GAT/PAT คืออะไร
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ca/0/ud/274/1370774/20131105112053.jpgGAT/PAT คืออะไร

    GAT/PAT คืออะไร

    2014-03-13T09:38:17+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    GAT/PATคืออะไร

    คือการสอบความถนัดทั่วไป GAT ซึ่งย่อมาจากคำว่า (General Aptitude Test) หรือการทดสอบความถนัดทั่วไป ส่วน PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และข้อสอบจะแยกเป็น 2 ตอน เพื่อจะได้เน้น การเขียน การอ่าน การคิดวิเคราะห์เป็นหลักมากกว่า และก็จะมีการสอบสื่อสารภาษอังกฤษอีกด้วย ลักษณะข้อสอบ หรือรายละเอียด เกี่ยวกับ GAT/PAT คืออะไรและสำคัญกับการสอบแอดมินชั่นหรือไม่อย่างไรไปดูกันเลย

     


    รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT

    1. เนื้อหา การสอบ
    - การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50%
    - การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%

    2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัยและอัตนัย
    - คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
    - ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
    - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
    - มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ

    3.สอบปีละหลายครั้ง
    - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)

    รายละเอียดเกี่ยวกับ PAT
    ย่อมาจาก Professional Aptitude Test
    เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็น 6 ชุด ประกอบด้วย

    PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
    - เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ
    - ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

    PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
    - เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
    - ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ

    PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
    - เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
    - ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

    PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
    - เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ
    - ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability

    PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
    - เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
    - ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

    PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
    - เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ
    - ลักษณะ ข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

    PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2
    - เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
    - ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills


    ลักษณะข้อสอบ PAT
    - จะเป็นปรนัย และอัตนัย
    - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
    - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

    การจัดสอบ
    - เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
    - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด