ชี้โอเน็ตต่ำเพราะเด็กเบื่อสอบ นักเรียนชนบทไม่สนใช้แต้มเลื่อนชั้น สะท้อน ′สอน-ประเมิน′ ไม่สอดคล้อง

ชี้โอเน็ตต่ำเพราะเด็กเบื่อสอบ นักเรียนชนบทไม่สนใช้แต้มเลื่อนชั้น สะท้อน ′สอน-ประเมิน′ ไม่สอดคล้อง

ชี้โอเน็ตต่ำเพราะเด็กเบื่อสอบ นักเรียนชนบทไม่สนใช้แต้มเลื่อนชั้น สะท้อน ′สอน-ประเมิน′ ไม่สอดคล้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม นายประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา เปิดเผยกรณีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ชั้น ป.6 และชั้น ม.3 พบว่า คะแนนสอบโอเน็ตชั้น ป.6 มีผู้สอบได้ 0 คะแนนทุกกลุ่มสาระ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยผ่าน 50% เพียง 2 วิชา ได้แก่ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา และกลุ่มสาระการงานอาชีพ ส่วนโอเน็ตชั้น ม.3 มีผู้สอบได้ 0 คะแนน 6 กลุ่มสาระ และมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 50% เพียงวิชาเดียวคือ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา ว่า คะแนนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการบริหารหลักสูตร และระบบการวัดและประเมินผลที่ไม่สอดคล้องกัน จะเห็นได้ว่าข้อสอบของ สทศ.เป็นข้อสอบที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ส่วนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลของโรงเรียน จะเน้นการท่องจำ เมื่อใกล้สอบโอเน็ต จะติวข้อสอบให้นักเรียน ผลการสอบจึงออกมาในลักษณะนี้ ขณะเดียวกัน พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียนชั้น ป.6 ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ส่วนชั้น ม.3 ซึ่งเป็นวัยรุ่น ทำให้เด็กไม่เอาใจใส่กับการสอบมากเท่าที่ควร คิดว่าเด็กคงเกิดความเหนื่อยล้ากับการสอบที่มากเกินไป เพราะมีทั้งสอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค โดยนักเรียนทุกคนต้องสอบ 8 กลุ่มสาระ จึงทำให้เบื่อหน่ายกับการสอบ

"สาเหตุที่เด็กไม่สนใจการสอบโอเน็ต ทั้งที่มีผลต่อการสอบเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และชั้น ม.4 นั้น ผมเห็นว่าแรงจูงใจที่จะนำผลสอบโอเน็ตเพื่อเรียนต่อระดับชั้นที่สูงขึ้น จะใช้ได้ผลกับเด็กในเมืองใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงเท่านั้น แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กในโรงเรียนชนบทห่างไกล รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และเด็กที่ไม่อยากเรียนต่อ ทำให้เด็กไม่ตั้งใจสอบ สำหรับแนวทางแก้ไขนั้น คิดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหารือร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องข้อสอบในโรงเรียนกับการสอบโอเน็ต สอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด ปัญหาการจัดสอบในโรงเรียนที่อาจมากเกินไป เด็กเบื่อหน่าย จะหาทางแก้ไขอย่างไร และการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จะนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ในการประเมินครู และประเมินผลโรงเรียน ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ตื่นเต้นกับการสอบโอเน็ตมากกว่าเด็ก ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดบางอย่างกับการสอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราควรต้องหาคำตอบ" นายประวิตกล่าว

 

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook