เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์

เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์

เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผ่อนคลาย - ดีเจเควสต์เลิฟเปิดเพลงสร้างความผ่อนคลายให้กับครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนชื่อดังขณะจัดการประท้วงเรียกร้องให้ยกเครื่องระบบการศึกษาของเมืองใหม่ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยผู้จัดงานเปิดเผยว่า มีประชาชนเข้าร่วมงานครั้งนี้ราว 21,000 คน (เอเอฟพี)

"ฟินแลนด์" กำลังกลายเป็นประเทศผู้นำด้านการศึกษาของโลก ที่มีนักเรียนประสบความสำเร็จมากที่สุด อ้างอิงจากรายงานของสมาคมการศึกษาแห่งชาติ (เอ็นอีเอ)ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนครูขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ซึ่งในโอกาสนี้ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์)จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมาคมวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย จัดงาน "New Trend Finnish Education: แนวโน้มของระบบการศึกษาฟินแลนด์" โดยมีผู้เชี่ยวชาญการศึกษาของฟินแลนด์และสถานทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทยเข้าร่วมให้ข้อมูล

ดร.ยารี เลโวเนน จากภาควิชาการศึกษาครู มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ กล่าวถึงผลการค้นคว้าโรงเรียนประถมฟินแลนด์ในการสนับสนุนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาระบุว่า ทั่วไปแล้ว นวัตกรรมการศึกษาเป็นได้ทั้งแนวคิดและการนำมาปฏิบัติ ผู้คิดค้นอาจจะเคยมีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านี้มาก่อน และนำมาคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้น พูดอย่างง่ายก็คือ นวัตกรรมการศึกษาจะสร้างมาจากกระบวนการที่สร้างสรรค์ เช่น นักเรียนอาจใช้ไอแพดในการเรียน หรือนักเรียนอาจแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้สูงอายุก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น

ขณะที่แนวทางที่นำนวัตกรรมมาปรับใช้ ดร.เลโวเนนเปิดเผยว่า ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายใน เช่น หลักสูตร ความเชื่อ ภาวะผู้นำ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นการให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม และปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายของรัฐบาล เครือข่าย (Network) เป็นต้น

นอกจากนี้ครอบครัวยังมีส่วนสำคัญที่จะเข้ามาดูแลเด็กของตัวเองด้วย อย่างไรก็ตาม ดร.เลโวเนนยังเน้นย้ำถึงความสำคัญกับประสิทธิภาพของครูที่สุด หมายความว่า ครูจะต้องมีความเป็นมืออาชีพสูงในการนำเด็กประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ ในงานยังมีตัวแทนครูและผู้อำนวยการจากโรงเรียน 4 แห่งสังกัดกรุงเทพฯ ที่มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์กช็อปที่มหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ ก่อนหน้านี้ มาแบ่งปันประสบการณ์เช่นกัน โดยตัวแทนเล่าให้ฟังว่า การเรียนในฟินแลนด์ถูกออกแบบมาให้นักเรียนศึกษาการเชื่อมโยงหลายศาสตร์ในการศึกษา 1 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องดีมาก

เนื่องจากจะทำให้เด็กเข้าใจการปฏิสัมพันธ์หลายสิ่งในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ฟินแลนด์ยังเน้นให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่ไม่กล้าแสดงออกอีกด้วย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนและสภาพแวดล้อมห้องเรียนที่ไม่เหมือนใคร

เมื่อฟังข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้เชื่อว่า

น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ในไทยควรจะเร่งเดินหน้าพัฒนาระบบการเรียนให้ทันสมัยและทัดเทียมนานาชาติได้แล้ว


คอลัมน์ รู้แล้วบอกต่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook