นักศึกษาต่างชาติสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ น้อยลง

นักศึกษาต่างชาติสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ น้อยลง

นักศึกษาต่างชาติสมัครเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ น้อยลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

america

รายงานประจำปีที่เรียกว่า Open Doors ที่เผยเเพร่เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของนักศึกษาต่างชาติในสหรัฐฯ ที่มาจากจีนเเละอินเดียในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีจำนวนคงที่

ระหว่างปี ค.ศ. 2016 - 2017 จำนวนนักศึกษาใหม่จากต่างชาติที่สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ในปีนี้ได้ลดลงมาราว 10,000 คน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เเละนี่เป็นครั้งเเรกในรอบ 6 ปี ที่ตัวเลขนักศึกษาต่างชาติรายใหม่ที่เข้ามาเรียนในสหรัฐฯ ลดลง

Allan Goodman ประธานของ International Institute for Education หรือ IIE กล่าวว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้จำนวนนักศึกษาต่างชาติรายใหม่ในสหรัฐฯ ลดลง โดยมีเหตุผลทางเศรษฐกิจในระดับทั่วโลกเเละในระดับท้องถิ่น

สถาบัน IIE ร่วมมือกับสำนักงานกิจการการศึกษาเเละวัฒนธรรมของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ อาทิ การลดลงของจำนวนนักศึกษาจากซาอุดีอาระเบียเเละบราซิล

เเละเนื่องจากการตัดลดโครงการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ช่วยสนับสนุนเงินทุนการศึกษาเเก่นักศึกษาต่างชาติในสหรัฐฯ จำนวนนักศึกษาชาวซาอุดีอาระเบียที่สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ได้ลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบราซิล มีนักศึกษามาเรียนในสหรัฐฯ ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์

สถาบัน IIE รายงานด้วยว่า ค่าเล่าเรียนที่เเพงขึ้นในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ เเละการเเข่งขันที่สูงขึ้นจากมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ ก็ทำให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะเรียนต่อในสหรัฐฯ น้อยลง

Goodman กล่าวว่า เป็นครั้งเเรกที่ผู้ปกครองต่างชาติบ่นว่าค่าเล่าเรียนในสหรัฐฯ เเพงขึ้นจนต้องเลือกไปเรียนที่อื่นเเทน

Peggy Blumenthal หัวหน้าที่ปรึกษาเเห่งสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษาหรือ IIE กล่าวว่า มหาวิทยาลัยในเยอรมนี ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น เเละประเทศอื่นๆ กำลังเปิดหลักสูตรต่างๆ ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ หลักสูตรหลายหลักสูตรเหล่านี้มีราคาถูกกว่าค่าเล่าเรียนเเละค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯอย่างมาก

Goodman ประธานของสถาบัน IIE กล่าวว่า ประเทศต่างๆ เเละบริษััทนานาชาติทั่วโลก กำลังเเข่งขันกันเพื่อดึงดูดคนที่มีความสามารถระดับหัวกะทิเเละยิ่งมีหลายประเทศมากขึ้นที่พยายามเเย่งนักศึกษาต่างชาติให้เข้าไปเรียนในประเทศตนมากขึ้น การเเข่งขันนี้เพื่อดึงคนมีความสามารถไปทำงานจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ความปลอดภัยสำหรับบุตรหลานเเละบรรยากาศการเมืองปัจจุบันของสหรัฐฯ ก็เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนต่างชาติส่งบุตรมาเรียนในสหรัฐฯ น้อยลง

Rajika Bhandari หัวหน้าฝ่าย research, police and practice ที่สถาบัน IIE กล่าวว่า ความขัดเเย้งที่เกิดขึ้นในเขตรั้วมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ทำให้พ่อเเม่เเละปู่ย่าตายาย คิดมากขึ้นก่อนจะส่งลูกหลานมาเรียนในสหรัฐฯ

เหตุการณ์ประท้วงเเละความรุนแรงจนมีคนเสียชีวิตในเขตมหาวิทยาลัยที่กลายเป็นข่าวไปทั่วโลก อย่างที่เกิดในเมืองชาร์ล็อตสวิลล์ ในรัฐเวอร์จิเนีย ที่กลุ่มชาตินิยมขวาจัด หรือ white supremacists ปะทะกับกลุ่มต่อต้านใกล้กับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย จนทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม ยังมีนักศึกษาจากจีนเเละอินเดียมาเรียนต่อในสหรัฐฯ จำนวนมากที่สุด โดยมีนักศึกษาจากจีนถึง 350,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 7 เปอร์เซ็นต์ เเละจากอินเดีย 186,000 คนเพิ่มขึ้นกว่า 12 เปอร์เซ็นต์กว่าปีที่ผ่านมา เเละมีชาวเนปาลเข้าเรียนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 11,000 คน เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ เเละมีนักศึกษาชาวเวียดนามมากกว่า 22,400 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

นักศึกษาชาวอิหร่านในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 12,600 คนเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ไนจีเรียเป็นชาติที่ส่งนักศึกษาชาวแอฟริกันมาเรียนในสหรัฐฯ มากที่สุด โดยมีจำนวนถึง 11,700 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์

วิชาเอกอันดับหนึ่งที่นักศึกษาต่างชาติเลือกเรียนในสหรัฐฯ คือ วิศวกรรมศาสตร์ ธุรกิจเเละการจัดการ คณิตศาสตร์เเละคอมพิวเตอร์สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิจิตรศิลป์เเละศิลป์ประยุกต์ สาขาด้านการดูแลสุขภาพ

ขณะที่การเรียนด้านภาษาอังกฤษหลักสูตรรวบรัด ได้ลดลงเกือบ 26 เปอร์เซ็นต์ เเละด้านการศึกษาได้ลดลงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์

มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่อยู่ในสหรัฐฯ ต่อหลังเรียนจบ เพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกงานที่เรียกว่า Optional Practical Training หรือ OPT ที่ออกวีซ่าให้กับนักศึกษาเพื่อฝึกงานในสาขาที่เรียนจบมา

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า นักศึกษาต่างชาติสร้างรายได้เเก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ราว 39,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านเงินค่าเล่าเรียน ค่าเช่าห้องในหอพัก ค่าที่อยู่อาศัย เเละค่าใช้จ่ายในการครองชีพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook