เคล็ดลับ 10 ประการที่ทำให้เป็นคนอ่านเร็ว
เพื่อนๆ เคยเป็นไหม? หยิบหนังสือขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ง่วงนอนทุกที หรือบางทีอ่านก็ช้าใช้เวลานานกว่าจะอ่านจบ วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการอ่านมาให้ลองนำไปทำดูกันค่ะ
1. เริ่มอ่านในตอนเช้า
มีคำพูดที่ว่าคนเราสามารถมีสมาธิและอ่านได้นานขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเริ่มการอ่านตั้งแต่เช้าของวัน
2. อ่านในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยอยู่ให้ห่างจากสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว นั่นหมายถึงย้ายไปอยู่ห้องที่เงียบ ๆ ปิดทีวี วิทยุและโทรศัพท์มือถือ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ใกล้หน้าต่างหรือประตูเพราะเป็นที่ที่มีแนวโน้มที่จะมีเสียงรบกวน คุณไม่ควรปล่อยให้ลูกอ่านหนังสือในที่ที่สบายจนเกินไป เช่น บนเตียงนอนเพราะเป็นที่ที่ใจและกายเราต้องการจะพักผ่อน ลูกควรมีความรู้สึกตื่นตัวโดยนั่งที่โต๊ะอ่านหนังสือ
3. อ่านคร่าว ๆ เพื่อใจความหลัก
ให้ลูกคุณทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของสิ่งที่จะอ่าน อ่านสารบัญผ่าน ๆ มองหาหัวข้อและการแบ่งบท เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะสามารถบอกได้ว่าส่วนไหนควรอ่านโดยละเอียดและส่วนไหนสามารถอ่านแบบผ่าน ๆ ได้ ลูกคุณควรจะฝึกตีความใจความสำคัญของสิ่งที่อ่านโดยดูจากประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของย่อหน้า
4. ใช้ตัวชี้
ลูกคุณอาจใช้ นิ้ว ปากกา หรือการ์ดเป็นตัวชี้ มันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตาโดยการใช้สิ่งชี้เพื่อนำสายตาเวลาอ่านระหว่างบรรทัดได้เร็วขึ้นและยังช่วยให้เข้าใจข้อมูลได้เร็วขึ้น
5. ฝึกฝนการอ่านหลายคำในคราวเดียว
ถึงแม้ว่าเราจะเคยถูกสอนให้อ่านทุกคำ ทุกตัวอักษรมาก่อน แต่มันไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภายในการอ่านเพราะไม่ใช่ว่าคำทุกคำจะสำคัญ ลูกคุณสามารถพัฒนาความเร็วในการอ่านได้อย่างมากด้วยการอ่านหลาย ๆ คำในบรรทัดในคราวเดียวกัน
6. เรียนรู้ที่จะแยกแยะคำหลัก
การเน้นความสนใจที่คำหลักในประโยคเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกพัฒนาความเร็วในการอ่าน ลูกคุณควรเรียนรู้ที่จะอ่าน "คำเสริม" อย่างผ่าน ๆ เช่น พวก คำเชื่อม อย่างคำว่า และ, แต่, ทั้ง ๆ ที่ ฯลฯ และควรมองหาคำซ้ำ คำที่ตัวอักษรหนา และคำที่บ่งชี้ถึงความสำคัญของแนวคิดของเรื่องนั้น ๆ
7. จดโน้ต
ลูกคุณควรเขียนโน้ตสรุปความคิด ความเข้าใจคร่าว ๆ จากสิ่งที่อ่าน วิธีนี้ทำให้ลูกคุณกลับมาอ่านจากโน้ตได้โดยไม่ต้องไปอ่านซ้ำใหม่ทั้งหมด
8. ฝึกตัวเอง ไม่ให้อ่านซ้ำ
คนส่วนใหญ่จะหยุดและอ่านประโยคหรือข้อความเดิมซ้ำเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง แต่การกระทำนี้อาจทำให้ติดเป็นนิสัยและจริง ๆ แล้วการอ่านซ้ำก็ไม่จำเป็น
9. หยุดพักเมื่อเหนื่อย
หากลูกคุณอ่านในเวลาที่พวกเขารู้สึกเหนื่อย มันจะทำให้การอ่านและการทำความเข้าใจของพวกเขาช้าลง และการอ่านนี้จะจบลงอย่างเสียเวลาเปล่า เนื่องจากเด็ก ๆ จะไม่สามารถจับใจความจากสิ่งที่อ่านได้ ดังนั้นควรให้ลูกคุณหยุดพักจากการอ่านในระยะเวลาสั้น ๆ และกลับไปอ่านใหม่หลังจากได้พักเพียงพอแล้ว
10.หมั่นฝึกฝน
ท้ายที่สุด ฝึกเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อค้นหาว่าวิธีไหนที่เหมะกับลูกของคุณที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.theasianparent.com/