สังคมต้องรับรู้ "วัยรุ่นไทยติดเกมหนักและป่วยจิตเวช" สูงขึ้นในรอบ 3 ปี
กรมสุขภาพจิตได้เผยข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมเสพติดเกมและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
เพียง 3 เดือนแรกของปีพบเด็กและวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีเสพติดเกมและป่วยทางจิตเวช ร่วมอาทิ สมาธิสั้น โรคดื้อต่อต้าน ซึมเศร้า จำนวน 53 คน เพิ่มสูงขึ้น 1.5 เท่าตัวในรอบ 3 ปี ร้อยละ 96 เป็นชาย อายุน้อยสุดเพียง 5 ขวบ
ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้และขอย้ำเตือนให้พ่อแม่เฝ้าระวังลูกหลานคือเกมออนไลน์ประเภทต่อสู้เกมโมบ้า ที่เล่นกันเป็นทีม ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและเยาวชนทั่วโลก จนทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นกีฬาทางสมอง ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสพติดที่เลิกได้ยาก และกำลังกลายเป็นสาเหตุหลังที่ให้ทำเด็กติดเกม
โดยในขณะนี้ได้เร่งพัฒนารูปแบบบำบัดรักษาวัยรุ่นติดเกมหรือมีความเสี่ยงติดเกมแนวใหม่ เพื่อฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและเปิดแอพพลิเคชั่นชื่อ ค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น เพื่อเสริมระบบความเข้มแข็งครอบครัว
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ รายงานว่าใน 2560 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -31 มีนาคม เพียง 3 เดือน พบผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาพฤติกรรมและอาการเสพติดเกมอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง รวมจำนวน 53 คน ซึ่งเป็นสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 เท่าตัวในรอบ 3 ปี ร้อยละ 96 เป็นชาย
โดยจิตแพทย์ตรวจพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีโรคร่วมทางจิตเวชเช่น โรคสมาธิสั้น, โรคดื้อต่อต้าน, โรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคกล้ามเนื้อตากระตุก โรคบกพร่องทักษะการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาพฤติกรรมโกหก ขโมยเงิน เล่นการพนัน หนีเรียน ไม่ยอมไปโรงเรียนและหนีออกจากบ้าน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 14 - 16 ปี แนวโน้มพบอายุน้อยลงเรื่อยๆ น้อยที่สุดคือ 5 ชวบ ซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก โดยเรื่องติดเกมนี้ยังเป็นปัญหาอันดับ 2 ที่พ่อแม่โทรปรึกษาสายด่วน 1323 รองจากปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นเช่น เรื่องความรัก
อาการแสดงของพฤติกรรมเสพติด จะเริ่มจากความอยากกระหายที่จะเล่นเกม ใช้เวลาเล่นนานขึ้น เมื่อไม่ได้เล่นเกมจะมีลักษณะอาการถอนคือ มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวล กระวนกระวาย จนถึงขั้นพฤติกรรมก้าวร้าว และเสียหน้าที่ในชีวิตประจำวัน เช่นผลการเรียนแย่ลง ขาดสมาธิในการเรียน/การทำงาน แยกตัวไม่เข้าสังคม และสัมพันธภาพในครอบครัวแย่ลง จึงไม่แนะนำให้เล่นเกมชนิดนี้ สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนขณะนี้ก็คือการเลี้ยงดูบุตรหลานในยุคดิจิตอลให้มีความปลอดภัยในการใช้สื่อออนไลน์ทุกชนิด พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าปล่อยปละละเลยลูกอย่างเด็ดขาด ต้องมีกฎกติกาภายในบ้านอย่างชัดเจน อาทิ วินัยและการรับผิดชอบการเรียนในชีวิตประจำวัน การแบ่งเวลาการเล่น การมีเวลาสำหรับกิจกรรมกีฬา กิจกรรมร่วมในครอบครัว ควรเอาใจใส่การใช้เวลากับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อินเตอร์เน็ตของลูกอย่างใกล้ชิด ควรทำความรู้จักกับเกมก่อนตัดสินใจให้ลูกเล่น เป็นต้น สิ่งที่ไม่ควรทำเลยคือการหยิบยื่นเกมให้เด็กเล่นแทนของเล่น หรือเป็นของรางวัล
อาการที่แสดงว่าเด็กกำลังเกิดปัญหาติดเกมที่ผู้ปกครองต้องพาไปพบจิตแพทย์โดยด่วน ได้แก่ เด็กใช้เวลาหมกมุ่นอย่างมากกับการเล่นเกม อินเตอร์เน็ต จนเกิดการกระหายโอกาสในการเข้าถึง เด็กใช้เวลาเล่นนานกว่า 2 ชั่วโมงและมีอาการถอนคือ อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย อาละวาดเมื่อบอกให้หยุดเล่นเกม เด็กอาจมีอาการแตกต่างกันเช่นบางคนแค่หงุดหงิด บางคนรุนแรงทำลายข้าวของ ทำร้ายพ่อแม่ ทำร้ายตัวเอง ขาดสมาธิการเรียน โดดเรียน ไม่ยอมไปโรงเรียน บางคนอดนอน ขโมยเงิน ท้อแท้สิ้นหวังในโลกความเป็นจริง