กินเสียงดังกันเถอะ! 5 มารยาทการกินของคนญี่ปุ่นที่ทำให้ต่างชาติต้องประหลาดใจ

กินเสียงดังกันเถอะ! 5 มารยาทการกินของคนญี่ปุ่นที่ทำให้ต่างชาติต้องประหลาดใจ

กินเสียงดังกันเถอะ! 5 มารยาทการกินของคนญี่ปุ่นที่ทำให้ต่างชาติต้องประหลาดใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในหลายๆ ประเทศอาจมองว่าลักษณะการรับประทานอาหารของประเทศญี่ปุ่นดูไร้มารยาท แต่ในทางตรงกันข้ามมันก็ข้อดีแฝงอยู่เหมือนกัน วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของประเทศญี่ปุ่นมีความแตกต่างกับประเทศอื่นๆ  เช่น การใช้ตะเกียบในการกินทุกสิ่งอย่าง ดังนั้นจึงมีหลากหลายมารยาทการกินที่ไม่ซ้ำใคร และบางครั้งก็สร้างความประหลาดใจให้กับคนต่างชาติได้เช่นกัน

หมายเหตุ : ต้องบอกก่อนว่าเราเคารพวัฒนธรรมการรับประทานของแต่ละชาติ และบทความนี้ก็ไม่ได้บังคับว่ามันเป็นกฎที่คุณต้องทำเมื่อไปญี่ปุ่นหรือกินอาหารญี่ปุ่น เราเพียงแค่นำเสนอความเป็นจริงเรื่องมารยาทการกินในแบบฉบับของญี่ปุ่นเท่านั้น ดังนั้น ไม่มีดราม่านะจ๊ะ ขอบคุณจ้า... 

1.สูดก๋วยเตี๋ยวให้เสียงดังๆ กันเถอะ

จะก๋วยเตี๋ยว ราเม็ง อุด้ง และโซบะ ไม่ใช่ปัญหา อย่าลังเลที่จะสูดให้เต็มที่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรากำลังเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร ความเป็นจริงอยู่ในวีดิโอโฆษณาราเม็งนี้ ซึ่งมีฉากสูดราเม็งเสียงดัง (นาทีที่ 00.20) ลองดูสิ

2.แต่คนญี่ปุ่นเค้าไม่เคี้ยวอาหารเสียงดังกันหรอกนะ

มันอาจจะดูขัดแย้งกันก็จริง แต่คนญี่ปุ่นจะเข้มงวดมากเรื่องการเคี้ยวอาหารเสียงดัง แม้แต่การเคี้ยวหมากฝรั่งยังทำให้ภาพลักษณ์ดูแย่เลย จุดสำคัญคือคุณควรปิดปากในขณะรับประทานและเมื่อสูดลมหายใจ

อันที่จริงไม่ใช่แค่เพียงเสียงเคี้ยวอาหารเท่านั้น แต่คนญี่ปุ่นไม่ชอบเสียงดังใดๆ ก็ตามในขณะรับประทานอาหาร (ยกเว้นตอนสูดราเม็ง) ตัวอย่างเช่น  เสียงเลีย, เสียงกัด, เสียงกลืน และเสียงดื่ม...ในขณะรับประทานเราจะต้องเงียบเสียงที่สุด คนญี่ปุ่นคิดว่าการทำเสียงดังขณะรับประทานอาหารเป็นเรื่องเสียมารยาท

3.คลุกอาหารเข้าด้วยกันไม่ดีนะ

รูปลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาหารญี่ปุ่น ดังนั้นการคลุกเคล้าอาหารในจานเข้าด้วยกันจึงถือว่าเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างยิ่ง แม้จะเป็นกิวด้ง (ข้าวหน้าเนื้อ) หรือข้าวแกงกะหรี่ก็ตาม แค่คลุกเคล้านิดหน่อยก็ดูไม่น่าปลื้มแล้ว

อาหารญี่ปุ่นดั้งเดิมจะไม่ผสมข้าวกับสิ่งอื่นๆ ข้าวก็คือข้าว และกินกับอาหารอื่นๆ ดังนั้นคนญี่ปุ่นจะมองคนที่คลุกผสมอาหารในจานว่าอ่อนการอบรมหรือได้รับการสั่งสอนมาไม่ดี โห! แรงอะ

อย่างไรก็ตามการคลุกเคล้าอาหารในจานมันก็ทำให้กินง่าย และบางครั้งก็รู้สึกว่าอร่อยมากขึ้นด้วย แต่เอาเป็นว่าเราอยู่ในสังคมโลก การกระทำบางอย่างอย่าทำในที่สาธารณะจะดีกว่า

4.อย่าปักตะเกียบไว้บนชามข้าว

นี่คือข้อห้ามเลยนะ! เพราะคนญี่ปุ่นจะนึกถึงงานศพขึ้นมาทันที ชามข้าวที่ปักตะเกียบไว้น่ะเค้าไว้สำหรับเอาไปวางไว้หน้ารูปภาพของคนที่ตายไปแล้ว เพื่อที่บุคคลนั้นที่อยู่อีกภพหนึ่งจะได้มากิน บรื๊ออออ!!!

เมื่อไม่ได้ใช้ตะเกียบในขณะที่กำลังรับประทานอาหาร ได้โปรดวางตะเกียบไว้ที่ขอบถาดรองหรือวางไว้บนที่วางตะเกียบเถอะนะ พลีสสสส!!!

5.จงถือชามข้าวของคุณไว้

ในวัฒนธรรมตะวันตกจะไม่นิยมถือชามข้าวในขณะที่รับประทาน ปกติแล้วจะใช้ช้อนเมื่อกินซุป และใช้มีดกับส้อมเมื่อกินเนื้อหรือปลา อย่างไรก็ตามในขณะที่เราอยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ใช้ช้อน มีด และส้อม เราจะต้องถือชามเข้ามาใกล้ปากเมื่อรับประทานมิโสะ เวลากินข้าวก็เช่นเดียวกัน จะอนุญาตให้ถือชามซุปและชามข้าวขึ้นมาได้ รูปร่างของชามอาจทำให้มันโคลงเคลงสักหน่อย...อันนี้ก็ช่วยไม่ได้อะนะ!   

ขนาดของชามไม่เป็นปัญหาเหรอ? : ปัญหามันอยู่ที่การถือชามขนาดใหญ่อย่าง ราเม็ง กิวด้ง และเท็นด้ง ต่างหากล่ะ ซึ่งคุณควรกินด้วยตะเกียบ ดังนั้นเพื่อกินซุปหรือข้าวที่อยู่ก้นชามก็ถือขึ้นแล้วเอียงเทเข้าปากเราให้หมด! และนี่ที่ญี่ปุ่นไม่ถือว่าเสียมารยาท อีกทั้งยังสามารถเห็นลักษณะการกระทำนี้ได้ในฉากอนิเมะหลายๆ เรื่อง

ทั้งหมดนี้ทำให้ประหลาดใจกันแค่ไหนล่ะ? อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นว่าวัฒนธรรมการกินในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน คนญี่ปุ่นหรือแม้แต่ตัวเราที่เป็นคนไทยก็ไม่รู้ว่าการกินสปาเก็ตตี้ด้วยส้อมและช้อนมันบ่งบอกว่ายังไม่โต จนกว่าเราจะได้ไปอิตาลี คนอิตาลีใช้แค่ส้อมเท่านั้นเวลากินสปาเก็ตตี้ ที่ญี่ปุ่นยกเว้นร้านอาหารอิตาเลี่ยนหรูๆ แพงๆ แล้ว ในร้านอาหารอิตาเลี่ยนบรรยากาศชิลๆ ก็จะเสิร์ฟสปาเก็ตตี้มาพร้อมกับช้อนและส้อม ซึ่งคนญี่ปุ่นก็ใช้มันทั้งสองอย่างนั่นแหละ ถึงจะไม่เหมาะสมและถูกต้องตามวัฒนธรรมที่แท้จริง แต่มันช่วยให้กินได้ง่ายขึ้น

เราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาเวลาอยู่บ้านเราก็ได้ แต่ถ้าเราไปบ้านเขา อยู่ท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมของเขา บางทีบางสถานการณ์เราก็ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมของเขานะคะ


ลิงก์ที่มา https://tokyogirlsupdate.com/eating-manners-japan-20160590975.html

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook