"คิด"แบบ"ติวเตอร์ดัง" ครูพี่หมุย-ธนัช ลาภนิมิตรชัย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ชวน นักเรียนมา "คิดข้ามช็อต" วางแผนอนาคตการศึกษา โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ นำโดยครูพี่แนน-อริสรา ธนาปกิจ จัดงาน "Think Beyond 2015" ปีที่ 3 โดยได้กูรูด้านการศึกษาชั้นนำมาร่วมไขเคล็ดลับความสำเร็จ ณ โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ สาขาสยามโอเอซิส ชั้น 13 อาคารวิทยกิตติ์ สยามสแควร์
ครูพี่หมุย-ธนัช ลาภนิมิตรชัย ติวเตอร์ชื่อดังจากโรงเรียนสอนภาษาไทยและสังคม โซไซไทย เปิดเผยถึงเคล็ดลับความสำเร็จจากเด็กต่างจังหวัด สู่การเป็นนักเรียนทุนเต็มจำนวนของสหภาพยุโรปได้รับโอกาสไป ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในประเทศออสเตรีย และประเทศอังกฤษ ดังนี้
1.จินตนาการถึงความล้มเหลว
"จุด เปลี่ยนของผมคือ คุณพ่อผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวเสียชีวิตกะทันหัน ระหว่างที่กำลังไปแลกเปลี่ยนที่สหรัฐอเมริกา ช่วง ม.6 จากที่ไม่เคยตั้งใจเรียนเลย ทำให้ต้องหันกลับมาคิดว่าเราจะดูแลทุกคนได้อย่างไร เลยมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนคณะดีๆ และมีอาชีพที่ดีทำ เพื่อดูแลทุกคนให้มีให้ความสุขได้ ดังนั้น จึงต้องลุกขึ้นสู้เพราะสถานการณ์บังคับ ส่วนน้องๆ หากไม่ได้เจอสถานการณ์แบบผม อยากให้ลองจินตนาการถึงความล้มเหลว แล้วเปลี่ยนความกลัวมาเป็นพลังผลักดัน ในการทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตของตัวเราเองและคนที่เรารัก"
2.วางแผนอย่างเป็นระบบ
"ใน การสอบเพื่อชิงทุนไปต่างประเทศหรือการสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยมีเทคนิคคล้าย กัน คือ การวางแผนการอ่านอย่างเป็นระบบ และกำหนดเส้นตายในการอ่านหนังสืออย่างชัดเจน รวมถึงการหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับการอ่านหนังสือของเราและเริ่มต้นอ่านอย่างมีสติ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
3.รู้จุดอ่อนของตัวเอง
"เวลา อ่านหนังสือไม่ว่าวิชาอะไรก็แล้วแต่ จุดที่สำคัญมากคือการทำแบบทดสอบเพื่อดูพัฒนาการทั้งก่อนอ่านหนังสือและหลัง อ่านหนังสือ เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า เรามีพัฒนาการไปในทิศทางใด พร้อมกับวิเคราะห์ว่าส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อน เช่น ภาพรวมวิชาสังคมก่อนได้คะแนน 60 คะแนน หลังอ่าน ได้ 80 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดี แต่นำส่วนวิชาพระพุทธศาสนา ผิดไปถึง 10 การวิเคราะห์อย่างละเอียดจะช่วยให้เรารู้จุดอ่อนของตัวเองและกลับไปอ่าน ทบทวนส่วนนั้น เพื่อให้ลบจุดอ่อนของตัวเองได้ในที่สุด"
ท้ายสุด ฝากถึงเด็กๆ ที่คิดว่าตัวเองเป็นเด็กต่างจังหวัด แล้วกำลังคิดว่าคงสอบมหาวิทยาลัยที่ดี กลัวว่าจะสู้เด็กในกรุงเทพฯไม่ได้
"ให้ คิดถึงนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า เพราะกรุงเทพฯมักมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ ประมาท คิดว่าตัวเองเก่งกว่าเสมอ ส่วนเด็กต่างจังหวัดให้เอาข้อดีที่เราคิดว่าตัวเองไม่เก่ง สู้ใครไม่ได้ มาเร่งพัฒนาตนเองให้เก่งยิ่งขึ้น เพราะอดีต นักเรียนหลังห้องจากจังหวัดราชบุรีอย่างผม พิสูจน์มาแล้วว่าสามารถทำได้ และเราทุกคนล้วนมีความเป็นเด็กบ้านนอกอยู่เสมอ เหมือนกับผมเปลี่ยนจากเด็กราชบุรี มาเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ย้ายมาเรียนยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้จะได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว เมื่อต้องไปเผชิญโลกกว้างในมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง University of Vienna ประเทศออสเตรีย และ London School of Economic แล้ว ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังคงเป็นเด็กบ้านนอกอยู่เช่นเดิม โดยเชื่อว่าคำนี้มีนัยยะเชิงบวกสื่อให้เห็นถึงการได้เติบโต ออกไปเผชิญกับโลกกว้าง" ครูพี่หมุยกล่าว และทิ้งท้ายว่า
"ด้วยความพยายามที่เต็มเปี่ยมเสมอ และเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จในทุกวันนี้"
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน