8 เคล็ดลับอ่านหนังสือให้จำเร็วและแม่น
istockphoto
1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
istockphoto
4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านช่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
• ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
• หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
• ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
• ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
istockphoto