ตั้งโจทย์ที่ถูก เพื่อก้าวต่อไป ระบบการศึกษาไทย (1)

ตั้งโจทย์ที่ถูก เพื่อก้าวต่อไป ระบบการศึกษาไทย (1)

ตั้งโจทย์ที่ถูก เพื่อก้าวต่อไป ระบบการศึกษาไทย (1)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครั้งล่าสุดที่ผมเขียน ผมถามหาการ พูดคุยอย่างจริงจังเพื่อกำหนดอนาคตการศึกษา และอนาคตของชาติอย่างเป็นระบบ...ผมขอให้ทุกท่านร่วมคิด...และเรียกร้องให้ร่วมกันตั้งคำถามเรื่องการศึกษาชาติ...เพื่อไปต่อ

โดย ศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

ผมอยากย้ำนะครับว่า การตั้งคำถามหรือตั้งโจทย์ที่ถูก อย่างเข้าใจความเป็นปัญหาเชิงระบบ จะทำให้ได้คำตอบที่ใช่และทำได้จริง ที่สำคัญแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ แต่ถ้ามัวคิดวกวน ก็จะได้คำตอบแบบซ้ำซากเท่านั้นเอง อย่าลืมว่าการร่วมกันสร้างอนาคตของคนรุ่นใหม่ เราเองก็ไม่มีโอกาสที่สองเช่นกัน มาร่วมกันตั้งโจทย์ที่ถูกให้การศึกษาไทยเถอะครับ

ถ้าจะตั้งโจทย์ให้ถูก ก็ต้องเห็นสภาพปัญหาเชิงระบบของการศึกษาไทย ผมย้อนกลับมาอีกครั้งที่งานวิจัยความก้าวหน้าและความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของ ดร.สุธรรม วาณิชเสนี ผลวิจัยโดยสรุป คือ องค์ประกอบทางการศึกษาทุกส่วนมีปัญหาและล้มเหลวเชิงระบบ ลักษณะของปัญหา 1) มีเหตุที่มาและกำลังเป็นไป คือ มีความเป็นพลวัต (Dynamic) 2) แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน (Interrelation) 3) ทุกองค์ประกอบมีความสำคัญ ส่งผลต่อตัวนักเรียน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 4) มีพฤติกรรมของระบบที่ซับซ้อนเพราะมี Human Factor มาเกี่ยวข้อง ถ้าจะให้ผมช่วยตั้งโจทย์ทางการศึกษา ผมคงนึกไม่ออกหรอกครับ แต่ถ้าลองปรับเทียบกับโจทย์ทางธุรกิจ ผมจะขอตั้งโจทย์สำคัญสัก 3 ข้อดังนี้ครับ

1) ในเรื่องธุรกิจ ปรัชญาการดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกคนในองค์กรต้องมองภาพรวม เป็นภาพเดียวกัน แม้ว่าแต่ละหน่วยจะบริหารงานแยกกัน แต่พอประสานกันทุกหน่วย ทุกระดับต้องมุ่งดำเนินงานที่ตอบสนองปรัชญาการดำเนินธุรกิจของบริษัท ระบบการศึกษาของเรา มีปรัชญาที่ชัดเจนมากน้อยเพียงใด คำนึงถึงความเชื่อมโยงของปรัชญาสู่การปฏิบัติหรือไม่ ดำเนินการโดยเห็นผลลัพธ์ทางการศึกษา (คนรุ่นใหม่) เป็นภาพเดียวกันหรือไม่

คอลัมน์ Education Ideas

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook