หลากหลายเคล็ดลับเรียนเก่ง จากคนดังในแวดวงต่างๆ

หลากหลายเคล็ดลับเรียนเก่ง จากคนดังในแวดวงต่างๆ

หลากหลายเคล็ดลับเรียนเก่ง จากคนดังในแวดวงต่างๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิเสธไม่ได้ว่าใครๆ ก็อยากเกิดมาเรียนเก่ง เรียนดี ด้วยกันทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรให้เราเป็นคนที่เรียนเก่งได้จริง วันนี้ทีมงาน Sanook! Campus ขอแบ่งปันเคล็บลับเรียนดีจากหลายหลายคนดัง เริ่มตั้งแต่ เทคนิคเรียนเก่งจากหนูดี วนิษา เรซ กันก่อน สำหรับเทคนิคของหนูดีมี 7 ข้อง่ายๆ ดังนี้


ข้อที่ 1 : พกปากกาสี 12 สี ติดตัวทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติ จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลย* สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ

ข้อที่ 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น การใช้สมุด note ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้นนั้นจะทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูน่ะ

ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map Or Pic. ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำการ์ตูนได้มากกว่า เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่าการบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้

ข้อที่ 4 : Mp3 เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่างหากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ

ข้อที่ 5 : เอาใจครู เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตร์ที่คุณครูชอบ เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเองเวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้น เพราะเราอยากเรียนวิชานั้น ๆ

ข้อที่ 6 : พูดคุยกับปากกาก่อนสอบ หรือก่อนเขียนงานเราควรพูดคุยกับปากกาบ้าง คุณหนูดี ก็ใช้วิธีนี้จนเรียนจบปริญญา

ข้อที่ 7 : นั่งหน้าห้อง นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลังเราและสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว

มาต่อกันที่เคล็ดลับเรียนเก่ง จากท่าน ว.วชิรเมธี มากันบ้าง สำหรับท่าน ว.วชิรเมที มีคำแนะนำ 5 ข้อง่ายๆ ดังนี้

1. อ่านให้มากฟังให้มาก พออ่านมากฟังมากข้อมูลจะเยอะ เวลาเราคิดอะไรก็จะคิดได้กว้างไกล ลึกซึ้ง

2. เลือกจำสาระสำคัญ ไม่ต้องจำทั้งหมดเลือกจำเฉพาะแก่นสาร วิธีช่วยจำที่พระอาจารย์ใช้ คือขีดเส้นใต้ และปากกาเน้นสี

3. ท่องให้คล่องปาก เวลาเรียนไปแล้ว สิ่งไหนสำคัญต้องท่องจำ

4. คิดให้แจ่มแจ้งเจนใจ จำแล้วต้องทำความเข้าใจด้วย

5. นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน  ความรู้ที่เรียนมาต้องนำมาใช้ด้วย จะได้เกิดประโยชน์


ปิดท้ายกันด้วย เคล็บลับเรียนดีของเหล่าดารา นักแสดง กันบ้าง

เบเบ้ ธันย์ชนก ฤทธินาคา เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เกรด 3.91 จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

เคล็ดลับ : ต้องขยันมากกว่าเพื่อนๆ เป็น 2 เท่า เพราะเราต้องทำงานด้วย ที่สำคัญต้องอ่านหนังสือมากให้มากๆ

วิน ธาวิน เยาวพลกุล เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เคล็ดลับ : ตั้งใจเรียนในห้องมากๆ จดเล็กเชอร์เยอะๆ พอตอนสอบก็ทบทวนและอ่านเพิ่มเติม

โบวี่ อัฐมา ชีวนิชพันธ์ เกียรตินิยมอันดับ 2 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เคล็ดลับ : อ่านหนังสือ 3 รอบก่อนสอบ แบ่งเนื้อหาและทำความเข้าใจอย่างละเอียด

หมอก้อง สุริยา สุบุญ เกียรตินิยมอันดับ 1 จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ

เคล็ดลับ : แบ่งเวลา และเรียงลำดับความสำคัญในสิ่งที่จะทำแต่ละวันให้ถูกต้อง เหมาะสม เพียงแค่นี้ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลแน่นอน

เชียร์ ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ จบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3 กว่า

เคล็ดลับ : เวลาเรียนต้องตั้งใจเต็มที่ พยายามจำในสิ่งที่อาจารย์สอนให้ได้ และที่สำคัญคือ จดจำใจความสำคัญๆ ให้ได้เพราะเราไม่สามารถจำทุกอย่างในหนังสือได้ทั้งหมด

จ๊ะ จิตตาภา แจ่มปฐม เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

เคล็ดลับ : เวลาเรียนต้องตั้งใจฟังอาจารย์สอน จดเล็กเชอร์แล้วนำมาอ่านทบทวน

ชลลี่ ชล วจนานนท์ เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะนิเทศฯ จุฬาฯ

เคล็ดลับ : เข้าห้องเรียนตรงเวลา และมั่นทบทวนที่อาจารย์เคยสอนมาแล้ว เพียงนี้รับรองสอบได้ สอบผ่านแน่นอน

เพื่อนๆ Sanook! Campus อย่าลืมนำคำแนะนำเหล่านี้ ไปปรับใช้รับรองเกรดเฉลี่ยจะต้องดีขึ้นแน่นอน ^^

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : blog.spu.ac.th ภาพจาก : อินเทอร์เน็ต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook