4 นางเอก 4 ยุค ลูกศิษย์วิทยาลัยนาฏศิลป

4 นางเอก 4 ยุค ลูกศิษย์วิทยาลัยนาฏศิลป

4 นางเอก 4 ยุค ลูกศิษย์วิทยาลัยนาฏศิลป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การจะเป็นดาราที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ความสามารถในการแสดงเป็นอย่างมาก สีหน้า แววตา รวมถึงการแสดงออกทุกอย่างต้องลงตัว เพื่อให้ผู้ชมที่อยู่ทางบ้านอินไปกับบทบาทที่ดาราเหล่านั้นได้รับ สำหรับ 3 นางเอกศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลป ที่แจ้งเกิดและเป็นที่ยอมรับในผลงาน คือ มี้ พิศมัย วิไลศักดิ์, ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา และ นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี เพราะไม่ว่าจะรับบทบาทอะไร ก็สามารถแสดงได้ดีจนส่งผลให้ละครเรื่องนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด สำหรับนางเอกคลื่นลูกใหม่อย่าง นาว ทิสานาฏ ศรศึก ก็กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยนาฏศิลป เช่นกัน เห็นอย่างนี้ก็ต้องบอกว่า "วิทยาลัยนาฏศิลป" เป็นแหล่งบ่มเพาะนางเอกของวงการบันเทิงบ้านเราก็ว่าได้

มี้ พิศมัย วิไลศักดิ์มี้ พิศมัย วิไลศักดิ์

มี้ พิศมัย วิไลศักดิ์

ตั๊ก มยุรา เศวตศิลาตั๊ก มยุรา เศวตศิลา

ตั๊ก มยุรา เศวตศิลา

นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดีนุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี

นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี

นาว ทิสานาฏ ศรศึกนาว ทิสานาฏ ศรศึก

นาว ทิสานาฏ ศรศึก

นอกจากทั้ง 4 นางเอกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ปาน ธนพร, ตุ๊กกี้ สุดารัตน์, อรอนงค์ ปัญญาวงศ์, ตุ๊กตา อินทิรา, วงโปงลางสะออน รวมไปถึงผู้ประกาศข่าวคนเก่ง สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ก็เคยศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลปเช่นเดียวกัน


ประวัติ วิทยาลัยนาฏศิลป

วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" ก่อตั้งโดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ให้การศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป์

ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรขึ้น ซึ่งเปิดสอนทางด้านช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรัก และมีการโอนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนศิลปากร เรียกว่า "แผนกนาฏดุริยางค์" โดยจัดการศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละคร ต่อมา กรมศิลปากรได้ปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และได้โอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรมาขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป กองการสังคีต พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสังคีตศิลป" แต่การเรียนการสอนได้หยุดไปชั่วขณะเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปี พ.ศ. 2488 โรงเรียนสังคีตศิลป ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น " โรงเรียนนาฏศิลป" พร้อมทั้งขยายการศึกษาครอบคลุมทั้งนาฏดุริยางคศิลป์ไทยและสากล หลังจากนั้น จึงได้รับการยกฐานะให้เป็น " วิทยาลัยนาฏศิลป" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2515 และเมื่อสถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ขึ้น วิทยาลัยนาฏศิลป และวิทยาลัยนาฎศิลปในภูมิภาคอีก 11 แห่ง (พร้อมทั้งวิทยาลัยช่างศิลป 3 แห่ง) จึงได้สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : th.wikipedia.org/wiki/

ภาพประกอบจาก : instagram ดาราทุกท่าน, อินเทอร์เน็ต

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ ของ 4 นางเอก 4 ยุค ลูกศิษย์วิทยาลัยนาฏศิลป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook