พิชิตองค์กรญี่ปุ่น ตอนที่ 7 การฝึกความเป็นผู้ใหญ่ตั้งแต่เด็ก
อย่างทีทราบกันว่าระบบการศึกษาของญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างเข้มงวด แต่ใช่ว่าเด็กๆจะเติบโตและเรียนรู้จากสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว มีอีกปัจจัยหนึ่งคือ การศึกษาและการอบรมจากทางบ้าน ซึ่งเด็กญี่ปุ่นมีการเรียนรู้และการพัฒนาคล้ายๆกันของไทย และคล้ายกับทั่วโลก แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การมีส่วนร่วมและการคิดวิเคราะห์
ตัวอย่าง คือ ในโรงเรียนจะมีคาบห้องสมุด ให้นักเรียนนำหนังสือที่ตัวเองอ่านแล้วชอบ มาวิเคราะห์และนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆฟัง โดยที่เล่าถึงเรื่องย่อ ความคิดเห็นส่วนตัว และวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เราได้จากการอ่านคืออะไร เพื่อนๆที่นั่งฟังนั้นอาจจะเกิดความรู้สึกว่า อยากอ่าน จึงเกิดการอยากเรียนรู้ และก่อนที่จะนำเสนอให้นักเรียนเขียนสิ่งที่จะเล่าหน้าห้องเรียนบนกระดาษและให้เล่ากับทางบ้านฟังด้วย พร้อมทั้งลายเซ็นจากผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กญี่ปุ่นจึงรักการอ่าน
ทุกอย่างล้วนมีเหตุผลหมด การเลี้ยงดูก็เช่นกัน
ด้วยความที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะ โดยมี 4 เกาะใหญ่ ทำให้คนญี่ปุ่นเองก็ต้องเอาชีวิตรอด อีกทั้งแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งทำให้คนญี่ปุ่นเองได้รู้รสชาตของความลำบาก ซึ่งบางครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ทำงานนอกบ้าน อาจะไม่มีเวลาดูแลลูก ลูกก็ต้องเอาตัวรอด แต่ใช่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะละเลยหน้าที่ เมื่อถึงเวลาครอบครัว คนเหล่านั้นจะทิ้งงานทั้งหมด มาดูแลลูกแทน เช่น ช่วนสอนการบ้าน ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ซึ่งผู้ใหญ่เองเป็นตัวอย่างให้เห็น เด็กๆจะเกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ พร้อมทั้งมีการพูดคุยกัน และพูดคุยในลักษณะที่มีเหตุผลและมีส่วนร่วม
ยกตัวอย่าง วันอาทิตย์ จะให้เด็กๆออกแบบโปรแกรมเที่ยวสำหรับวันสุดสัปดาห์ ซึ่งเด็กๆจะอธิบายว่าทำไมถึงอยากไป ที่นั้นมีอะไร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจะไม่เห็นด้วย แต่เด็กๆนั้นก็น้อมรับคำวิเคราะห์ ด้วยเหตุผล แต่ถึงกระนั้น มีแผนสำรอง ทำให้เด็กๆมีส่วนร่วมสำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ใช้เวลาร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ได้
และในชีวิตประจำวันเอง คุณพ่อคุณแม่จะสอนการใช้ชีวิตให้ลูกเสมอ เช่น การรักษาเวลา มารยาททั่วไป ซึ่งเด็กๆเองฟัง แต่จะไม่เชื่อสนิท แต่มีตัวอย่างจากบุคคลรอบตัว ทำให้เด็กๆคลายข้อสงสัย และเชื่อว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูดนั้นจริง
ถ้าถามว่า ทำไมเด็กๆญี่ปุ่นมีมารยาท เข้าแถวเป็นระเบียบ ไม่แซงแถว?
คำตอบคือ คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างให้เห็น และคอยชี้แนะว่า คนข้างหน้ายังเข้าแถว ทำไมเราจะไม่เข้าแถวล่ะ
ซึ่งเด็กๆจะเชื่อใจพ่อแม่ตัวเองมากที่สุด และดูว่าพวกเขาทำอะไร เด็กๆก็จะทำตาม
อีกมุมมองคือ การไม่มีมารยาทถือว่าเข้าสังคมญี่ปุ่นยาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนใคร อีกทั้งเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นเองไม่อยากทำ เพราะเป็นการรบกวนคนรอบข้าง เมื่อเด็กๆทำสิ่งที่ไม่มีมารยาท คนที่โดนคนเป็นแรกคือ คุณพ่อคุณแม่เอง หรือกลับกัน คุณพ่อหรือคุณแม่ทำสิ่งที่ไม่มีมารยาท เด็กๆจะโดนล้อที่โรงเรียน เนื่องจากสังคมคนญี่ปุ่นนั้นแคบ รู้จักกัน ซึ่งในสถานการณ์นั้นๆอาจะมีคนรู้จักอยู่ในนั้นก็ได้
เด็กๆญี่ปุ่นเองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตัวเองสูง เช่น กำหนดเวรล้างจาน กำหนดเวรทำความสะอาดห้อง ซึ่งที่โรงเรียนก็สอนเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดพฤติกรรมเคยชิน จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเด็กๆถึงมีความรับผิดชอบ อีกทั้งสามารถดูแลตัวเองได้ เนื่องจากมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในบ้านด้วย เช่น เวลาคุณแม่ทำอาหาร ให้เด็กๆมีส่วนร่วมง่ายๆเช่น หั่นผัก หรือต้มน้ำร้อน ซึ่งเด็กๆจะคอยสังเกตสิ่งที่คุณแม่ทำ และนำไปทำเอง ถ้าถามว่าอันตรายไหม ? แน่นอนว่าอันตราย แต่เด็กๆเองยิ่งห้ามยิ่งยุ เพราะฉะนั้น ให้ลองด้วยตัวเอง และเจ็บด้วยตัวเอง มีดมันอันตราย เพราะมันคม บาดได้ เด็กๆไม่รู้ว่าคมแค่ไหน บาดแล้วเจ็บอย่างไร แต่ถ้าลองบาดแล้วจะรู้ว่าเจ็บ และจะไม่จับอีกเลย (ในกรณีนี้ ผู้ปกครองควรดูแลใกล้ๆด้วย)
บางครั้งปล่อยให้เด็กๆได้สนุกในสิ่งที่พวกเขาทำบ้าง เพราะมันอาจจะนำไปสู่การเกิดจินตนาการที่ล้ำค่าสำหรับเด็กๆก็เป็นได้ คุณพ่อคุณแม่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำเด็กๆ เพราะพวกเข้าโตขึ้น ก็มีความคิดที่เป็นของตัวเองมากขึ้น บางครั้งความคิดของคุณพ่อคุณแม่อาจจะล้าหลัง หรือไม่ทันยุคสมัยของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่เองมีหน้าที่เรียนรู้พร้อมไปกับเด็กๆ จะยิ่งทำให้สร้างความสัมพันธ์กับเด็กๆได้มากขึ้น และเข้าใจมากขึ้น พร้อมทั้งเด็กๆจะเชื่อใจมากขึ้นด้วย
ที่มารูปภาพ : toyokeizai, whistlingpastdixie, oyako-gift, i933, 01.gatag, kids.wanpug
ผู้เขียน : TOSHI by omotenashi