เพราะเหตุใดพระจักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่นจึงทรงใช้ “ร่มพลาสติกใส” ในวันฝนตก?

เพราะเหตุใดพระจักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่นจึงทรงใช้ “ร่มพลาสติกใส” ในวันฝนตก?

เพราะเหตุใดพระจักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่นจึงทรงใช้ “ร่มพลาสติกใส” ในวันฝนตก?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อใดที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะแห่งญี่ปุ่นเสด็จเยือนที่ต่าง ๆ กลางฝน มักจะปรากฏภาพทั้งสองพระองค์ทรงใช้ร่มพลาสติกอยู่เสมอ ว่าแต่ว่าทำไมถึงเป็น “ร่มพลาสติก” แทนที่จะเป็นร่มที่ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงคงทนกว่านั้น?

การใช้ร่มพลาสติกของจักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่น

เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2013 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะได้เสร็จเยือนเมืองโอฟุนะ จังหวัดอิวาเตะ เพื่อทอดพระเนตรการฟื้นฟูเมืองหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นตะวันออก

ในการเสด็จครั้งนั้น ได้มีการเข้าเยี่ยมโรงงานแห่งหนึ่ง ทว่าข้างนอกฝนได้เทลงมาอย่างหนัก คนของสำนักพระราชวังจึงนำร่มสีดำคันใหญ่ออกมา แต่ทั้งสองพระองค์ทรงไม่รับ และเลือกที่จะใช้ “ร่มพลาสติก” ธรรมดา ๆ แทน

เพราะเหตุใดทั้งสองพระองค์จึงทรงเลือกที่จะใช้ร่มพลาสติกใส?

บางคนอาจคิดว่าการที่พระจักรพรรดิทรงใช้ร่มพลาสติกทำให้ดูไม่สมฐานะ แต่ว่าการใช้ “ร่มพลาสติก” เป็นพระราชประสงค์ส่วนพระองค์เพื่อให้คนงานที่โรงงานมองเห็นพระพักตร์ของทั้งสองพระองค์ได้อย่างชัดเจน เป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูเหมือนไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่แสดงให้เห็นถึงความโอบอ้อมอารีอย่างหาที่สุดมิได้

หลังจากการเสด็จในครั้งนั้น ทั้งสองพระองค์ยังได้เสด็จเยือนเมืองริคุเซนทาคาตะ และทรงใช้ร่มพลาสติกท่ามกลางฝนที่ตกหนักเช่นเดียวกัน ความใส่พระทัยในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่บรรดาผู้ประสบภัยจะไม่มีวันลืม

“ร่มพลาสติก” ที่สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีทรงใช้นี้ ถูกผลิตขึ้นเป็นพิเศษด้วยกระบวนการผลิตแบบเฉพาะทางเพื่อป้องกันไม่ให้หักหรือพังได้ง่าย ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างก็ให้ความสนพระทัย “ร่มพลาสติก” ที่ช่วยให้พสกนิกรมองเห็นพระพักตร์ของพระองค์ได้ถนัดอย่างมาก

การใช้ร่มสีดำทึบนั้น นอกจากจะทำให้บรรดาผู้ประสบภัยมองไม่เห็นพระพักตร์ของสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแล้ว ยังทำให้ทั้งสองพระองค์มองไม่เห็นหน้าผู้ประสบภัยด้วยเช่นกัน ไม่น่าเชื่อว่าแค่ร่ม 1 คัน ก็แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาของทั้งสองพระองค์ต่อประชาชนชาวญี่ปุ่นได้ถึงเพียงนี้ ทีนี้ก็เข้าใจกระจ่างแล้วว่า เพราะอะไรจึงต้องเป็น “ร่มพลาสติก”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook