คุณเป็นโรคแพนิคหรือเปล่า?

คุณเป็นโรคแพนิคหรือเปล่า?

คุณเป็นโรคแพนิคหรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้ดูข่าวเครื่องบินตก จะนำเหตุการณ์ เครื่องบินที่เคยเกิดอุบัติมาเล่าอีกครั้ง ยิ่งอ่านยิ่งซึมซับอาจจะส่งผลกระทบกับ หลายคนๆที่มีความกลัวการเดินทางโดยเครื่องบินอยุ่แล้ว วิตกและตื่นตระหนกมาก และถ้าคุณกำลังเป็นจะมีวิธีการรับมืออย่างไร

โรคแพนิคไม่ใช่โรคร้ายแรง เป็นความผิดปกติในกลุ่มของโรควิตกกังวล ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง และอาการนั้นมีความรุนแรงจนรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคแพนิคจะมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง (panic attacks) ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้


อาการตกใจกลัวตื่นตระหนก วิตกกังวลอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่าอาการแพนิค ที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งมักเกิดขึ้นโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ จึงยากที่จะคาดการณ์ และจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ประมาณ 3-10นาที แต่ไม่นานเกิน30 นาที ทำให้ผู้ป่วยกลัวที่จะเกิดอาการซ้ำอีก จึงพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น หือกิจกรมนั้นๆ จึงส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น


คุณเคยมีช่วงเวลาไหนไหมที่ มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกอาการหรือไหม?

ใจเสั่น หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก รู้สึกมีก้อนจุกที่คอ อ่อนเพลีย

ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น เหงื่อแตก ปั่นป่วนในท้อง มีความรู้สึกภายในแปลกๆ

รู้สึกชาหรือ ตามปลายเท้า รู้สึกมึนงง จะ เป็นลม คล้ายเหมือนอยู่ในความฝัน

รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายเท้า ควบคุมตนเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้า

ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึก กลัวว่าจะตาย

ถ้ามีโรคแพนิคจะดูแลตนเองอย่างไร

1.การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย การฝึกสมาธิ

2.การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้ฟังเพลง

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผึกโยคะ ไทเก็ก

4.จัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น อ่านธรรมะ ทำบุญ

5.เวลาเป็นแพนิค อย่าเพิ่งตกใจ อย่าคิดต่อเนื่องไปว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook