สปช.ผุดไอเดีย ตั้ง "ซุปเปอร์บอร์ดศึกษา"

สปช.ผุดไอเดีย ตั้ง "ซุปเปอร์บอร์ดศึกษา"

สปช.ผุดไอเดีย ตั้ง "ซุปเปอร์บอร์ดศึกษา"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า สปช.อยู่ระหว่างพิจารณาแผนปฏิรูปการศึกษา ต้องเข้าไปช่วยทางกระทรวงศึกษาฯปรับเปลี่ยน ประเด็นที่เห็นมากที่สุดคือการ กระจายอำนาจ เพราะตอนนี้ทุกอย่างมาจากส่วนกลาง การโยกย้ายอะไรก็มาจากส่วนกลาง

โดยที่ส่วนกลางยังไม่เคยเห็นเลยว่าที่อุบลราชธานี อุดรธานี ปัญหามีอะไร ตรงนี้กำลังพยายามเคลียร์ก่อน เมื่อไปดู พ.ร.บ.การศึกษา ปรากฏว่าในกฎหมายเขียนไว้หมดเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ทำ อาจมีหลายสาเหตุเกี่ยวกับเรื่องการเมือง การโยกย้าย ทำให้ไม่ได้คนที่มีความสามารถขึ้นมาบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นระบบก็แย่ไป ตรงนี้พยายามจะเขียนใหม่ว่าต่อไปนี้ต้องมีคนมาดูแล จะให้มีคณะกรรมการเหมือนซุปเปอร์บอร์ดเรื่องการศึกษา พิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ปลัด อธิบดี หรือข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการระดับ 10 ขึ้นไป เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเซ็นอนุมัติ

สปช.ผุดไอเดีย ตั้ง สปช.ผุดไอเดีย ตั้ง

รศ.ณรงค์กล่าวว่า นอกจากนี้ ปัญหาขณะนี้ อย่างเช่น ช่วง ม.ปลายเปิดกันมาก ขยายห้องละ 60 คน แล้วเด็กจะเรียนรู้เรื่องได้อย่างไร คุณภาพไม่ได้ ไม่ได้ดูว่าเด็กจบ ม.6 แล้วควรจะไปทางไหน เด็กมีความพร้อมหรือเปล่า เพราะเด็กจะเรียนอุดมศึกษาต้องดูความพร้อมด้านสติปัญญาด้วย พอคุณภาพเด็ก ม.ปลายไม่ได้ เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ มหาวิทยาลัยไม่มีเกณฑ์รับคะแนนขั้นต่ำ ไม่มีเกณฑ์ในการกรองเด็ก ทั้งที่ยังมีเด็กอีกกลุ่มควรไปเรียนด้านวิชาชีพตั้งแต่ต้นเลยคือ ถ้าคัดตั้งแต่ตอนนี้ก็จบ

รศ.ณรงค์กล่าวว่า อุปสรรคของการศึกษาไทยคือระบบการจัดการ ตั้งแต่การผลิตและการกำหนดวิทยฐานะของครู วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและสถานศึกษา การบริหารจัดการสถานศึกษาทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ ระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและการผลิตกำลังคนในภาคการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

รศ.ณรงค์กล่าวว่า อาชีวศึกษาได้รับการกล่าวถึงอย่างมากว่าจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งในด้านการผลิตและการบริการ โรงงานอุตสาหกรรมและสถานบริการจำนวนมากต้องการบุคลากรที่จบ ปวช.และ ปวส. แต่ไม่มีคนมาสมัคร ในขณะเดียวกันหลายโรงงานก็บ่นว่าผู้จบ ปวช.หรือ ปวส.มาแล้วทำงานไม่ได้ ขาดทักษะฝีมือ ขาดความอดทน ขาดความมีวินัย และอื่นๆ ด้านวิทยาลัยเทคนิคและการอาชีพต่างๆ รวมถึงการเกษตรก็บ่นว่า ไม่มีเด็กมาสมัครเรียน ขาดครูและเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ส่วนในระดับอุดมศึกษาพบว่าบัณฑิตจบมาแล้วไม่มีคุณภาพ ทำงานไม่เป็น รวมทั้งการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ไม่ตรงสาขาที่ตลาดต้องการ

รศ.ณรงค์กล่าวว่า ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทั้งภาคประชาชน สังคม องค์กรธุรกิจและภาครัฐ โดยการจัดการศึกษาให้มุ่งไปสู่การสร้างคนให้เป็นพลเมืองที่ดี มีความรู้ตามศักยภาพตนเองเพียงพอต่อการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ เด็กต้องได้รับการพัฒนาและปลูกฝังตั้งแต่เกิด

ทั้งที่บ้านและในโรงเรียน การศึกษาต้องให้เป็นการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต นอกจากนี้สถาบันการศึกษาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐ จะต้องร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนร่วมกัน เพื่อให้ได้กำลังคนสอดคล้องตรงตามความต้องการทั้งในด้านจำนวน สาขาวิชา และคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา สถานประกอบการหรือหน่วยงาน ในฐานะผู้ใช้ ต้องมีส่วนร่วมในการผลิตกำลังคนด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ต้องใช้ทักษะฝีมือและที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและวิศวกรรม ระบบทวิภาคีในการจัดการอาชีวศึกษาคือสถานศึกษา สถานประกอบการ และผู้เรียน ช่วยลดภาระเครื่องมืออุปกรณ์การฝึก ลดปัญหาครูผู้สอนขาดทักษะการสอนภาคปฏิบัติ และงบประมาณของสถานศึกษา ส่วนสถานประกอบการสามารถคัดเลือกและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการได้ตั้งแต่ต้น ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะอย่างเต็มที่ และมีโอกาสได้รับบรรจุเป็นพนักงานของสถานประกอบการนั้นสูง

รศ.ณรงค์กล่าวว่า การจัดการศึกษาในระบบทวิภาคีมีข้อจำกัดอยู่บางประการ เช่น ปัญหาผู้รับผิดชอบในกรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างการฝึกในสถานประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และดูแลนักเรียน ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนที่นักเรียนควรจะได้รับจากผลงานที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึก เป็นต้น เพื่อให้ระบบทวิภาคีสัมฤทธิผลและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ อาจจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายหรือระเบียบขึ้นรองรับโดยภาครัฐเอื้อต่อทุกฝ่าย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เรียนในสถานประกอบการ พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในสถานประกอบการ เป็นต้น

"ความต้องการด้านแรงงาน ต้องมาจากภาคอุตสาหกรรม อย่างเช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต้องบอกว่าต้องการคนเท่าไหร่ แต่ทาง ส.อ.ท.ก็บอกว่าไม่มีบทบาทตรงนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐต้องหาคนให้ และเขาเสียภาษีแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่" รศ.ณรงค์กล่าว

รศ.ณรงค์กล่าวว่า การสร้างความยอมรับให้กับผู้จบการศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. สถานประกอบการต้องมุ่งเน้นความสามารถของพนักงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ และก้าวหน้าในวิชาชีพได้ต้องกำหนดค่าตอบแทนเหมาะสม ไม่ใช้ปริญญาบัตรเป็นตัวกำหนด ประเทศอุตสาหกรรมเจริญแล้ว ค่าตอบแทนของช่างฝีมือกับวิศวกร แตกต่างกันไม่มาก

การกำหนดค่าตอบแทนโดยใช้ระดับการศึกษาเป็นเกณฑ์ มิได้พิจารณาถึงสมรรถนะหรือความสามารถในการปฏิบัติงานนั้นๆ ส่งผลให้ขาดแคลนบุคลากรในระดับปฏิบัติการ และเกิดค่านิยมของการมุ่งสู่การเรียนเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร

รศ.ณรงค์กล่าวว่า ตอนนี้ไทยมีบัณฑิตจบปีหนึ่ง 6 หมื่นคน สามารถบรรจุครูเข้าไปได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นคน สกว.ก็ปล่อยมอบให้แต่ละมหาวิทยาลัยมีอำนาจเด็ดขาดจัดการในเรื่องหลักสูตรของตัวเอง จริงๆ

แล้วมหาวิทยาลัยก็มีปัญหาอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้ครูหรืออาจารย์ที่มีอยู่มีรายได้เพิ่มเติม อย่างสาขาครูมีอะไรทำได้เพิ่มบ้าง นอกจากเปิดห้องพิเศษขึ้นมา ครูก็มีค่าสอนพิเศษ เป็นตัวดึงให้ครูมีฐานะดีขึ้น แต่เป็นปัญหาอีกส่วนให้กับสังคม ไม่งั้นเขาก็บอกว่าครูอยู่ไม่ได้ เป็นการเมืองภายในสถานศึกษา ใครอยากเป็นผู้บริหารก็ต้องหาเสียงกับอาจารย์ที่อยู่ในนั้นด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook