3 สิ่งสุดเซอร์ไพรส์ เมื่อกลับไปดูการซัพพอร์ทไอดอลยุค 80 - 90

3 สิ่งสุดเซอร์ไพรส์ เมื่อกลับไปดูการซัพพอร์ทไอดอลยุค 80 - 90

3 สิ่งสุดเซอร์ไพรส์ เมื่อกลับไปดูการซัพพอร์ทไอดอลยุค 80 - 90
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครั้งสุดท้ายที่พูดคุยเกี่ยวกับว่า “ถ้าแฟนๆ ไอดอลในช่วงยุค 80 และ 90 ข้ามเวลามาในยุคปัจจุบัน” และอีกครั้งฉันอยากจะพูดเกี่ยวสิ่งที่แฟนๆ ไอดอลยุคเก่าจะต้องแปลกใจ แม้มันจะอยู่ในความฝันของฉัน ฉันก็ไม่สามารถจินตนาการถึงฉากไอดอลและปัจจุบันที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรได้เลย

อันดับแรก ฉันเดิมพันเลยว่าแฟนๆ รุ่นเก่าๆ จะต้องประหลาดใจที่ผู้คนสะพายกล้องมาตามไอดอล ย้อนกลับไปในวันที่การถ่ายภาพได้รับอนุญาต และนิตยสารเผยแพร่ภาพถ่ายโดยช่างภาพสมัครเล่น ส่วนใหญ่คนเหล่านี้จะติดเลนส์ที่เหมือนบาซูก้าปืนยิงรถถัง คุณคิดว่าคนเหล่านี้จะนั่งอยู่ด้านหลังกันมากมาย แต่พวกเขาได้ขึ้นไปแถวหน้า บางคนอาจจะเถียงว่าไม่จำเป็นต้องสูงขนาดนี้ก็ได้ แต่ย้อนกลับมาแล้วก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ

a2

ในช่วงยุค 80 และ 90 มีนิตยสารที่มีคอลเลคชั่นภาพถ่ายไอดอลที่ถ่ายโดยช่างภาพมือสมัครเล่น เช่น Idol Toko Nama Shashin จาก Sun Shuppan และ Toko Shashin จาก Koyusha Shuppan เพราะการถ่ายภาพไม่ได้รับอนุญาต จึงเกิดข้อพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ภาพขึ้น และนิตยสารเหล่านี้ก็หายไปในช่วงท้ายยุค 90

ตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับแฟนๆ ไอดอลดังๆ ที่ตื่นเต้นและแทบจะทุกอีเว้นท์ที่มายืนอยู่หน้าเวที อย่างไรก็ตามในช่วงยุค 80 และ 90 มันเป็นเรื่องปกติที่แฟนๆ กลุ่มใหญ่เหล่านี้ หรือ “กรุ๊ปปี้” แสดงการสนับสนุนของพวกเขาจากด้านหลังของสถานที่จัดงาน ผู้คนที่ส่งเสียงให้กำลังจากด้านหลังไม่ได้คิดว่าเป็นเพียงอีเว้นท์ไอดอล แต่เป็นคอนเสิร์ตด้วย ดังนั้นแฟนๆ ไอดอลจึงเชื่อว่าการตะโกนและการแสดงถึงการสนับสนุนของพวกคุณจากพื้นที่ด้านหลังนั้นเป็นเรื่องปกติ

ดังนั้น ส่วนใหญ่พื้นที่ด้านหน้าจึงประกอบไปด้วยคนที่มีกล้อง ส่วนแฟนหลักๆจะอยู่ที่ด้านหลัง และแฟนปกติจะเป็นแซนวิชอยู่ระหว่างทั้งสองกลุ่มนี้ ก็เหมือนกับผสมและรวมเข้าด้วยกันในโดยไม่รู้ตัวในช่วงเวลานั้น แม้วิธีการให้กำลังใจของแฟนคลับไอดอลในขณะนี้บางทีอาจจะทำให้แฟนไอดอลในอดีตช็อกได้ โดยเฉพาะพวกพวกเขาอาจจะอิจฉาเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับแท่งไฟที่แฟนๆ ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้

ในคอนเสิร์ตของไอดอลปัจจุบันนี้ แท่งไฟและป้ายไฟเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมี อีกทั้งตอนนี้ยังมีแบบเปลี่ยนสีได้ด้วย มันเป็นเรื่องธรรมดาเพราะสมาชิกที่ชอบจะมีสีประจำตัว แต่ในช่วงอีเว้นท์พิเศษอย่าง วันเกิด พื้นที่จัดงานอาจจะมีการฉาบสีของสมาชิกเจ้าของงานคนเดียวก็ได้

ความคิดการใช้แท่งไฟเดิมทีนั้นมาจาก ฮิเดกิ ไซโจ หลังจากที่เขาถามแฟนๆ ของเขาถึงแสงไฟที่ส่องสว่างระหว่างคอนเสิร์ตของเขา แล้วเขาก็ได้เห็นมัน และในช่วงยุค 80 และ 90 คุณก็ได้เห็นแท่งไฟหรือไม้เรืองแสงในงานอีเว้นท์ของไอดอล อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น กรุ๊ปไอดอลส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำหนดสีสมาชิกแต่ละคน จึงใช้สีขาวเป็นหลัก หรือกรุ๊ปอย่าง Candies ที่สมาชิกมีสีประจำตัว แต่ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตัวแทนพวกเขา อีกทางหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่าเห็นแท่งไฟโบกเป็นคลื่นอยู่ที่ผู้ชมด้านหลังเลย บางครั้งผู้นำแฟนคลับกลุ่มหลักก็ใช้กันมาก แท่งไฟสีแดงที่เหมือนใช้ในไซต์งานก่อสร้าง บรรดาแฟนๆ ก็นำมาใช้ในระหว่างที่ตะโกนให้กำลังใจ แต่นี่ก็ยังแตกต่างจากที่ใช้กันในทุกวันนี้

แม้ว่ากรุ๊ปอย่าง Candies ที่สมาชิกมีสีประจำตัว แต่กรุ๊ปส่วนใหญ่ในช่วงนั้นยังไม่มีอะไรแบบนี้ อย่างไรก็ตามไอดอลกรุ๊ปอย่าง Melody ที่เดบิวต์ในปี 1993 พวกเธอได้กำหนดสีสมาชิกเป็น สีแดง ฟ้า และเหลือง ซึ่งพวกเธอก็ใช้เป็นสีประจำชุดของพวกเธอ

ดังนั้น เมื่อคุณมองไปที่ภาพจากคอนเสิร์ตในอดีตที่ผ่านมา คุณสังเกตเห็นความมืดในสถานที่จัดงาน แต่แฟนๆ และสถานที่จัดงานเหล่านี้มีลุคใหม่สุดมหัศจรรย์ได้ ก็ต้องขอบคุณแท่งไฟและป้ายไฟ

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในวิธีการโชว์สนับสนุนก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่อาจต้านทาน – การใช้สายรุ้งได้

แน่นอนว่าก็ขึ้นอยู่กับสถานที่จัดงานซึ่งบางครั้งก็ไม่อนุญาตให้ใช้ มันเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นสายรุ้งลอยล่องในอากาศเมื่อแฟนๆ คว้าออกมาระหว่างโชว์ จากที่นั่งของพวกเขา แฟนๆ ปาสายรุ้งออกไปเป็นทางโค้งสวยงาม ตั้งแต่ที่มันกระเด็นไปโดนไอดอลจนทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ จึงต้องมีกฎการใช้ด้วย ตอนนี้ฉันคิดว่าจะได้เห็นคนโยนสายรุ้งในขณะที่ไอดอลผ่านมาทางที่นั่งของพวกเขาก็เป็นเรื่องยากเต็มที ดูเหมือนว่าการทำแบบนี้จะหายไปหมดแล้ว

แต่ แม้ตอนนี้จะยังมีการโยนสายรุ้งในเพลง “Chenmen Paradise” ของกรุ๊ปไอดอล Fudanjuku

สายรุ้งในเพลง “Chenmen Paradise” ของ Fudanjuku และในคอนเสิร์ตเดี่ยวของพวกเขาที่ Hibiya Yagai Ongakudo ก็มีสายรุ้งสีประจำของสมาชิกบนเวทีด้วย

เมื่อคุณมองเห็นเช่นนี้ แม้ว่าจะแสดงให้เห็นการสนับสนุนไอดอลในวิธีคล้ายๆ กัน ซีนที่สถานที่จัดงานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ลองดูความแตกต่างอื่นๆ อย่างเช่นการขายสินค้ากันบ้าง

อย่างที่เคยกล่าวในบทความก่อน แฟนๆไอดอลตั้งแต่ยุค 80 และ 90 อาจผงะกับการใกล้ชิดของไอดอลในปัจจุบันนี้ ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะไม่มีโอกาสที่จะได้ภาพร่วมกับไอดอลคนโปรด ได้กระทบไหล่ แม้แต่การได้จับมือก็ตาม พวกเขาไม่เคยได้พูดคุย ไม่ได้ถ่ายภาพ cheki (โพลารอยด์) ได้อย่างทุกวันนี้

ชื่อเดิมของกล้อง cheki เปิดตัวออกมาในเดือนตุลาคม 1998 ก็คือ Instax Cheki มาจากวลี "Check in!" ซึ่งเป็นศัพท์แสลงสุดฮิต และกรุ๊ป Checkikko ก็เปิดตัวขึ้นในเวลาเดียวกัน

ฉันจำได้ว่าคว้ากล้อง cheki มาอยู่ในมืออย่างรวดเร็วที่สุด ฉันไม่ได้แฟนคลับกล้องเป็นพิเศษหรอก แต่ฉันอยากมีประสบการณ์ที่จะเห็นภาพถ่ายของตัวเองพัฒนาขึ้น ทันทีที่ออกวางจำหน่ายในร้านขายเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในชินจุกุและอากิฮาบาระ แต่ในที่สุดฉันก็ไปค้นหาได้ในร้านที่อิเคบุคุโร

Cheki (โพลารอยด์) มีออกมาเมื่อปี 1998 หลังจากนั้นเกือบ 20 ก็ไม่มีการเปลี่ยนสีใดๆ แม้ว่าดีไซน์ของกล้องจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนฟิล์มก็ยังคงเหมือนเดิม

กล้อง cheki ออกมาในช่วงเวลาที่ไอดอลเริ่มต้นจะหายไปจากสายตาสื่อ ในทำนองเดียวกันกล้องเหล่านี้ก็เป็นที่นิยมน้อยเหลือเกิน และกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งด้วยการกระแสบูมของไอดอลในระลอกที่สอง ต้องขอบคุณการประดิษฐ์คิดค้นของพวกเขา ตอนนี้สามารถถ่ายรูปคู่กับไอดอลได้ และเป็นไปได้ที่แฟนๆ ไอดอลในยุค 80 และ 90 จะรู้สึกอิจฉาที่สุด

พวกเขาไม่เหมือนกับ Cheki แต่แฟนๆ ที่ได้ภาพของไอดอลคนโปรดของพวกเขาเป็นประจำนั้นจะเรียกว่า “promides” Marubell เป็นร้านขายภาพ promides แต่ภาพส่วนใหญ่จะเป็นภาพดิบ ภาพเหล่านี้จะถูกรวมไว้กับซีดี

ปัจจุบันนี้ Marubell ตั้งอยู่ที่อาซาคุสะ ส่วนใหญ่ที่ Marubell ขายจะเป็นภาพดิบของไอดอลที่เรียกว่า “promides”

ในที่สุด สามสิ่งที่น่าแปลกใจสำหรับแฟนๆ ไอดอลถ้าข้ามเวลามาในปัจจุบันนี้ก็คือ SNS (Social Networking Service) หรือบางทีอาจจะเป็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ SNS ได้อย่างง่ายดาย พวกเขาอาจสงสัยว่าผู้คนที่ภายนอกสถานที่จัดงานกำลังทำอะไร ก้มหน้าก้มตา และจ้องมองไปที่หน้าจอโทรศัพท์ ฉันไม่คิดว่าพวกเขาจะสามารถจินตนาการได้ว่าคุณจะได้รับข้อมูลของไอดอลได้อย่างง่ายดายผ่านทาง SNS โดยเฉพาะทวิตเตอร์

เราพูดถึงการกำเนิด SNS ในคอนเท้นต์เก่าๆ มาแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกกับ PHS (Personal Handy-phone System) ที่มันกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่เห็นการดำเนินการของโทรศัพท์มือถือในช่วงปี 1995 โดยปกติแฟนๆ ไอดอลในยุค 80 และ 90 ไม่มีสมาร์ทโฟนหรืออินเตอร์เน็ต ความสามารถในการรับข่าวสารของไอดอลและภาพถ่ายส่วนตัวทั้งหมดนั้นผ่านอุปกรณ์บนฝ่ามือของคุณมันไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์เล็กๆ เลย ถ้าแฟนๆ ในยุคเก่ามาอยู่ในตอนนี้ แน่นอนว่าพวกเขาจะอยากได้สมาร์ทโฟนและเล่นมันทันที

สิ่งที่ได้รับการตอบกลับในทวิตเตอร์ ก็คือการตอบกลับจดหมายของแฟนๆ และแน่นอนว่าไอดอลไม่สามารถสื่อสารกับแฟนๆได้โดยตรง จะมีเพียงค่ายต้นสังกัดเท่านั้นที่จัดการเรื่องความสัมพันธ์กับแฟนๆ ให้ ยกตัวอย่างเช่น Hori Pro (Hori Productions) จะมีโน้ตบุ๊กมาวางไว้ตรงทางเข้า ถ้าคุณไปเขียนข้อความถึงบางคนไว้ในโน้ตบุ๊ค วันต่อมาก็จะมีคนมาเขียนตอบกลับ นอกจากนี้ Sun Music ถ้าคุณเข้าเป็นแฟนคลับของพวกเขา สต๊าฟก็จะบอกคุณว่าไอดอลได้รับของขวัญของคุณแล้ว และจะมีโปสเตอร์ขนาดใหญ่ให้ฟรี โดยปกติสิ่งเหล่านี้ไม่ได้โพสประกาศไว้ที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าสต๊าฟใจดีพอก็จะมีสิ่งดีๆ นี้ออกมา ซึ่งมันก็ทำให้แฟนๆ ได้ความสุขกลับมาแล้วล่ะ

ก่อนหน้านี้ Sun Music อยู่ที่ตึก Okido ตรงสี่แยก Yotsuya-yonchome แต่เนื่องจากเป็นสถานที่ฆ่าตัวตายของ ยูคิโกะ โอคาดะ ในวันที่ 8 เมษายน 1986 เป็นที่อยู่ที่ฉันไม่สามารถลืมได้เลย

ไอดอลระดับท็อปหลายๆ คนในยุค 80 ส่องประกายเป็นเบอร์หนึ่งในรายเพลงที่ขณะนี้ครอบรอบ 30 ปีแล้ว มันก็เป็นเรื่องปกติที่หลังจากหลายเดือนและปีที่ผ่านมาจะมีแฟนๆ แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับอุปกรณ์, การแสดงถึงการสนับสนุน, สินค้า และ SNS

อย่างไรก็ตาม ฉันเชื่อว่าถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน ฉันจะสามารถให้กำลังใจไอดอลคนโปรดของฉันได้ในวิธีการธรรมดาๆ ฉันสามารถจินตนาการถึงปัจจุบันนี้และพูดว่า “โอ้ สาวๆ มีลุคเหมือน Nori-P! เลย” หรือ “ ทั้งห้าสิ่งที่เตือนความจำฉันเรื่อง CoCo!”

ฉันคิดว่าบรรยากาศการสนับสนุนคนโปรดของคุณ และความสนุกที่คุณได้รับจากมัน เป็นสิ่งที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องมาโดยไม่เปลี่ยนแปลงไปกับไอดอลคนโปรดของคุณ แม้ว่าสภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมไอดอลจะมีการเปลี่ยนแปลงไป รากฐานเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ และฉันก็ช่วยไม่ได้หรอก แต่คิดว่าที่เป็นอยู่มันน่าตื่นเต้นแค่ไหนกันล่ะ

ลิงก์ที่มา tokyogirlsupdate

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook