14 มีนาคม วันคณิตศาสตร์โลก หรือ วันพาย (World Math Day)
วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันคณิตศาสตร์โลก จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของคณิตศาสตร์ในฐานะศาสตร์ที่เป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และการออกแบบ (STEM)
จุดเริ่มต้น ของวันคณิตศาสตร์โลก
นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันคณิตศาสตร์โลก" (World Math Day) เพื่อเป็นการระลึกถึงสัญลักษณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์ π (พาย) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่หาได้จากความยาวของเส้นรอบวงกลม (Perimeter) หารด้วยความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น (Diameter) โดยมีค่าเท่ากับ 3.14 ด้วยเหตุนี้จึงถือเอาวันที่ 14 เดือน 3 เป็นวันคณิตศาสตร์โลก หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "วันพาย" (Pi Day) นอกจากนี้วันที่ 14 มีนาคมยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein : ค.ศ.1879-1955) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกอีกด้วย
ทั้งนี้ ค่าของ π เป็นทศนิยมแบบไม่รู้จบที่ไม่ซ้ำกัน และไม่สามารถเขียนเป็นตัวเลขออกมาได้ทั้งหมด คือ π = 3. 14159265358979323846264338327950284197169... ซึ่งถูกเรียกว่าจำนวนอตรรกยะ จึงได้มีการกำหนดค่าเป็นสากล ให้ π = 3.14 นั่นเอง
กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคณิตศาสตร์โลก
กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคณิตศาสตร์โลกมีหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การแข่งขันคณิตศาสตร์ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และกิจกรรมสันทนาการที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
ความสำคัญ ของวันคณิตศาสตร์โลก คือ
- กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์
- ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจเรียนคณิตศาสตร์
- พัฒนาศักยภาพด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน
- สนับสนุนการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
วันคณิตศาสตร์โลก จึงเป็นวันที่สำคัญสำหรับการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของคณิตศาสตร์ และส่งเสริมให้ผู้คนเห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์ในทุกๆ ด้านของชีวิต