ความเห็นอาจารย์ศิลปศาสตร์ มธ. ต่อกรณี โปสเตอร์สุดร้อนแรง "อั้ม เนโกะ"
อาจารย์ วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสเฟซบุ๊ค Fay Suwanwattana แสดงความเห็นถึงกรณีโปสเตอร์รณรงค์ของนักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านการใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียน และกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยางดุเดือดอยู่ในโลกโซเชียลมีเดียขณะนี้ โดยมีเนื้อหาน่าสนใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น ดังนี้
"การกระทำของกลุ่มอั้ม เนโกะที่นักศึกษาหลายคนเห็นด้วยบ้างหรือแอนตี้ไปเลยบ้าง ต้องยอมรับเป็นการกระทำที่ส่งผล 2 ด้าน ด้านดีคือ เป็นข่าวและสร้างกระแสให้คนมาสนใจเรื่องการบังคับให้ใส่ชุดนักศึกษาในวิชาพื้นฐานของมธ. (มธ.130 สหวิทยาการวิทยาศาสตร์) แต่ด้านลบคือ เรื่องการขยายผลเพราะไป exclude นักศึกษากลุ่มใหญ่ออกจากเป็นแนวร่วม
เพราะโปสเตอร์ยืนอยู่บนฐานของ binary opposition เพียงแต่สลับขาวให้เป็นดำ ดำให้เป็นขาว (ชุดนักศึกษา VS ชุดไปรเวท) โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผลที่ตามมาคือ มันไป stigmatize เครื่องแบบนักศึกษา จนกีดกันแนวร่วมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ออกไป ที่ไม่เห็นด้วยกับการ "บังคับ" ใส่ชุดนักศึกษา แต่ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการที่คนอื่นจะอยากใส่ชุดนักศึกษา... คือมีปัญหากับการที่คณะวิทย์ลุแก่อำนาจและทำตัวเป็นผู้คุมกฎ แต่ไม่ได้มีปัญหากับ ideology ของชุดนักศึกษา (จะด้วยเหตุผลเรื่อง ความสะดวก, ประหยัด, เชื่อว่ามีความภูมิใจ หรืออะไรก็แล้วแต่)
คือแทนที่โปสเตอร์นี้จะนำไปสู่ดีเบตว่า ไม่ควรบังคับให้นักศึกษาใส่ชุดนักศึกษา แต่ควรให้นักศึกษามี choice เลือกระหว่างชุดนักศึกษากับชุดไปรเวท มันเลยกลายไปเป็นดีเบต ชุดนักศึกษาไม่ดี พวกใส่เป็นทาสของระบบ propaganda ส่วนชุดไปรเวทแสดงความเป็นอิสระทางความคิด
ซึ่งจริงๆ สองดีเบตนี้น่าจะต้องแยกออกจากกัน ในแง่ของยุทธศาสตร์การต่อสู้กับประเด็นปัจจุบันทันด่วน นั่นก็คือ "การบังคับ" (ทั้งๆที่ระเบียบของมธ.ไม่ได้บังคับ แต่ให้ choice) ของคณะวิทย์ (ซึ่งเอาเข้าจริง กลายเป็นฮีโร่ V for Vedetta ไปเลยในสายตาของอจ. conservative เพราะมองว่าต่อต้านกับอำนาจเผด็จการของผู้บริหารมธ. และมองว่าต่อสู่เพื่อระเบียบและความเรียบร้อยของนักศึกษาที่นับวัน เอาแต่แต่งตัวไม่เรียบร้อย กางเกงสั้นเสมอจิ๋ม เสื้อเอวลอย ผ่าหน้าผ่าหลัง ฯลน)
สำหรับเรา เรามองว่านักศึกษาควรจะมี choice เลือกได้ แค่นั้นจบ เราไม่ต้องการจะ stigmatize นักศึกษาที่ชอบหรือเลือกจะใส่ชุดนักศึกษา เพราะสุดท้ายเราต้องเคารพสิ่งที่เขาเลือก (แม้ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่) ที่ทำได้คือ raise awareness เรื่องนัยยะและความหมายแฝงของบริบทการใช้ชุดนักศึกษาในสังคมไทย (ซึ่งควรทำและต้องทำต่อไป)"