ผอ.ร.ร.ดังเห็นแย้ง! จัดอันดับการศึกษาโลก ไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน-แนะดูเครื่องมือและวิธีวัด

ผอ.ร.ร.ดังเห็นแย้ง! จัดอันดับการศึกษาโลก ไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน-แนะดูเครื่องมือและวิธีวัด

ผอ.ร.ร.ดังเห็นแย้ง! จัดอันดับการศึกษาโลก ไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน-แนะดูเครื่องมือและวิธีวัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากการเปิดเผยข้อมูลเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกทั้งหมด 144 ประเทศทั่วโลก ในรายงานโกลบอล คอมเพทติทีฟ รีพอร์ท 2014-2015 (Global Competitiv Report 2014-2015) โดย เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum-WEF) โดยสรุปปรากฏว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย อยู่เป็นอันดับที่ 31 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ตามหลังประเทศสิงคโปร์ อยู่อันดับ 2 ของโลก และมาเลเซีย อันดับ 20 ของโลก

โดยจากรายงานดังกล่าว นายอนันต์ ทรัพย์วารี ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ กล่าวว่า ต้องดูว่าการวัดของเวิลด์ อีโคโนมิคฯใช้เครื่องมืออะไรวัดบ้าง เพราะเครื่องมือบางอย่างอาจจะเหมาะสมกับภูมิประเทศ บริบทที่แตกต่างกันไปดังนั้นเครื่องมือวัดเดียวกันอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกประเทศเปรียบเหมือนกับการเอาเสื้อผ้าขนาดของคนยุโรปมาให้คนไทยใส่ก็ไม่พอดี

หรือกรณีการเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผลออกมาว่าไทยด้อยกว่าต้องไปดูจำนวนประชากรที่เรียน จำนวนมหาวิทยาลัยว่ามีกี่แห่ง เพราะบางประเทศเพื่อนบ้านมีมหาวิทยาลัย 2-3แห่ง แต่ประเทศไทยมีหลายร้อยแห่ง หลายหมื่นโรงเรียนและยังนักเรียน นักศึกษามากกว่าสมัยก่อนมากเพราะตอนนี้คนส่วนใหญ่ก็เข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานกันแล้ว ฉะนั้นผลที่ออกมาจึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของคนในแวดวงการศึกษาไทยเท่าไรนัก เพราะจะว่าไปแล้วการศึกษาไทยในส่วนที่ดีๆมีมากมาย

อย่างไรก็ตาม แม้ผลที่ออกมายังไม่ค่อยมั่นใจนักแต่ในฐานะนักการศึกษาก็ต้องนำมาพิจารณาดูว่าการศึกษาไทยมีจุดบกพร่องอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

นายบัณฑิต พัดเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนพญาไท กล่าวว่า ตนไม่ทราบรายละเอียดว่าข้อมูลพื้นฐานที่เปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิก 144 ประเทศ ที่จัดโดยเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่มใช้ข้อมูลจากส่วนไหนบ้าง และมีการเก็บข้อมูลจากไหน เพราะส่วนตัวคิดว่าในภาพรวมการศึกษาไทยไม่น่าจะแย่ตามผลที่ออกมา

โดยจากประสบการณ์ที่ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ทางด้านการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณรัฐประชาชนลาว กัมพูชา สภาพของสถานศึกษา อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนในภาพรวม ยังไม่เทียบเท่าของบ้านเรา หรือยังต้องพัฒนาอีก

ส่วนในเวียดนามในเขตพื้นที่เมืองหลวงการจัดการศึกษาถือว่าดีแต่หากไปดูในชนบทหรือต่างจังหวัดก็มีความเหลื่อมล้ำอยู่ อย่างไรก็ตามแม้ข้อมูลที่ออกมาตนยังไม่มั่นใจนัก แต่ก็ต้องเชื่อผลประเมินนี้ส่วนหนึ่งโดยจะต้องมีการเร่งพัฒนาคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต)เป็นตัวตั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook