13 เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประวัติความเป็นมา และคำขวัญวันผู้สูงอายุ

13 เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประวัติความเป็นมา และคำขวัญวันผู้สูงอายุ

13 เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประวัติความเป็นมา และคำขวัญวันผู้สูงอายุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นวันที่เราเชิดชูเกียรติและยกย่องผู้สูงอายุ บุคคลสำคัญผู้สร้างคุณูปการต่อสังคม ครอบครัว และชุมชน โดยความสำคัญของวันผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและบทบาทสำคัญของผู้สูงอายุที่มีต่อสังคมไทย ท่านเหล่านี้เป็นผู้ประสบการณ์ สั่งสมภูมิปัญญา และสร้างรากฐานสำคัญให้กับประเทศ

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ จึงเป็น "วันแห่งการตระหนักรู้" ถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ กระตุ้นให้สังคมเห็นคุณค่า ส่งเสริมบทบาท สนับสนุน และร่วมสร้างสังคมไทยให้เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน

วันผู้สูงอายุแห่งชาติวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุ

ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์ จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อน มีความทุกข์ยากประสบปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้การสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยาก ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้
  2. เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ
  3. เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้
  4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคม และให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควรแก่อัตภาพ
  5. เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
  6. เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้ว ทางรัฐบาลมีหน้าที่ที่จะเป็นผู้อุปการะคุณเลี้ยงดูต่อไป

กรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายดังกล่าวข้างต้นตลอดมา

ประวัติของวันผู้สูงอายุ

ในปี พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย และได้ให้ความหมายของคำว่า " ผู้สูงอายุ " ไว้ดังนี้

ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยกำหนดคำขวัญว่า Add life to years เพื่อให้ประเทศต่างๆ ช่วยกันส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้ คำขวัญเป็นภาษาไทย ว่า " ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน "

รัฐบาลในสมัยนั้น (พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ

สาเหตุที่เลือกดอกไม้นี้ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิ ที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป นอกจากนั้นทางด้านพฤกษศาสตร์ ต้นไม้นี้ยังใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีกด้วย ประการสำคัญ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงดำริให้จัดสวนนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ

คำขวัญวันผู้สูงอายุ

ในประเทศไทย คณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลก ของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดคำขวัญวันผู้สูงอายุว่า “ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน” สะท้อนถึงความสำคัญของ “ความรัก” และ “สุขภาพที่ดี” ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข

องค์การอนามัยโลก เสนอคำขวัญภาษาอังกฤษว่า “Add life to years” มุ่งเน้นไปที่การ “เติมเต็มชีวิตให้กับปีที่เพิ่มขึ้น”

กิจกรรมในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

  • ทําบุญตักบาตร ตามวิถีชาวพุทธ จะมีการทำบุญตักบาตร ที่ถือเป็นกิจกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ
  • มอบโล่ และเกียรติบัตรบาตร ให้แก่ครอบครัวของผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม
  • พิธีรดน้ำดำหัว เป็นการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่
  • ชมการแสดงของผู้สูงอายุ หรืออาจจะมีการแสดงของลูกหลานเพื่อให้วัยชราเหล่านั้นมีความสุข
  • สัมมนาและจัดนิทรรศการ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แสดงออกทางความคิดเห็นด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook