"จาตุรนต์" เดินหน้าปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ ระบุได้เวลาแล้ว

"จาตุรนต์" เดินหน้าปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ ระบุได้เวลาแล้ว

"จาตุรนต์" เดินหน้าปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ ระบุได้เวลาแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"จาตุรนต์" เดินหน้าปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ ระบุได้เวลาแล้ว ผ่านมา 5-6 ปี ด้านประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ เชื่อ "จารุรนต์" สานต่อแน่นอน เผยนายกรัฐมนตรีอังกฤษเพิ่งแถลงปรับหลักสูตรใหม่ เตรียมใช้ปีหน้า

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า วันที่ 11 กรกฎาคมนี้ จะแถลงนโยบาย ศธ. เพื่อให้องค์กรหลักมีทิศทางในการทำงานว่าเรื่องใดเป็นเรื่องใหญ่และเร่งด่วน การที่ตนเข้ามากำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพราะการศึกษาช่วงนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ โดยเฉพาะต้องหารือกับอาชีวะให้มากขึ้น เพื่อเตรียมคนให้พร้อมรับกับนโยบายโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ที่รัฐบาลกำลังจะนำมาใช้ ส่วนการปรับหลักสูตรต้องปรับปรุงทุก 5-6 ปีอยู่แล้ว การเรียนต้องทันสมัย เหมาะกับโลกปัจจุบัน จะย่ำอยู่กับที่ไม่ได้ ขณะนี้กำลังดูว่าคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ที่ ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องตั้งใหม่ เพราะหมดไปกับรัฐมนตรีคนก่อนหรือไม่ แต่การทำงานยังต่อเนื่องได้ ทราบว่าคณะกรรมการทำงานไปได้มากพอสมควรแล้ว ยังต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการทดลองหลักสูตร และมีโรงเรียนนำร่องได้วย

ด้าน ศ.พิเศษภาวิช เปิดเผยกรณีที่กลุ่มคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ไม่เห็นด้วยกับการปรับหลักสูตรครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องธรรมดาโลกที่การเปลี่ยนแปลงย่อมมีกลุ่มคนไม่เห็นด้วย ใครอยากจะพูดอะไรก็พูดไป อาจจะมองว่าเป็นผู้ที่ผลิตครูอาจารย์ด้านการศึกษา แต่คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ไม่ได้ถามความเห็นไป คาดว่านโยบายหลักของนายจาตุรนต์จะแถลงในวันที่ 11 กรกฎาคม จะยังเดินหน้านโยบายปรับหลักสูตร ขณะนี้ตนกำลังหารือเพื่อลงรายละเอียดนโยบายหลักๆ แปลงจากของรัฐบาลมาเป็นเชิงปฏิบัติ

ศ.พิเศษภาวิชเปิดเผยด้วยว่า เมื่อวานนี้ นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้แถลงหลักสูตรใหม่ กำลังจะประกาศใช้หลักสูตรใหม่ในปี 2014 เช่นเดียวกับไทย โดยในการยกร่าง รัฐบาลได้มอบให้นักวิชาการ ซึ่งมีฐานอยู่ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีหัวหน้าชื่อ Tim Oats จะเห็นว่าการร่างหลักสูตรพื้นฐานในที่ใดๆ ก็ตามเขามักจะให้มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการดำเนินการ เพราะอย่างน้อยที่สุดทราบว่าแนวโน้มทางวิชาการของโลกจะไปทางไหน และเด็กจะมาเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ควรจะต้องรู้อะไรบ้าง แต่จะเป็นกระบวนการที่มีการระดมความคิดจากทุกส่วนและทุกระดับของระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูอาจารย์ที่ทำการสอนจริง ซึ่งของไทยจะทำเช่นนั้นเช่นกัน


ที่มา : สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook