8 มีนาคม วันสตรีสากล
ประวัติและความเป็นมาของวันสตรีสากล
วันสตรีสากล
สตรีหรืออุบาสิกาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท 4
วันสตรีสากลได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี องค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงในหลายประเทศทั่วโลกจึงมีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
ความเป็นมาของวันสตรีสากล
เมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้แรงงานหญิงเริ่มไม่พอใจกับการถูกเอารัดเอาเปรียบและการถูกกดขี่ข่มเหงจากนายจ้าง ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ส่งผลให้แรงงานหญิงจำนวนนับหมื่นคนลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีพ.ศ. 2451 เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงาน เพิ่มค่าแรง ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทัดเทียมกับผู้ชาย
ในอีก 2 ปีถัดมา การประชุมสมัชชาสังคมนิยมนานาชาติ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้มีนักเรียกร้องสิทธิสตรีชาวเยอรมันชื่อ "คลาร่า แซทคิน" ได้เสนอให้มีวันสตรีสากลเพื่อรำลึกถึงการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและ ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของความเสมอภาคดังกล่าว ตัวแทนสตรีกว่าร้อยคนจาก 17 ประเทศทั้งหมดเห็นชอบกับข้อเสนอของคลาร่า แต่ยังมิได้ระบุวันแต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2460 สตรีชาวรัสเซียได้ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการสูญเสียทหารกว่า 2 ล้านนายในสงครามโลกครั้งที่ 1 การประท้วงครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งจักรวรรดิรัสเซียต้องสละราชบัลลังก์ จากนั้นจึงมีการมอบสิทธิในการเลือกตั้งให้กับสตรีชาวรัสเซีย วันสตรีสากลจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นมา
ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก
ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน
แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
วันสตรีสากลในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป ดังจะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ แต่ละแห่งให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น "วันสตรีสากล" จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี อีกทั้งสตรียังป็นบุคคลสำคัญ ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 ที่จะช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานต่อไป และสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยนี้ยังมีชื่อเรียกอย่างงดงามว่า อุบาสิกา ซึ่งหมายถึง ตำแหน่งของสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ทำหน้าที่ในการอุปถัมภ์บำรุงและปกป้องคุ้มภัยให้แก่พระพุทธศาสนามาตลอดอายุ พุทธกาล ดังเช่น มหารัตนอุบาสิกาวิสาขา ผู้สร้างบุพพาราม วัดสำคัญในสมัยพุทธกาล จวบจนถึงปัจจุบันอุบาสิกาก็ยังคงเป็น 1 ใน 4 เสาหลักแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเหมือนเมื่อครั้งพุทธกาล
ด้วยเหตุนี้ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ประธานมูลนิธิธรรมกายและเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จึงได้มีดำริโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนขึ้น เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีภาพพจน์ที่ดีขึ้น อีกทั้งทั่วโลกจะได้เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม การฝึกฝนอบรมคุณธรรมแก่ตัวเอง และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการปฏิบัติธรรมไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นเหตุให้สังคม ประเทศชาติ สงบร่มเย็นและพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมั่นคงถาวร อยู่คู่แผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
โดยคำว่าอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน หมายถึง อุบาสิกาผู้มีศีล 8 เป็นอาภรณ์ประดับกาย วาจา ใจ และปฏิบัติตามทางสายกลางคือ อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมงดงามและบริสุทธิ์ ประดุจดอกไม้แก้วแรกแย้ม กายภายนอกก็ผุดผ่องใสด้วยอานุภาพแห่งศีล กายธรรมภายในที่เป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธะ ก็สุกใสสว่าง ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิ(Meditation)และปัญญา เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ยิ่งบังเกิดขึ้นมากเพียงใด ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคงถาวรเพียงนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://www.dmc.tv