์พิชิตแอดมิสชัน MBA ท็อป 5 สหรัฐอเมริกา

เปิดกลยุทธ์พิชิตแอดมิสชัน MBA ท็อป 5 สหรัฐอเมริกา

เปิดกลยุทธ์พิชิตแอดมิสชัน MBA ท็อป 5 สหรัฐอเมริกา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเรียนต่อMaster of Business Administration (MBA) หรือปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ เป็นจุดมุ่งหมายของคนจำนวนมาก และสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์อาจมองไกลไปถึงการเรียนต่อ MBA ในมหาวิทยาลัยท็อป 5 ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Harvard University, Stanford University, Massachusetts Institute of Technology (MIT), Northwestern University (Kellogg) และ University of Chicago

แต่การจะเข้าเรียนในสถาบันชื่อดังของโลก คะแนนสอบเป็นเพียงแค่ด่านแรกเท่านั้น

ด่านสุดหินสมัคร MBA

"สุสิทธิ์ ไซ ธนะรัชต์" ผู้อำนวยการสถาบัน Admission Office สถาบันให้คำปรึกษาการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยอันดับท็อปของโลก ซึ่งก่อตั้งมายาวนาน 15 ปี ได้เปิดประตูบอกเล่าขั้นตอนที่ผู้สมัครจะต้องเจอหากต้องการเข้าเรียน MBA ที่สหรัฐ

ในภาพรวมแล้ว สิ่งที่มหาวิทยาลัยดังเหล่านี้พิจารณาแบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 อย่าง ได้แก่ 1.เกรดและคะแนนสอบ 2.จุดเด่นของผู้สมัคร และ 3.อนาคตของผู้สมัครในวงการธุรกิจ

ด้าน "ตัวเลข" ที่ผู้สมัครจะต้องมี ได้แก่ GPA, คะแนน TOEFL และคะแนน GMAT สำหรับ GPA ควรจะต้องอยู่ในระดับเกินกว่า 3.00 หากคาดหวังมหาวิทยาลัยระดับ Top 15 ส่วนคะแนน TOEFL มีขั้นต่ำอยู่ที่ 100 และ 109 หากต้องการสมัคร Harvard University ส่วนคะแนน GMAT ควรได้มากกว่า 700 หรืออย่างน้อยที่สุดคือเกินกว่า 680 คะแนน จึงจะผ่านเกณฑ์ในขั้นแรก

ต่อมาคือจุดเด่นของผู้สมัคร จะต้องสร้างความแตกต่างให้ไม่เหมือนคนอื่น ที่เห็นเด่นชัดคือ "เส้นทางอาชีพ" ถ้าหากผู้สมัครอยู่ในสายอาชีพที่แตกต่าง ก็จะมีคู่แข่งเปรียบเทียบน้อยลง

"เราจะทำอย่างไรให้ตัวเองโดดเด่นขึ้นมา ตรงนี้จะสัมพันธ์กับ Career Path อยู่เหมือนกัน ถ้าเราทำงานนักตรวจสอบบัญชี งานธนาคาร เป็น Consult มันทั่วไปมาก ทุกคนในวงการเหล่านี้ก็จะต่อ

MBA กันทั้งนั้น เราจึงมีคู่แข่งเต็มไปหมด นั่นคือปัญหา ถ้าเป็นไปได้ต้องสร้าง Career Path ที่ต่างออกไป" สุสิทธิ์ อธิบาย

นอกจากนั้นยังต้องสร้างจุดเด่นในด้านอื่นขึ้นมา อาจจะมองเทรนด์โลกว่ากำลังสนใจอะไร เช่น ประเทศพม่ากำลังมาแรงในขณะนี้ ถ้าเราเคยเกี่ยวข้องกับพม่าก็จะกลายเป็นจุดเด่น เหตุที่ต้องสร้างความแตกต่างขึ้นมา เพราะมหาวิทยาลัยต้องการคนที่จะสร้างความหลากหลายให้กับชั้นเรียน

ส่วนสุดท้ายคือ Recommendation ที่ผู้สมัครต้องให้อาจารย์หรือหัวหน้างานเขียนแนะนำให้ ส่วนนี้จะแสดงให้กรรมการเห็นว่า ผู้สมัครมีอนาคตและโอกาสในวงการธุรกิจรออยู่ มหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านี้กำลังมองหาคนที่จะเป็น "ผู้นำ" ในแต่ละวงการ ดังนั้น Recommendation จะช่วยรับรองได้

สรุปขั้นตอนของการสมัครคือ จะต้องมี GPA คะแนน TOEFL คะแนน GMAT เรซูเม่ Essay แนะนำตัว Recommendation รวมทั้งหมดยื่นสมัครเรียน แล้วจึงรอขั้นตอนสุดท้ายคือการเรียกสัมภาษณ์

แนะแนวเขียนเรซูเม่

สิ่งที่สำคัญมากในการสมัครเรียนMBAคือประสบการณ์การทำงานดังนั้น ในเรซูเม่จะต้องเขียนถึงด้านการทำงานก่อนด้านการศึกษา แลเน้นให้เห็นการเจริญเติบโตในหน้าที่ เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้รับผิดชอบมากขึ้นในแต่ละโปรเจ็กต์

"กรแก้ว ธนะรัชต์" อดีตนักศึกษา MBA จากสถาบัน MIT กล่าวถึงการคัดเลือกของกรรมการว่า เรซูเม่จะต้องทำให้กรรมการประทับใจได้ภายใน 1 นาที เพราะใบสมัครที่ส่งเข้าไปมีถึงหลักพันใบ

"พอคนคัดเลือกหยิบมาอ่านปั๊บ เขาจะแยกเป็นสามกอง กองแรกคือไม่สนใจและทิ้งเลย กองที่สองคือพิเศษมาก เลือกแน่ ๆ ส่วนกองสุดท้ายคือยังลังเล อาจจะเก็บไว้อ่านต่อ เวลาที่เขาดูเรซูเม่และ Essay นั้นน้อยมาก เราต้องทำให้เปิดมาแล้วน่าสนใจทันที"

"สุสิทธิ์" ขยายความว่า ประสบการณ์ที่กล่าวถึงนั้นไม่ใช่คำอธิบายตำแหน่งหรือเนื้อหางานที่ทำอยู่ แต่เป็น "ความสำเร็จ" ในการงานของผู้สมัคร เช่น คิดค้นสินค้าตัวใหม่ซึ่งขายดีมากให้บริษัท

"พอเขียนเรซูเม่เสร็จแล้ว ให้ลองเอาชื่อของเพื่อนอีกคนที่อยู่ตำแหน่งเดียวกันใส่ลงไปแทนชื่อเรา ถ้าหากแทนกันได้ถือว่าผิดแล้ว แสดงว่าเรซูเม่ของเราเป็น Job Description ซึ่งกว้างและไม่บ่งบอกอะไรเลยเกี่ยวกับตัวเรา สิ่งนี้เรียกว่าการทำ Teammate Test"

บุคลิกของผู้สมัครที่มหาวิทยาลัยมองหาคือ บุคลิก Team Player และความเป็นผู้นำ ดังนั้น อีกส่วนที่จะประมาท

ไม่ได้ในเรซูเม่ คือส่วน "Other" เพราะกิจกรรมยามว่างที่ผู้สมัครระบุในนี้จะแสดงให้เห็นตัวตนและนิสัย การใส่กิจกรรมที่แสดงความเป็นคนโดดเดี่ยว เช่น ว่ายน้ำ นั่งสมาธิ เล่นอินเทอร์เน็ต จึงไม่เป็นการดีนัก

เข้าเส้นชัยที่ด่านการสัมภาษณ์

แนวทางการสัมภาษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะต่างกันไปบางแห่งสามารถเลือกได้ว่าจะสัมภาษณ์กับคนไทยหรือชาวต่างชาติบางแห่งก็มีเทคนิคการสัมภาษณ์ที่ยากกว่าที่อื่นเช่น University of Pennsylvania (Wharton) ใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม มีผู้สมัครเข้าพูดคุยพร้อมกันหลายคน ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบง่าย

"อัครชา พระประเสริฐ" หนึ่งใน 2 นักศึกษาไทยที่สมัคร MBA Harvard University สำเร็จในปีนี้ เล่าถึงประสบการณ์ เลือกโลเกชั่นสัมภาษณ์ของ Harvard ว่าต้องพิจารณาให้ดี เพราะ Harvard มี Interview Location อยู่กว่า 20 แห่งทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น สเปน ฝรั่งเศส UAE

ดังนั้นจึงต้องเลือกโลเกชั่นที่ตนเองจะสร้างจุดเด่นได้เหนือกว่าผู้สมัครคนอื่น และไม่แนะนำให้ไปสัมภาษณ์ที่สหรัฐโดยตรง เพราะทักษะการพูดและนำเสนอตนเองอาจเป็นรองชาวอเมริกันซึ่งเป็น Native Speaker ได้

นอกจากนั้น หลังจากสัมภาษณ์เสร็จก็ยังพักผ่อนไม่ได้ เพราะ Harvard เพิ่งเพิ่มขั้นตอนใหม่เข้ามาในปีนี้ คือผู้สมัครต้องเขียน Reflection ตอบกลับใน 24 ชม. ถือว่ายากมาก เพราะต้องวิเคราะห์ทั้งคำตอบที่กรรมการต้องการ และความยาว Essay ที่เหมาะสมในระยะเวลากระชั้นชิด

"สุสิทธิ์" กล่าวสรุปว่า ทั้งเรซูเม่ Essay และ Recommendation จะต้องเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ต่อรวมกันเป็นภาพเดียว และสิ่งที่ยากที่สุดคือการค้นหาเรื่องราวของตัวเอง ทั้งความสำเร็จที่มีในหน้าที่การงาน จุดเด่น และการทำกิจกรรมเพิ่ม ซึ่ง Admission Office จะช่วยผู้สมัครค้นหาส่วนนี้ได้

การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อ MBA ในสหรัฐจึงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เป็นเป้าหมายที่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นไปได้สำหรับคนที่ตั้งใจจริง

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊คกับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ที่
www.facebook.com/prachachat
ทวิตเตอร์@prachachat

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook