การตรวจ DNA คืออะไร?

การตรวจ DNA คืออะไร?

การตรวจ DNA คืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตรวจ DNA คืออะไร?

การทดสอบ DNA เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนซึ่งเป็นวิธีที่ชัดเจนและแม่นยำที่สุด เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะทุกคนจะมีสารพันธุกรรมของตัวเองซึ่งก็คือ DNA นั่นเอง โดยแท้จริงแล้ว มนุษย์ทุกคนจะมี DNA ที่ได้รับสืบทอดมาจากพ่อแม่

ซึ่ง DNA จะไม่เหมือนกันเลย แม้กระทั้งพี่น้องท้องเดียวกันยกเว้นฝาแฝดแท้ที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันเท่านั้น และเนื่องจากข้อเท็จจริงนี้ จึงระบุได้ว่าการทดสอบ DNA เป็นวิธีที่สามารถสรุปความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบุคคลได้ ดังนั้นการตรวจ DNA จึงเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

การตรวจ DNA คืออะไร?การตรวจ DNA คืออะไร?

บริการ การตรวจพิสูจน์ DNA มีดังนี้

1. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา (DNA Paternity Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา จะทดสอบโดยการเปรียบเทียบแบบแผนสารพันธุกรรมของเด็กกับผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นบิดา เด็กจะสืบทอดแบบแผนสารพันธุกรรม (DNA) มาจากบิดาและมารดาอย่างละครึ่ง ดังนั้นเมื่อนำแบบแผนสารพันธุกรรมมาเปรียบเทียบกัน จะทำให้ทราบว่าเด็กได้รับการสืบทอดแบบแผนสารพันธุกรรมมาจากที่ถูกกล่าวว่าเป็นบิดาหรือไม่

2. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นมารดา (DNA Maternity Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นมารดาจะมีกระบวนการเก็บตัวอย่างและวิธีทดสอบเหมือนกับการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาทุกอย่าง แต่ต่างกันตรงที่เราจะทำการเปรียบเทียบแบบแผนพันธุกรรมของเด็กกับผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นมารดา การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นมารดานี้ อาจจะนำตัวอย่างของบิดามาร่วมทดสอบด้วยก็ได้ แต่ก็ไม่ได้จำเป็นสำหรับคำตอบ

3. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพี่น้อง (Siblingship Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพี่น้องจะมี 2 กรณีคือ พี่น้องที่เกิดจากบิดาหรือมารดาคนเดียวกัน หรือพี่น้องที่เกิดจากบิดาและมารดาคนเดียวกัน การตรวจประเภทนี้ยังสามารถอ้างถึงความเป็นบิดาได้อีกด้วยในกรณีที่ไม่มีตัวอย่างของบิดาที่ถูกกล่าวหามาทดสอบ

4. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นฝาแฝด (Twin zygosity test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นฝาแฝด เป็นการพิสูจน์ว่าฝาแฝดเกิดมาจากไข่ใบเดียวกันหรือต่างไข่ ฝาแฝดที่เหมือนกัน(เกิดจากไข่ใบเดียวกัน) เนื่องจากมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกัน ซึ่งทำให้สามารถให้อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือเลือดซึ่งกันและกันได้ ฝาแฝดที่เหมือนกันนี้หากใครคนใดคนหนึ่งมีความผิดปกติทางพันธุกรรมก็มีแนวโน้มที่อีกคนหนึ่งจะมีความผิดปกติตามไปด้วย

5. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ทารกในครรภ์ (Prenatal DNA Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ทารกในครรภ์สามารถยืนยันความเป็นบิดาได้ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด การทดสอบนี้จะเปรียบเทียบแบบแผนสารพันธุกรรมระหว่างทารกในครรภ์กับผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นบิดา และมารดา จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างของมารดามาวิเคราะห์ด้วยเนื่องจากในกระบวนการเก็บตัวอย่างทารกในครรภ์อาจมี DNA ของมารดาปนมาด้วย

6. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นปู่ ย่า ตา ยาย (Grandparentage DNA Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า ปู่ ย่า ตา ยายและหลาน จะมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดหรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะแสดงค่าความน่าจะเป็นทางสถิติเพื่อบอกความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง ปู่ ย่า ตา ยายกับหลาน

7. การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นลุง ป้า น้า อา Avuncular DNA Test (Aunt or Uncle DNA Test)

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นลุง ป้า น้า อา เป็นการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าลุง ป้า น้า อาและหลานมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกันหรือไม่ โดยปกติแล้วลุง ป้า น้า และอาจะมียีนที่เหมือนกับหลานเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้นการทดสอบนี้จึงไม่สามารถให้ผลลัพธ์ได้แม่นยำเท่ากับการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดาเนื่องจากยีนเจือจางลงถึง 2 เท่า การทดสอบนี้จะให้ผลเป็นค่าของความน่าจะเป็นของความสัมพันธ์

*หมายเหตุ ประเภทของตัวอย่างที่สามารถใช้ในการตรวจพิสูจน์ DNA ได้ เช่น เซลล์กระพุ้งแก้ม, รากผม, แปรงสีฟัน, ก้นบุหรี่, คราบเลือด (หรือเกร็ดเลือด), เล็บ, หมากฝรั่ง

**หมายเหตุ ระยะเวลาในการวิเคราะห์ ภายใน 3 วันทำการ และทำการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่นักสืบโดยตรง

วิธีการเก็บตัวอย่าง DNA จากกระพุ้งแก้มด้วยตัวเอง

ข้อแนะนำ
ก่อนทำการเก็บตัวอย่างไม่ควรทานอาหารหรือดื่มน้ำอย่างน้อย 30 นาที
ขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง (ชุดเก็บตัวอย่างมี swab(ก้านพลาสติกปลายพันสำลี) 2 อัน สำหรับ 1 คน)
1. นำ swab อันที่1 ออกมา (ห้ามสัมผัสโดนปลายสำลีเด็ดขาด) ทำการขูดและหมุนปลายสำลีบริเวณกระพุ้งแก้มด้านซ้าย 15- 20 วินาที (ระวังอย่าให้มีน้ำลายติดมากับสำลีมากเกินไป) หันปลายสำลีขึ้น ตั้งทิ้งไว้ในแก้ว

2. นำ swab อันที่ 2 ออกมา ทำเช่นเดียวกับข้อแรกแต่เปลี่ยนเป็นด้านขวา

3. ตั้ง swab ทั้งสองอันไว้ในแก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ให้แห้งสนิท

4. ทำการเก็บตัวอย่างของอีกคน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้น (ขั้นตอนที่1-3)

5. เมื่อ swab แห้งสนิท ให้เก็บลงในซอง (ระวังอย่าใส่สลับกันเด็ดขาด)

6. ทำการจัดส่งตัวอย่างให้กับทางนักสืบ

ขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง DNA จากรากผม

การทดสอบ DNA จะใช้ตัวอย่างเส้นผมที่มีรากติดมาเท่านั้น โดยปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้

1. สวมถุงมือในการเก็บตัวอย่าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และห้ามสัมผัสบริเวณรากผม
2. ใช้รากผมจำนวน 8-10 เส้น
3. เก็บตัวอย่างรากผมลงในถุงพลาสติก เพื่อจัดส่งมาที่นักสืบ


วิธีการเก็บตัวอย่าง DNA จากแปรงสีฟัน

แปรงสีฟันที่นำมาเป็นตัวอย่างในการทดสอบ ควรมีการใช้งานแล้วอย่างน้อย 2 เดือน และต้องไม่มีการใช้ร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งปริมาณดีเอ็นเอจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการใช้และการเก็บตัวอย่างจากแปรงสีฟันที่ถูกวิธี ดังนี้
1. สวมถุงมือเมื่อต้องการจะเก็บตัวอย่างแปรงสีฟัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน (ห้ามสัมผัสโดนบริเวณขนแปรงเด็ดขาด
2. ปล่อยให้แปรงสีฟันแห้งสนิท โดยวางขนแปรงตั้งขึ้นในแก้วน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง
3. สวมถุงมือแล้วบรรจุแปรงสีฟันที่แห้งสนิทลงในซอง หรือถุงพลาสติกเพื่อส่งมาให้กับทางนักสืบ


วิธีการเก็บตัวอย่าง DNA จากก้นกรองบุหรี่

ปริมาณของ DNA จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนก้นกรองบุหรี่และการเก็บตัวอย่างที่ถูกวิธี และที่สำคัญต้องไม่มีการปนเปื้อนใดๆ วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องคือ

1. สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อมีการเก็บตัวอย่าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

2. เก็บก้นกรองบุหรี่จำนวน 3-5 อันจากที่เขี่ยบุหรี่ จะได้ตัวอย่างที่สมบูรณ์กว่าเก็บจากที่อื่น

3. เก็บตัวอย่างก้นกรองบุหรี่ลงในถุงพลาสติก เพื่อส่งมาที่นักสืบ

วิธีการเก็บตัวอย่าง DNA จากเลือด (เลือดหรือคราบเลือด)

เลือดสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ DNA ได้ เช่น เลือดที่เจาะมาจากร่างกายโดยตรง,คราบเลือดที่อยู่บนวัสดุดูดซับ,คราบเลือดแห้ง เป็นต้น ซึ่งเลือดที่เจาะมาจากร่างกายโดยตรงจะเป็นตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพที่ดีและมีความแม่นยำสูงพอๆกับการทดสอบโดยใช้เซลล์กระพุ้งแก้ม แต่ถ้าใช้เลือดที่อยู่บนวัสดุดูดซับหรือคราบเลือดแห้งมาเป็นตัวอย่างในการทดสอบ ความแม่นยำของผลการทดสอบอาจไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม ระดับของการเสื่อมสภาพ และการปนเปื้อนว่าเป็นอุปสรรคต่อการสกัด DNA มากน้อยเพียงไร การเจาะเลือดควรทำที่โรงพยาบาลแล้วผสมน้ำยา EDTA เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง 24 ชม.ก่อนนำส่งมาที่นักสืบ และสำหรับคราบเลือดและเลือดแห้งควรปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่าง
- สวมถุงมือก่อนทำการเก็บตัวอย่าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
- เก็บตัวอย่างลงในถุงพลาสติกที่สะอาดและปิดให้มิดชิด จากนั้นจึงจัดส่งตัวอย่างให้กับทางนักสืบ

ในการจัดส่งตัวอย่างให้กับทางนักสืบ ท่านต้องมีการระบุชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อที่ทางนักสืบจะใช้เป็นช่องทางในการติดต่อและจัดส่งผลการทดสอบต่อไป

วิธีการเก็บตัวอย่าง DNA จากเล็บ

เล็บสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ DNA ได้ เพื่อให้ตัวอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับนำมาทดสอบจึงควรใช้เล็บที่ตัดมาโดยตรงจากมือหรือเท้า โดยต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเศษเล็บที่ตัดแล้ว เพื่อป้องกันการปนเปื้อน วิธีการเก็บตัวอย่างเล็บ มีวิธีการดังนี้
- สวมถุงมือก่อนทำการเก็บตัวอย่าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
- เก็บตัวอย่างลงในถุงพลาสติกที่สะอาดและปิดให้มิดชิด จากนั้นจึงจัดส่งตัวอย่างให้กับทางนักสืบ

ในการจัดส่งตัวอย่างให้กับทางนักสืบ ท่านต้องมีการระบุชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อที่ทางนักสืบจะใช้เป็นช่องทางในการติดต่อและจัดส่งผลการทดสอบต่อไป


วิธีเก็บตัวอย่าง DNA จากน้ำคร่ำ

น้ำคร่ำสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการทดสอบ DNA ได้ โดยท่านจะต้องปรึกษากับสูตินารีแพทย์เพื่อเจาะตัวอย่างน้ำคร่ำ ซึ่งจะใช้ตัวอย่างน้ำคร่ำประมาณ 1 มิลลิลิตร บรรจุในหลอดที่สะอาดปราศจากเชื้อแล้วจัดส่งให้กับทางนักสืบ ในระหว่างการจัดส่งควรเก็บหลอดตัวอย่างในกล่องเก็บความเย็น อุณหภูมิประมาณ 4C° - 8C° โดยท่านต้องมีการระบุชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อที่ทางนักสืบจะใช้เป็นช่องทางในการติดต่อและจัดส่งผลการทดสอบต่อไป

ขอบคุณที่มา : http://detectives.in.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook