การศึกษาของฟินแลนด์ (1)

การศึกษาของฟินแลนด์ (1)

การศึกษาของฟินแลนด์ (1)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ Education Idea
โดย ดร.โชดก ปัญญาวรานันท์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนวัตกรรมทางการศึกษา สถาบันคีนันแห่งเอเซีย

ไม่นานผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าร่วมการประชุม "มองไทย-มองเทศ เปลี่ยนเพื่อเรียนรู้การศึกษาไทย" จัดโดยสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งได้เชิญนักการศึกษาจากประเทศฟินแลนด์มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้คร่ำหวอดในวงการศึกษาไทย เพื่อระบุปัญหา และหาทางออกกันอย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลา 3 วันเต็ม

นับเป็นโชคดีของผมที่ได้เรียนรู้แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาจากกรณีศึกษาที่น่าจับตาที่สุดของโลก เทียบกับมุมมองในการวิเคราะห์ปัญหาของผู้มีประสบการณ์ระดับประเทศ

สำหรับการศึกษาของฟินแลนด์นั้น คุณผู้อ่านน่าจะทราบดีอยู่แล้วว่า นักการศึกษาทั่วโลกยกย่องในความเป็นเลิศขนาดไหน เคยสงสัยมั้ยว่า เขาทำอะไร ?และทำอย่างไร ?

ซึ่งใน Ministry of Learning สัปดาห์นี้จะมาไขความลับที่ว่านั้นให้คุณผู้อ่านได้รับทราบกันในเชิงของกรณีศึกษาเปรียบเทียบง่าย ๆ แล้วกัน โดยผมได้เรียบเรียงประเด็นน่าสนใจว่ามีจุดไหนที่ต่างกันแบบจะจะ แบ่งเป็น 7 ประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 ฟินแลนด์ต้องการอะไรจากการศึกษา ?

คำตอบคือสร้างประชากรที่ดีของโลก ซึ่งของไทยคือ "เก่ง ดี มีความสุข" ก็เก๋ทั้งคู่แหละ ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือตอนจัดจริง ๆ มากกว่า เนื่องจากฟินแลนด์ใช้การศึกษาเป็น "กลไก" ในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ และความพร้อมที่จะมาอยู่ร่วมกันในอนาคต โดยการบ่มเพาะค่านิยมที่จำเป็น รวมถึงส่งเสริมให้เด็กค่อย ๆ ค้นพบศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

ต่างกับบ้านเราที่มองการศึกษาเป็น "เครื่องประดับ" เอาไว้ชูหน้าชูตา เราถึงเห็นความพยายามในการยกระดับคะแนน O-Net เอย คะแนน PISA เอย หรือแต่ละบ้านที่ตั้งธงไว้ว่าลูกต้องจบปริญญาตรี สาขาอะไรจบมาเหอะ แค่นี้ก็เห็นภาพชัดแล้วนะว่าอะไรอื่น ๆ จะต่างกันอีกแค่ไหน

ประเด็นที่ 2 ฟินแลนด์มีกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่ ?

คำตอบคือ "มี" แต่มีอำนาจน้อยมาก เพราะพื้นฐานแล้ว ฟินแลนด์เป็นสังคมเกษตรที่ประชากรกระจายตัวไปอยู่อาศัยกันในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้แต่ละท้องถิ่นต้องทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาขึ้นมาเอง กระทรวงศึกษาธิการฟินแลนด์มีหน้าที่ให้แนวทาง กรอบหลักสูตร ตัวอย่างข้อสอบ และระบบการสนับสนุนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ปรับขั้นซึ่งรวบ ควบ และกระจุกตัวกันอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการแบบบ้านเรา

ดังนั้นเขาไม่ต้องเสียเวลาเรื่องการกระจายอำนาจ หรือการจัดสรรงบฯ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น และเบ็ดเสร็จได้เองในแต่ละพื้นที่ เป็นอิสระจากกัน

ประเด็นที่ 3 ฟินแลนด์ฝึกครูอย่างไร ?

คำตอบคือ "หนักมาก" นักศึกษาครูที่ฟินแลนด์จะเรียนจบปริญญาโท โดยประกอบด้วยปริญญาตรี 3 ปี และปริญญาโทอีก 2 ปี ในขณะที่ไทยเราจะเรียนปริญญาตรีอย่างเดียว แต่ใช้เวลา 4 ปี และเพิ่งมาปรับเป็น 5 ปี

แต่อย่าคิดว่าเรียนพอ ๆ กันอีกล่ะ เพราะปริญญาตรี 3 ปีของเขาเท่ากับ 180 หน่วยกิต (บวกกับปริญญาโทอีก 120 หน่วยกิต) หรือคิดง่าย ๆ คือเรียนเทอมละ 30 หน่วยกิต ทั้งนี้ ปริญญาตรีสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์บ้านเรา เรียนประมาณ 160 หน่วยกิตเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook