เด็กไทยใช้เน็ต-มือถือต่อวันมากสุดในเอเชีย

เด็กไทยใช้เน็ต-มือถือต่อวันมากสุดในเอเชีย

เด็กไทยใช้เน็ต-มือถือต่อวันมากสุดในเอเชีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วธ.เผยเด็กไทยใช้เน็ต-มือถือต่อวันมากสุดในเอเชีย ผุดคู่มือภูมิคุ้มกัน

วันที่ 24 มีนาคม ที่โรงแรมรอยัลซิตี้ นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการสร้างยุทธศาสตร์สร้างภูมิคุ้มกันของสังคมในมิติวัฒนธรรม (Cultural Vaccine) ว่า ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือนับมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนใช้โทรศัพท์มือถือในการทั้งเล่นเกม เข้าอินเตอร์เน็ต และที่กำลังเป็นที่นิยมคือ การแชทผ่านไลน์ ทวิตเตอร์ รวมถึงเฟซบุ๊กที่เข้าถึงได้ง่ายเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

อีกทั้งเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่มีวุฒิภาวะเท่าทันสื่อถูกล่อลวงกระทำชำเราเป็นข่าวรายวัน ในขณะที่ผู้ปกครองก็ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน รวมถึงสำรวจการใช้โทรศัพท์อย่างใกล้ชิดทำให้ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ติดโทรศัพท์และมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจำนวนมาก

นายปรีชากล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว วธ. จึงร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จัดทำคู่มือขับเคลื่อนการสร้างภูมิคุ้มกันของสังคมในมิติวัฒนธรรม ประกอบด้วยการ รู้เท่าทันสื่อ ได้แก่ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ โฆษณา ละคร/ภาพยนตร์ รู้เท่าทันข่าว รู้เท่าทันเพลง อินเตอร์เน็ต เกมโทรศัพท์มือถือและโซเซียลมีเดีย โดยแนะนำการใช้สื่อ รวมถึงภัยร้ายที่มากับเช่น อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโรคติดมือถือ

"จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2554 คนไทยเริ่มใช้เทคโนโลยีตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป โดยเยาวชนอายุ 15-24 ปีใช้อินเตอร์เน็ตร้อยละ 51.9 และร้อยละ 42.2 ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเกม และที่น่าสนใจเยาวชนไทยใช้อินเตอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์และมือถือสูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวันครองแชมป์อันดับ 1 ในเอเชีย การติดอินเตอร์เน็ตติดทั้งสังคมออนไลน์ เกม พนันออนไลน์ ติดเว็บลามก จากการวิจัยเยาวชนที่ติดอินเตอร์เน็ตมีขนาดสมองส่วนหน้าเล็กและมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทของสมองส่วนหน้าลดลง ขาดทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรใส่ใจรู้เท่าทันสื่ออย่างรอบด้าน รวมทั้งตรวจสอบการใช้อินเตอร์เน็ตของบุตรหลานเป็นการเฝ้าระวังภัยใกล้ตัวที่จะเกิดขึ้นกับบุตรหลาน"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook