เตรียม ′สมอง′ เด็กสู่อาเซียน ′เลิกท่องจำ′ เน้น ′มายด์แมป′

เตรียม ′สมอง′ เด็กสู่อาเซียน ′เลิกท่องจำ′ เน้น ′มายด์แมป′

เตรียม ′สมอง′ เด็กสู่อาเซียน ′เลิกท่องจำ′ เน้น ′มายด์แมป′
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่จะต้องปรับตัวตั้งรับเท่านั้น แต่ภาคการศึกษาปฐมวัยเองก็จำเป็นต้องยกระดับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เพราะเด็กถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

น่าเป็นห่วงว่าระบบการศึกษาไทยยุคปัจจุบันยังคงเน้นให้เด็กท่องจำจากตำรา รวมทั้งต้องเรียนกวดวิชาต่างๆ มากมายเพื่อสอบแข่งขัน ผลิตภัณฑ์เอนฟา เอพลัส จึงนำเสนอ "ชุดแผนผังความคิดมายด์แมป" เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยคิดอย่างเป็นระบบ

"ครูศศิมาศ คุ้มสภา" จากโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ แสดงความคิดเห็นถึงแบบการเรียนการสอนของไทยว่าการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เน้นการท่องจำ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็ก เพราะเป็นการกระตุ้นให้ใช้สมองซีกซ้ายเพียงซีกเดียว ทำให้การเรียนรู้ของเด็กถูกจำกัดและไม่ได้ใช้ศักยภาพทางความคิดอย่างเต็มที่ วิธีที่ถูกต้องคือ นักเรียนควรได้รับการฝึกให้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาพร้อมกันในการเรียนรู้ทุกๆ เรื่อง

"การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ควรเน้นพัฒนาด้านการสื่อสาร การคิด จิตเคารพ และความรู้รอบตัวของนักเรียน รวมถึงการนำเทคนิคแผนผังความคิด เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เน้นการใช้ทั้งแบบเรียนทั้งตัวอักษร ภาพ และสีสัน เพื่อกระตุ้นให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานอย่างสมดุล"

ด้าน "ครูเกศินี วัฒนสมบัติ" ผอ.โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ เผยว่า โดยปกติสมองจะจำเป็นภาพ แล้วคิดเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ภายใต้หัวข้อหนึ่งหัวข้อ ที่สำคัญแผนผังความคิด จะช่วยให้นักเรียนคิดได้หลากหลายมากกว่าการคิดเรียงเป็นข้อ

"ครูอาจจะมีหัวข้อเรียนรู้เรื่องน้ำ ก็จะให้เด็กคิดว่าเคยเห็นน้ำที่ไหนบ้างแล้ววาดเป็นแผนผังความคิดออกมา เพื่อให้เด็กๆ เข้าใจในเรื่องที่เรียนมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะใช้สรุปกิจกรรมทำอาหารที่เด็กๆ ได้เรียนไปว่าใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง เป็นต้น"

ท้ายสุด "ครูจีรยา พลับลัดโพธิ์" รองหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียนปฐมวัย โรงเรียนอุดมวิทยา ราชบุรี แผนผังความคิดทำให้เด็กสามารถจัดกระบวนการคิดเป็นระบบมากขึ้น เข้าใจสิ่งที่ครูอธิบาย มีสมาธิ จดจำได้ดีขึ้น และยังทำให้เด็กสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นจากการใช้สีสันและรูปภาพ ที่สำคัญการเรียนรู้ของเด็กในวัยอนุบาลต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่

เพื่อให้การฝึกสมองได้ประสิทธิภาพสูงสูด การเริ่มต้นตั้งแต่ยังเด็กเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook