ประวัติศาสตร์ บิกินี่
คอลัมน์ แปดหมื่นหกพันก้าว
โดย ทวิตตี้
นสพ.มติชน
กรณี บิกินี่ที่ผู้นำประเทศได้กล่าวไว้กับความไม่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยวต่าง ชาติ (ในประเทศไทย) กระทั่งสื่อต่างชาติตีข่าวประเด็นนายกฯไทยพูดเรื่อง "บิกินี่" ในมุมซีเรียสจนเป็นข่าวไปทั่ว
ต่อมานายกฯได้ออกมาขอโทษและอธิบายบริบทที่ละเอียดละออขึ้น หนึ่งในคำอธิบายแรกๆ นายกฯพูดถึง "ความแตกต่างทางวัฒนธรรม"
เรา เห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมของเครื่องนุ่งห่ม การใส่บิกินี่ในหลายชาติตะวันตกเป็นเรื่องปกติ ให้ความรู้สึกเฉกเช่นเหมือนคนไทยใส่กางเกงขาสั้น
ในสังคมไทยที่การ ใส่ "บิกินี่" ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันปกติหรือเป็นวัฒนธรรมหมู่มาก แต่สิ่งที่ว่ามาไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปว่า การใส่บิกินี่ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเป็นเรื่องผิดปกติ หรือจะไม่ปลอดภัย
ประเด็นบิกินี่มีเรื่องให้สนใจขยายความ เพราะกว่าที่บิกินี่จะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ในชาติตะวันตก ก่อนหน้านี้บิกินี่ก็รอเวลาที่ต้องรอการยอมรับเช่นกัน
"บิกินี่" ถูกนำเสนอให้เป็นชุดว่ายน้ำในยุคของดีไซเนอร์ฝรั่งเศสช่วงทศวรรษ 40 แต่หากจะย้อนไปดูประวัติศาสตร์รากเก่า มีภาพโบราณช่วงคริสต์ศักราช 286-305 ที่ปรากฏภาพชาวบ้านโรมันแต่งกายสองชิ้น มีผ้าคาดด้านบนและผ้าหุ้มด้านล่างคล้าย "บิกินี่" กำลังเล่นโยนบอลระหว่างกัน
การเริ่มต้นของบิกินี่มีความ "อื้อฉาว" พอควร และเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในช่วงนั้น ชาติตะวันตกหลายชาติแบนบิกินี่ ไม่อนุญาตให้ใส่ในที่สาธารณะ รวมทั้งริมชายหาด เช่น วาติกันที่เคยระบุว่า บิกินี่เป็นบาป
แต่ยุค สมัยของบิกินี่เฟื่องฟูขึ้นมาได้ เมื่อมีนางแบบและนักแสดงดัง อาทิ บริตเจต์ บาร์โด และเออร์ซูล่า แอนเดรส ทำให้บิกินี่กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นเรื่องสามัญในประเทศตะวันตกหลายประเทศ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 60 เป็นต้นมา
กระนั้นสิ่งนี้ดำเนินคู่ขนานกับบางส่วนของโลกที่ยังแบนบิ กินี่อยู่เช่นเดิม เช่น บางประเทศตะวันตกไม่อาจยอมรับให้ใส่บิกินี่ลงสระว่ายน้ำ
โดยมากชาติตะวันตกให้ภาพบิกินี่คือ ชุดว่ายน้ำสำหรับสตรี และบางคนก็มองในมุมของความเป็นเฟมินิสต์
ด้วยดีไซน์อันหลากหลาย ทำให้บิกินี่มีสภาพเป็นทั้งชุดว่ายน้ำ หรือชุดที่ไม่โดนน้ำ แต่ใช้ในวงการแฟชั่นบันเทิงโชว์บิซ
ในปลายทศวรรษ 90 ที่บิกินี่เป็นชุดกีฬาทางการของการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดของนักกีฬาหญิงไปแล้ว
ใน บางครั้งการแข่งขันกีฬาใหญ่อย่างกรีฑา ที่เรามักพบเห็นภาพนักกีฬาหญิงแต่งกายกึ่งบิกินี่แนวสปอร์ต เพื่อความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการวิ่ง รวมทั้งกีฬาทางน้ำอื่นๆ และแน่นอนแวดวงขาอ่อนเองก็หนีไม่พ้นชุดบิกินี่เช่นกัน
เรื่องราวบิกิ นี่หากใส่แว่นแบบไทยๆ มอง ก็ทำให้ฝรั่งซีเรียสได้แน่นอน เพราะบิกินี่ยังมีแง่มุมที่ต้องมีแว่นขยายอื่นๆ มาส่องมองได้อีกหลายมุมอย่างที่ว่ามา