18 วิธีแก้ความวิตกกังวล
รู้จักความกังวล
ความคิดวิตกกังวลก็เป็นความคิดที่พยามควบคุมสถานการณ์
ควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมชีวิตตัวเอง
คิดกังวลไปล่วงหน้าในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และสิ่งที่ทำลงไปแล้ว
จะส่งผลไม่ดีในอนาคต วันนี้กังวลเรื่องพรุ่งนี้พรุ่งนี้ก็กังวลวันต่อไป
อีกจนไม่อาจอยู่กับปัจจุบันได้ วิธีแก้ที่ชะงัดและได้ผลทันที่คือการ
รู้ตัวขึ้นมาเองในขณะนั้นว่ากำลังกังวลอยู่
และการแก้ไขที่ลงลึกที่สุดคือหาที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางใจ
เช่น ศาสนา และมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน ถูกต้อง ดีงาม
ความคิดเราเหมือนกับฝูงผึ้ง เหมือนน้ำในกา ถ้ามีอะไรร้อนๆ
ไปรนมันก็แตกรังน้ำก็เดือด เราต้องจัดการที่ต้นเหตุ
1. ความวิตกกังวลเป็นเพียงอาการของจิต เหมือนคลื่นน้ำที่อลเวงอยู่ด้านบนโดยที่มีสิ่งที่อยู่เบื้องล่างใต้น้ำคอยทำให้เกิดคลื่นอยู่ การขาดความเชื่อมั่น ความกลัว ความโกรธ และขาดศรัทธาคือสาเหตุของความวิตกกังวล กลัวความล้มเหลว ต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธาในชีวิต ในสิ่งที่ทำ มีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ทำเยอะๆแล้วจะวิตกกังวลน้อยลง คิดมากยากนาน
3. คิดอย่างเป็นระบบ ลำดับก่อนหลัง พักเรื่องที่ยังมาไม่ถึงหรือไม่จำเป็นไว้ก่อน ระวังการทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
4. เรื่องที่เกินความจำเป็นตัดออก บางที่เราคาดหวังมากเกินไปหรือเป็นประเภท perfectionist ชอบความสมบูรณ์แบบ
5. เรื่องที่ควบคุมไม่ได้ไห้ปล่อยวาง เราทำได้แต่เหตุ ส่วนผลนั้นบังคับไม่ได้ คุณต้องมีความเชื่อมั่นเท่านั้น
6. อยู่กับปัจจุบัน ต้องมีความพอใจในสิ่งที่ทำ ไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง แยกให้ออกระหว่างความไม่ประมาทกับความวิตกกังวล
7. หากเรื่องทีเราทำเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล
8. วิธีดับความวิตกกังวลได้ชะงัดที่สุด คือรู้ตัวในขณะนั้นว่ากังวล รู้สึกตัวบ่อยๆ ถี่ๆ
9. รู้จักความวิตกกังวล ให้รู้ว่าเวลาตัวเองไม่มีความกังวล ปลอดโปร่งเป็นยังไง รู้ว่าเวลาวิตกกังวลมีอาการเป็นยังไง อะไรทำให้กังวลแล้วอะไรทำให้หายกังวล แล้วจึงจะรู้ว่าจะจัดการกับมันได้อย่างไร อาจมาได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน เช่นมีความคิดแตกซ่าน แฝงด้วยความกลัว ทำอะไรเร่งรีบมีความเร่งเร้าอยู่ภายใน จดจ่อกับสิงใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน ต่างจากเวลาไม่กังวลที่สมองปลอดโปร่งโล่งเบา รู้สึกปลอดภัยจิตรวมตั้งมั่น
10. ความเห็นถูก คือรู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร แม้อยู่ท่ามกลางปัญหาก็หาได้ทุกข์ใจไปตามด้วยไม่ เรื่องใดก็ตามที่เป็นปัญหาแต่หากเรารู้ว่าจะแก้ยังไงเพราะว่าเจอบ่อยเราก็จะไม่คิดมากกับมัน และการจะเห็นถูกได้ก็ต้องหมั่นฝึกฝน แสวงหาความรู้ อบรมบ่มเพาะสติปัญญาตนเอง
11.ในระยะยาวเราต้องวางแผนชีวิต บริหารเวลาบริหารชีวิต ช่วยให้รู้สึกมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและอนาคตของเราได้ การที่เราไม่มีความพร้อมไม่มีวินัยทางการเงินและเวลา ก็ทำให้ชีวิตแต่ละวันของเราสับสนอลหม่านทำอะไรก็ติดขัดไม่ราบรื่นได้
12. สาเหตุหนึ่งของความวิตกกังวลคือความไม่มั่นคงในชีวิต เช่นงานรายวันรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ มีหนี้สินมาก ไม่มีอิสระทางการเงิน
13. บอกกับตัวเองว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ผิดพลาดบ้างก็ได้ปล่อยวางบ้าง สนุกกับการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เรื่องเก่าช่างมัน หัดเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย เราไม่สามารถกำหนดควบคุมได้ทุกอย่าง
14. แยกเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว เรื่องความรัก แต่ละเรื่องออกจากกัน งานเราอาจผิดพลาดแต่เมื่อจบงานแล้วก็ควรวางไว้ตรงนั้นเป็นเรื่องของงานไม่ใช่เรื่องของเรา งานล้มเหลวไม่ได้หมายความว่า ครอบครัวชีวิตส่วนตัวจะแย่ตาม พาลเอาไม่มีความสุขกับทุกเรื่องไปด้วย
15. ระลึกถึงความตาย ไม่รู้ว่าเราจะคิดอะไรมากมายไปทำไมทั้งที่เราอาจจะตายวันตายพรุ่งก็ได้ เมื่อตายแล้วทุกอย่างก็จบทำอะไรไม่ได้อมทุกข์ไปก็เท่านั้น ได้แต่ทำให้มันดีที่สุดเหมือนว่าทุกวันเป็นวันสุดท้ายเมื่อทำเต็มที่แล้วก็ไม่ต้องมานึกห่วงเสียใจอะไร ลองพูดคำว่า "ช่างแม่งมัน" ดูบ้าง
16. ความคิดฟุ้งซ่านวิตกกังวล เป็นกลุ่มอารมณ์ของความโกรธเกลียดเครียดแค้น เมื่อเรามีความอดทนอดกลั้นต่อความโกรธก็จะสามารถระงับความคิดฟุ้งซ่านได้ ให้เราอดทนอดกลั้น ความอดทนเป็นที่ตั้งของความดีงามและจิตใจที่ตั้งมั่น ให้ลองสังเกตดูครับว่าเรื่องที่เรามักจะนำมาคิดมักมีสาเหตุจากความขัดแย้ง หงุดหงิด ไม่พอใจ
17. ระลึกถึงสิ่งที่คุณศรัทธา เช่นพระเจ้าหากเป็นคริสเตียนหรืออิสลาม ระลึกถึงพระรัตนตรัยหากเป็นพุทธ จะทำให้จิตในสงบและมีความตั้งมั่นขึ้น
18. เคยคิดเบื่อหรือเกลียดความกังวล ความลังเลสงสัยกันบ้างไหม
อย่าพยามตัดความคิดฟุ้งซ่านความวิตกกังวล
18 วิธีแก้ความวิตกกังวล
เราไม่สามารถหยุดคิดหรือหยุดความวิตกกังวลได้ ไม่ว่าใครก็มีความวิตกกังวล อยู่ที่ว่าเราจะจัดการกับมันยังไง บ้างเป็นความวิตกระยะสั้นเช่นจะสอบได้ไหม แต่พอสอบเสร็จแล้วก็ไม่วิตกอันนี้ไม่ใช่ปัญหาไม่ต้องแก้ก็ได้ ความเครียดวิตกกังวลเป็นธรรมดาของชีวิตประจำวันรู้จักมัน
แต่ก็มีคนที่เป็นโรคเรื้อรังวิตกกังวลทุกเรื่องอย่างไม่มีสาเหตุ กลัวความล้มเหลว กลัวตาย กลัวคนทำร้าย กลัวความผิดพลาด กลัวสูญเสีย กลัวเจ็บป่วย กลัวลำบาก กลัวจน คุณอาจคิดว่าเป็นอาการทางประสาทแต่นั้นมองตื้นไป ที่จริงมันเกิดจากจิตใจที่อ่อนแอเพราะขาดศรัทธาในชีวิต คิดว่าตัวเองหมดความสามารถที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้ ไม่ไว้วางใจในสิ่งใดแม้กระทั่งตัวเค้าเอง
ขอขอบคุณที่มาจาก : https://twittereffect.wordpress.com