มะระ : ยาในครัวเรือน แก้ได้สารพัดโรค

มะระ : ยาในครัวเรือน แก้ได้สารพัดโรค

มะระ : ยาในครัวเรือน แก้ได้สารพัดโรค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มะระ : ยาในครัวเรือน

ชื่อในประเทศไทย

มะระ มะระจีน มะนอย มะห่อย มะระขี้นก ผักให้โควกวยเกี๊ยะ

ชื่อในประเทศจีน

โควกวย กิ้มหลีกี ไทผู้ท้อ บ้วงหลีกี

ชื่อทางวิทยาศาสตร์

โมมอดิคา ชาแรนเทีย ลิน (Momordica Charantia L.)

ลักษณะ

เป็นไม้เถาชอบขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ๆ หรือขึ้นตามร้านต้นไม้ที่ทำให้ใบเป็นจักเว้าลึกเข้าไป ชอบขึ้นตามที่ลุ่มต่ำแฉะ และต้องบำรุงด้วยปุ๋ย โดยมากชอบปลูกเอาผลไว้รับประทานเป็นอาหาร และใบใช้เป็นผักได้อย่างดี มะระนี้มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งลูกใหญ่ เรียกกันว่า มะระจีน อีกชนิดหนึ่งลูกเล็กๆ และขมกว่าอย่างชนิดผลใหญ่ เรียกกันว่า มะระไทย มะระขี้นก ฯลฯ รส ขมจัด

รส

ขม เย็น ไม่มีพิษ

ธาตุ

เมื่อแยกธาตุออกแล้วปรากฏว่า มีธาตุต่างๆ หลายชนิด ที่สำคัญ คือ มีโปรตีน และวิตามินซี อยู่ด้วย

ประโยชน์และวิธีใช้

1. ใช้เป็นอาหารประจำวัน ได้ดีเยี่ยม เป็นยาเจริญอาหารขนานเอกตาม ตำราไม้เทศเมืองไทย อาจารย์เสงี่ยม พงษ์บุญรอด กล่าวว่า

1.1 เป็นยาเจริญอาหาร

1.2 บำรุงน้ำดี

1.3 แก้โรคข้อรูมาติซึม และ เก๊าท ได้ดี

1.4 ขับพยาธิในท้อง

1.5 ใช้ใบต้ม รับประทานน้ำ เป็นยาระบายอ่อน

1.6 ถ้าใช้ผลชนิดเล็กสั้น (มะระขี้นก) ต้มรับประทานแต่น้ำเป็นยาแก้ไข้

1.7 เมื่อคั้นเอาแต่น้ำรับประทานแก้ปากเปื่อยปากเป็นขุยและบำรุงระดูสตรี

2. ตามตำรา "หิ่งต่อซีกเองตงเอียะ" กล่าวว่า

2.1 ผลเป็นยาลดความร้อนแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้อ่อนเพลียทำให้ตาสว่าง

2.2 เมล็ดเป็นยากระตุ้นกำหนัดเพิ่มพูนลมปราณบำรุงธาตุบำรุงกำลัง

ปริมาณและวิธีใช้

1. เนื้อมะระลูกใหญ่ที่เอาเม็ดออกแล้วกินลันละประมาณ 2 ผล โดยวิธีต้มกิน

2. เมล็ดกินวันละประมาณ 3 กรัม ต้มกิน

หลักฐานที่ใช้รวบรวม

1. ตำราไม้เทศเมืองไทย ของ อาจารย์เสงี่ยม พงษ์บุญรอด

2. ตำรา "หิ่งต่อซีกเองตงเอียะ"

ข้อมูล : facebook นิตยสารหมอชาวบ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook