การสอนเเบบ "พหุสัมผัส" ช่วยนักเรียนความต้องการพิเศษเรียนภาษาต่างประเทศได้

การสอนเเบบ "พหุสัมผัส" ช่วยนักเรียนความต้องการพิเศษเรียนภาษาต่างประเทศได้

การสอนเเบบ "พหุสัมผัส" ช่วยนักเรียนความต้องการพิเศษเรียนภาษาต่างประเทศได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

dyslexia

ลอร่า เกรย์ (Laura Grey) สามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี เละเยอรมัน และตอนนี้เธอกำลังเรียนภาษารัสเซีย ภาษาจีนกลาง และดัทช์ เธอเรียนภาษาเหล่านี้ได้เเม้ว่าจะมีความบกพร่องในการอ่านหนังสือหรือดีสเลคเซีย (dyslexia) ซึ่งมีผลให้การอ่าน การเขียน และการสะกดคำยากมากขึ้น

พริสซิลล่า เชน (Priscillia Shen) รองผู้อำนวยการ ดีเอเอส อะคาเดมี (DAS Academy) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคม Dyslexia แห่งสิงคโปร์ กล่าวว่า เด็กที่มีความบกพร่องนี้ทุกคนไม่เหมือนกัน เธอบอกว่านักเรียนที่เป็นดีสเลคเซียเเบบอ่อนๆ อาจจะเรียนได้ดีในโรงเรียนประถม เเต่อาจจะประสบปัญหาเมื่อเรียนในระดับสูงขึ้นไป เธอเชื่อว่าบทเรียนควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความบกพร่องของนักเรียนเเต่ละคน

นักการศึกษาชี้ว่า การสอนที่ใช้เเนวคิดการสอนเเบบพหุสัมผัส (multisensory approach) มีประโยชน์เเก่นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนหนังสือ

เบรนดา เบอร์นัลเดส (Brenda Bernaldez) เป็นผู้เชี่ยวชาญทีสำนักงานสอนภาษาอังกฤษชื่อว่า Office of English Language Programs ในประเทศเม็กซิโก ที่สอนภาษาอังกฤษเเก่นักเรียนหลายกลุ่มอายุ กล่าวว่า เเนวการสอนเเบบพหุสัมผัสในการเรียนภาษาอังกฤษ ช่วยนักเรียนได้

วิธีการสอนเเบบนี้รวมเอาการใช้สื่อการสอนทางสายตา ทางเสียง และการรับรู้ทางกายและความรู้สึกผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เล่น หรือเเสดง

นักการศึกษาชี้ว่า การอ่านและการใช้คำมีความสำคัญ ลีอา คัมฮี-สไตน์ (Lía Kamhi-Stein) อาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท (California State University) ในลอสแองเจลลีส สอนนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการอ่าน เธอกล่าวว่า นักศึกษาที่มีความบกพร่องด้านการเรียนเเบบอ่อนๆ จำเป็นต้องพัฒนาความรักในการอ่านหนังสือเพื่อปรับปรุงการอ่านให้ดีขึ้น

คุณลีอา กล่าวว่า นักศึกษาควรเลือกว่าจะอ่านหนังสือประเภทใด เกี่ยวกับอะไร ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนหรือหนังสือเกี่ยวกับสัตว์ การอ่านหนังสือร่วมกับคนอื่นช่วยให้นักศึกษาได้ยินการออกเสียงคำที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ นักศึกษาควรเรียนโครงสร้างของเนื้อความด้วย ยกตัวอย่าง เนื้อหาบางอย่างมีโครงสร้างที่เเสดงการเเก้ปัญหา โดยมีเริ่มต้นเนื้อเรื่องด้วยปัญหาและทางออกอยู่ในตอนท้าย นักเรียนที่เข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาแบบนี้จะสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หากรู้ว่าควรดูที่จุดใดในเนื้อเรื่อง และเพื่อให้นักเรียนจดจำคำศัพท์จากบทเรียนเเต่ละบท ต้องมีการเรียนคำศัพท์เดิมซ้ำๆ ในบทเรียนต่อไป นอกจากนี้ การออกแบบบทเรียนให้เหมาะสมกับความบกพร่องของผู้เรียนก็เป็นยุทธวิธีที่ดี

แม้ว่า ลอร่า เกรย์ จะพูดได้หลายภาษา เกรดในรายงานผลการศึกษาไม่ได้บ่งชี้ถึงความสามารถทางภาษานี้ เธอบอกว่า การเขียนเเละการสะกดคำ ซึ่งเธอมีปัญหามากที่สุด มักส่งผลกระทบต่อเกรดมากที่สุด เกรย์ บอกว่าการเรียนภาษาต่างยังเป็นการพูดและฟังอีกด้วยซึ่งมีผลต่อเกรด

ด้าน พริสซิลล่า เชน กล่าวว่า โรงเรียน ดีเอเอส อะคาเดมี ออกเเบบบทเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนหนังสือเเบบต่างๆ ทางโรงเรียนอาจจเริ่มสอนนักเรียนเหล่านี้ด้วยการฟังกับการพูดเท่านั้นก่อน

เบรนดา เบอร์นัลเดส เร่งเร้านักศึกษาที่มีความบกพร่องในการเรียนหนังสือให้ค้นหาว่าวิธีการเรียนเเบบใดที่ได้ผลดีที่สุดกับตัวเอง เธอบอกว่าเมื่อรู้เเล้ว นักเรียนควรขอให้ครูใช้วิธีการสอนเเบบนั้นในห้องเรียน

สำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาด้านการอ่านกับการเขียน เบอร์นัลเดส เเนะนำว่า ให้ใช้เครื่องบันทึกเสียงช่วยในการจดโน้ต นอกจากนี้ยังมีแอพฯ อีกหลายชิ้นที่ช่วยในการอ่านเเละเขียน ไม่ว่าจะเป็น “Evernote” หรือ “Quizlet” ที่ช่วยนักศึกษาเรียนคำศัพท์ด้วยการอ่าน การฟังการออกเสียงคำ และดูภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook