ไม่รู้ไม่ได้แล้ว! ถอดรหัส "ศัพท์สแลง" พ่อแม่ควรรู้!

ไม่รู้ไม่ได้แล้ว! ถอดรหัส "ศัพท์สแลง" พ่อแม่ควรรู้!

ไม่รู้ไม่ได้แล้ว! ถอดรหัส "ศัพท์สแลง" พ่อแม่ควรรู้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถอดรหัสศัพท์สแลง พ่อแม่ควรรู้
คอลัมน์ ไฮไลต์โลก

โดย มนต์ทิพย์ ธานะสุข hilight@matichon.co.th

สื่อสังคมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ในการสนทนา เป็นสิ่งที่คนยุคสมัยนี้นิยมใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกัน โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นที่ยังนิยมใช้ศัพท์เฉพาะ คำสแลง หรือตัวย่อต่างๆ ในการสื่อสารกันเป็นอย่างมากด้วย เพราะเขียนสั้น ประหยัดเวลาในการพิมพ์ และ ยังอาจรู้ความหมายกันในเฉพาะกลุ่ม นั่นทำให้คนทั่วไปที่ไม่รู้จักมักคุ้น ต้องมานั่งตีความถอดรหัสกันไปว่ามันแปลว่าอะไร

ในส่วนคำย่อคำสแลงในภาษาไทยที่เราเห็นใช้กันในโลกไซเบอร์ก็มีมากมายอย่างที่พอรู้กันแต่ที่จะว่าต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของ 28 ศัพท์สแลงและตัวย่อภาษาอังกฤษที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาหยิบยกมาบอกเล่าว่าเป็นคำที่พ่อแม่

ทุกคนควรรู้เอาไว้ประดับสมองเพื่อจะได้รู้เท่าทันลูกๆเพราะคำบางคำที่เด็กๆใช้กันอยู่อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เห็นถึงพฤติกรรมอันตรายที่พวกเขากำลังแอบทำ หรือกำลังจะลงมือทำอยู่ก็เป็นได้

อย่างถ้าเราเห็นคำว่า LOL ที่มาจาก "laughing out loud" หัวเราะดังๆ หรือ OMG มาจาก "oh my god!" โอ้ว

พระเจ้า ที่ไม่ได้มีนัยเป็นพิษเป็นภัยใดๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นคำอย่างเช่น "IWSN" ย่อมาจาก "I want to sex now"

ฉันต้องการมีเซ็กซ์ตอนนี้ "GNOC" มาจาก "get naked on camera" ปลือยหน้ากล้อง

"PIR" มาจาก "parent in room" พ่อแม่อยู่ในห้อง

"CID" ย่อมาจาก "Acid" หมายถึงยาเสพติด หรือเป็นรหัสตัวเลขเช่น "420" หมายถึง "กัญชา" หรือ "8" ที่แปลว่า "ออรัลเซ็กซ์" แล้วล่ะก็ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ควรต้องระวังให้ดี

คำย่อคำสแลงข้างต้นเป็นสิ่งที่ "แคที เกรียร์"

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตบอกว่าเป็นคำที่พวกเด็กวัยรุ่นนิยมใช้สนทนากันในสังคมออนไลน์เหตุที่เด็กๆเลือกจะใช้คำย่อสื่อสารกันส่วนหนึ่งนอกจากจะได้พิมพ์หรือเขียนสั้นๆเพื่อโต้ตอบกับคู่สนทนาได้โดยเร็วแล้วส่วนหนึ่งอาจเป็นความตั้งใจของพวกเขา ที่ต้องการซ่อนเร้นนัยบางอย่างในการสนทนานั้นเอาไว้ ให้พ้นจากความรับรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่อาจจับตาดูพวกเขาอยู่มากเกินไปก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี การจะไปจับจ้องสอดส่องถอดรหัสทุกคำที่เด็กๆ ใช้สนทนา ส่งข้อความสั้น เขียนอีเมล์หรือโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหมดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ และการจะไล่ตามให้ทันเด็กๆ สมัยนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพวกเขาสามารถบัญญัติศัพท์สแลงที่ใช้กันเองได้แทบจะทุกวัน

ผู้เชี่ยวชาญอย่างเกรียร์จึงเสนอทางออกทางหนึ่งไว้ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อจะได้รู้เท่าทันเด็กๆ คือนอกจากจะอาศัยเสิร์ชเอ็นจิ้นในโลกไซเบอร์เพื่อค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ที่ตนเองไม่รู้ไม่คุ้นเคยมาประดับสมองทางหนึ่งแล้ว อีกทางที่ทำได้และน่าจะเป็นทางออกที่ดีด้วย

นั่นก็คือการเข้าไปพูดคุยกับลูกเองอย่างเปิดเผย เพราะไม่เพียงจะทำให้ผู้เป็นพ่อแม่ได้มีความเข้าอกเข้าใจหรือได้ข้อมูลใหม่ๆ ในโลกของวัยรุ่นแล้วเท่านั้น แต่ยังจะเป็นการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพ่อแม่มีความห่วงใยและใส่ใจพวกเขาเพียงไร ซึ่งน่าจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจในกันและกันมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการกระทำสิ่งใดก็ตามควรจะตั้งอยู่บนหลักของความพอดีและเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook