10 เรื่อง ดาราศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดในปี 59

10 เรื่อง ดาราศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดในปี 59

10 เรื่อง ดาราศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดในปี 59
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดโผ 10 เรื่องดาราศาสตร์ที่คนไทยไม่ควรพลาดตลอดปี 2559 นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เด็กไทยสมัยนี้เริ่มสนใจด้านดาราศาสตร์มากขึ้นเพราะโลกของเรานั้นมักมีปารกฎการณ์ต่างๆ มากมายเกิดขึ้น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้เปิด 10 เรื่องดาราศาสตร์ที่คนไทยไม่ควรพลาดตลอดปี 2559 จะมีอะไรบ้างนั้นต้องไปดูกัน
1) โครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์ในประเทศ - หอดูดาวแห่งชาติ หอดูดาวภูมิภาค หอดูดาวที่ ศรด. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร
2) โครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์ในต่างประเทศ - ชิลี จีน อเมริกา และในอนาคต
3) ศูนย์อบรมดาราศาสตร์นานาชาติ UNESCO
4) การพัฒนากำลังคนด้านดาราศาสตร์
5) โครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ + Astro Corner
6) สุริยุปราคาเต็มดวง 9 มีนาคม 2559
เป็นสุริยุปราคาลำดับที่ 52/73 ชุดซารอสที่130 แนวคราสเต็มดวงเคลื่อนที่จากมหาสมุทรอินเดียสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าแนวคราสเต็มดวงส่วนใหญ่จะพาดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในช่วงต้นของคราส เงามืดของดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านแผ่นดินที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ของประเทศอินโดนีเซียหลายเกาะด้วยกัน สำหรับประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ตั้งแต่เวลาประมาณ 6:30 น. จนถึง 8:40 น. สามารถมองเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศ แต่พื้นที่ดวงอาทิตย์ที่ถูกบังมากที่สุดจะลดลงตามตำแหน่งละติจูดของผู้สังเกต ในพื้นที่ภาคใต้ที่จังหวัดยะลา ดวงอาทิตย์จะถูกบังมากที่สุด ประมาณ 70% ส่วนทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงรายดวงอาทิตย์จะถูกบังเพียง 23%
7) ดาวอังคารใกล้โลก 22 พฤษภาคม 2559
ในปีนี้ดาวอังคารจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 พฤษภาคม และจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในวันที่ 31 พฤษภาคม ดังนั้นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารคือระหว่างวันที่ 22-31 พฤษภาคม จะสังเกตเห็นดาวอังคารมีความสว่างมากกว่าปกติ และปรากฏบนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กก็จะสามารถมองเห็นขั้วน้ำแข็งและลักษณะพื้นผิวดาวอังคารได้ ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดครั้งต่อไปในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561
8) ยานจูโนเดินทางถึงดาวพฤหัสบดี 4 กรกฎาคม 2559
ยานอวกาศจูโน (Juno Spacecraft) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (NASA) ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการในอวกาศจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เพื่อเดินทางไปศึกษาดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี เดินทางถึง 9) ซุปเปอร์มูนวันลอยกระทง 14 พฤศจิกายน 2559
ซุปเปอร์มูนวันลอยกระทง -ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง เวลา 20:52 น. ดวงจันทร์จะโคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะห่าง 356,536 กิโลเมตร และเนื่องจากเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงพอดี ผู้คนบนโลกจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 2-3%
10) ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ เช่น ฝนดาวตก ดาวเคราะห์ชุมนุม



ขอบคุณภาพและข้อมูลประกอบ https://www.facebook.com/NARITpage/

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ 10 เรื่อง ดาราศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดในปี 59

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook