ชาวเน็ต นักศึกษาร่วมต้านใช้ U-NET วัดความรู้ ป.ตรี-โท-เอก ทั่วประเทศ
U-Net
สืบเนื่องจากทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติให้จัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-NET เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตตามที่กฎหมายกำหนด โดยการทดสอบดังกล่าวจะยึดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF โดยทางสทศ.จะเริ่มทดสอบกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นสุดท้าย ของทุกสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยที่สมัครใจเข้าร่วมการทดสอบ ซึ่งมีการสอบใน 4 รายวิชา ดังนี้
1. การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
2.การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต
3.การรู้เท่าทันสื่อ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา (Media Literacy)
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2558 จะเพิ่มการทดสอบอีก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะวิชาชีพ และด้านคุณธรรม จริยธรรมจากนั้นจะจัดทดสอบในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกต่อไป ซึ่งการสอบในปีแรกจะเป็นไปตามความสมัครใจ
ปล. การสอบ U-net ถือเป็นการทดสอบที่วัดความรู้รอบด้านทั้งความรู้ ทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมหลังจากที่มีการใช้ข้อสอบ U-net แล้วจะนำหลักการการวัดที่รอบด้าน มาปรับใช้กับข้อสอบโอเน็ตและแบบทดสอบระดับชาติประเภทอื่นๆ
โดยทันที่ที่ข่าวนี้แพร่ออกไปก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารย์มากมาย เนื่องจากบางสาขามีการสอบใบประกอบวิชาชีพนั้นๆ อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องสอบซ้ำซ้อน อีกทั้งบางส่วนเห็นว่าการจ้างงานไม่ควรนำคะแนนในส่วนนี้มาเป็นตัวกำหนด สำหรับการรวบรวมรายชื่อเพื่อ ต่อต้านการสอบ U-Net ปัจจุบันมีแฟนเพจที่ใช้ชื่อว่า ต่อต้านการสอบ U-Net จากสทศ. ซึ่งมีคลิกผู้เข้าร่วมแฟนเพจแล้วราว 4 หมื่นคน
ทั้งนี้ในแฟนเพจดังกล่าว ยังได้รวบรวมความคิดเห็นต่อต้านการสอบครั้งนี้ไว้อย่างหน้าสนใจ ดังนี้
มีความเห็นมากมายน่าสนใจมากครับ จึงรวบรวมมาไว้ในนี้นะครับ
จึงสามารถสรุปได้ว่า
1.ความรู้ที่ว่านี้ ที่ สทศ. ต้องการ เป็นความรู้แบบไหน? เนื่องจาก การเรียนมหาลัยมันแยกสาขาเป็นความรู้เฉพาะด้านๆไป เป็นการศึกษาเบื้องลึก
2.มีการสอบ คุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ซึ่ง ถามอะไรคือมาตราฐานของการวัดสิ่งเหล่านี้ ? เพราะการวัดคุณธรรมตรงนี้ มันเป็นละเอียดอ่อนมาก เพราะคุณธรรม จริยธรรม ท้ายที่สุดมันจะต้องกลายมาเป็นกรอบที่ทำให้คนทั้งชาติรู้ร่วมกันได้ ดังนั้น สทศ. จะเอาคุณธรรมแบบไหน มาเป็นมาตราฐานทดสอบเรา ?
อีกอย่าง ข้อสอบแบบนี้แน่นอนว่าเกิดความเหลื่อมล้ำแน่ๆ มีการสอบ ความถนัดคอมพ์, ความถนัดภาษาไทย อันนี้คนที่ได้เปรียบคงเป็นเอกภาษาไทย หรือ เอกที่เกี่ยวกับคอม
ในส่วนCritical Thinking ตรงนี้มันก็ขึ้นอยู่กับอัตตวิสัยของแต่ละคน ที่จะวิพากษ์ ตรงนี้ถ้าเป็นข้อสอบกา มันจะแย่มาก เพราะเซตกรอบความคิดชัดเจน เถียงไม่ได้ แต่ถ้าเป็นข้อสอบเขียน ผู้ตรวจมีคนเดียวและตรวจข้อสอบทั้งประเทศมันก็คงไม่ไหว แต่ถ้าหากมีผู้ตรวจหลายคนซึ่งแน่นอนว่าแต่ละคนก็จะใช้ความรู้ที่ตัวเองมีในการตรวจซึ่งก็ชัดเจนว่ามันจะไม่เหมือนกันแน่นอน แล้วอะไรคือมาตราฐาน?
แอดมินขอพูดถึงกรณีของแอดมิน ตัวอย่างเช่น
3. ความถนัดเฉพาะด้าน จะจัดสอบในปี 58 ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีคณะที่เสียเปรียบ ถ้าความรู้เป็นไปในเชิงสหวิทยาการ หรือแม้กระทั่งวิทยาลัยสหวิทยาการ ของมธ.ก็มี ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาในการวัดความรู้เฉพาะด้าน เพราะสหวิทยาการเรียนไม่ลึก แต่เรียนกว้าง
4.ในวงวิชาการ ถูกหรือผิด มันเถียงกันได้เสมอ เช่น การตีความกฎหมายระหว่าง อ.ปิยบุตร กับ อ.กิตติศัพท์ ยังเห็นต่างกันในข้อกฎหมายอย่างสุดขั้วกัน และดีเบตกันมาตลอด
มหาลัยจึงไม่ควรจะมีข้อสอบกลางที่เซตเหมือนกันหมดทั้งประเทศในระดับมหาลัย
ถ้าเป็นระดับโรงเรียนมันก็เข้าใจได้ครับ เพราะแบบเรียนเหมือนกันหมดทั้งประเทศ
การสอบแบบนี้จึงเป็นการจำกัดกรอบเชิงวิชาการมากๆ สังคมศาสตร์ มธ. เอามาสอน เก่ามากเลยนะครับ ท้ายที่สุด อาจารย์หน้าใหม่ๆเอาทฤษฏีใหม่ๆเข้ามาแล้วหักล้างกันยังมีเลย วิชาการในระดับมหาลัย มันมีชีวภาพทางความหลากหลายทางกระแสของความคิดครับ ไม่ใช่ไปจัดระเบียบชีวภาพทางความหลากหลายของความคิดให้มาอยู่ในกรอบเดียวกัน ในระดับมหาลัย ความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์คือจุดเด่น แล้วอย่างงี้เอาอาจารย์ หรือ ใครที่ไหนมาออก แล้วมั่นใจได้อย่างไร ว่าเราจะได้เจอกับชุดความรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้องที่สุด
ก็อย่างที่ผมบอก ทุกวันนี้ ทฤษฏีต่างๆ ทั้งในระดับอาจารย์ ยังมีการถกเถียงกันอยู่เลย ถ้ายังจะต้องวัดผลแล้ว วัดผลอีก มันคงวัดกันทั่วโลกกับบัณฑิตแล้วครับ ถ้าทำแบบนี้แล้วมันได้เห็นประสิทธิผล
ในส่วนเรื่องการนำคะแนนไปเสนอสมัครงาน จริงๆแล้วผมก็เห็นว่ามีการสอบรูปแบบต่างๆอยู่แล้ว เช่น การสอบภาษาอังกฤษ TOEIC , TOEFL ถ้าบริษัทไหนต้องการทักษะภาษาอังกฤษก็ขอดูคะแนนประเภทนี้ไป และที่ผมคิดว่าสิ่งที่หลายๆคนก็กลัวแบบพวกผม จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด และแน่นอนว่ายังไม่มีใครเห็นรูปแบบข้อสอบ และไม่เห็นถึงความจำเป็น แต่ก็เห็นด้วยในเรื่องที่ว่าควรมีการวัดมาตราฐาน แต่การสอบแบบนี้ มันส่งผลต่ออนาคต ต่องาน และยังคงมีปัญหาและจุดบกพร่องอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง จึงไม่แปลกที่เราจะกลัว เพราะได้เห็นชัดแล้วว่า สทศ. เคยออกข้อสอบมาแบบไหน
ปล. คนที่เห็นต่างจากนี้สามารถแสดงความเห็นได้นะครับ รวมไปถึงเพื่อนๆที่มีความคิดเพิ่มเติมนอกจากนี้เสนอเพิ่มได้ครับ ขณะนี้ทางแอดมินยังคงรวบรวมปัญหาสรุปเป็นประเด็นอยู่เลยครับ เพราะ มีคนคำถามเป็นจำนวนมาก
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจากจาก : https://www.facebook.com/WeareAntiunet