นิด้าโพล เผย นิสิตนักศึกษามากกว่า 80% เคยลอกการบ้านเพื่อนและเคยให้เพื่อนลอกการบ้าน

นิด้าโพล เผย นิสิตนักศึกษามากกว่า 80% เคยลอกการบ้านเพื่อนและเคยให้เพื่อนลอกการบ้าน

นิด้าโพล เผย นิสิตนักศึกษามากกว่า 80% เคยลอกการบ้านเพื่อนและเคยให้เพื่อนลอกการบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)


นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) เปิดเผยผลโพลการสำรวจเรื่องทัศนคตินิสิตนักศึกษาต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น การโกงในการเรียน การสอบ ซึ่ง ทปอ.ให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้าโพล ช่วยสำรวจนิสิตนักศึกษา จำนวน 5,654 คน จาก 23 มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ ทปอ. ผลปรากฏว่า นิสิตนักศึกษามากกว่า16% เคยทุจริตการสอบ 6% คิดว่าการทุจริตการสอบผิดเล็กน้อย หรือผิดไม่ร้ายแรง 30% เคยช่วยเพื่อนทุจริตในการสอบ23% คิดว่าการช่วยเพื่อนทุจริตในการสอบ ผิดเล็กน้อยหรือไม่ร้ายแรง และเมื่อพบเห็นเพื่อนทุจริตนิสิตนักศึกษา 55.2% เตือนเพื่อน 7.2% แจ้งครูอาจารย์ แต่ยังมีนิสิตนักศึกษา 30.7% ที่ทำไม่รู้ไม่เห็น ทั้งนี้ผู้เคยทุจริตบ่อยหรือเป็นประจำคิดว่าการทุจริตในการสอบหรือการช่วยเพื่อนทุจริต เป็นความผิดร้ายแรงหรือน่าละอาย แต่ยังทำ ส่วนการทุจริตในการสอบที่ทำ หรือเคยเห็นมากที่สุด คือการลอกคำตอบเพื่อนหรือให้เพื่อนลอกคำตอบ รองลงมานำโพยเข้าห้องสอบ ส่งสัญญาณหรือทำสัญลักษณ์และวิธีใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกหรือมือถือ



นิสิตนักศึกษามากกว่า 80% เคยลอกการบ้านเพื่อนและเคยให้เพื่อนลอกการบ้าน โดย ส่วนใหญ่คิดว่าการลอกการบ้านเพื่อนหรือให้เพื่อนลอกการบ้านเป็นความผิดเล็กน้อย ไม่ร้ายแรง นิสิตนักศึกษา 48 % เคยลอกรายงาน ผลงานคนอื่น และ 21% เคยให้คนอื่นทำรายงานให้ ขณะที่นิสิตนักศึกษาที่เคยลอกรายงานคนอื่น มีมากกว่า 60% คิดว่าการลอกรายงานคนอื่นผิดเล็กน้อย ไม่ร้ายแรง และนิสิตนักศึกษาที่เคยให้คนอื่นทำรายงานให้มีมากกว่า 60 % คิดว่าการให้คนอื่นทำรายงานให้ผิดเล็กน้อย ไม่ร้ายแรง อีกทั้งนิสิตนักศึกษาที่เคยทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ มินิโปรเจค โครงงานและปัญหาพิเศษ มีอย่างน้อย 4 % ที่เคยคัดลอกงานผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างอิง แต่ภาคนิพนธ์มีสัดส่วนของนิสิตนักศึกษาที่เคยคัดลอกงานผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงมากกว่าการทำกิจกรรมอื่น ๆ และเหตุผลที่นิสิตนักศึกษายกมาอ้างมากที่สุดในการไม่อ้างอิง 5 ประการ ได้แก่ ลืมอ้างอิงหรืออ้างไม่ครบ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ทำไม่ทัน สะเพร่า ทำให้เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว หาแหล่งอ้างอิงไม่ได้หรือแหล่งอ้างอิงไม่ชัดเจน และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่รู้ว่าผิดไม่ตั้งใจ



"ผู้ทำโพลเสนอแนะการป้องกันการทุจริตคือผู้คุมสอบต้องหมั่นตรวจตรา ห้ามนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคเข้าห้องสอบ มีบทลงโทษวินัยขั้นร้ายแรง ปรับทัศนคตินิสิตนักศึกษาในการช่วยเพื่อนทุจริตให้ตระหนักว่าเป็นความผิดร้ายแรงเช่นเดียวกับการทุจริตในการสอบเอง ช่วยกันสอดส่องดูแลเพื่อป้องกันการทุจริต ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ติดเป็นนิสัย และเมื่อเห็นเพื่อนทุจริตอย่างน้อยต้องช่วยกันตักเตือน เพื่อไม่ให้ทำทุจริตและลงโทษอย่างจริงจัง "นพ.รัชตะ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook