รู้จักโปรแกรม "Grammarly" ช่วยชาวต่างชาติเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น

รู้จักโปรแกรม "Grammarly" ช่วยชาวต่างชาติเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น

รู้จักโปรแกรม "Grammarly" ช่วยชาวต่างชาติเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

grammaly

Ruslan Zamaray มาเรียนต่อในสหรัฐฯ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว แม้มาถึงตอนนี้ เขายังไม่มั่นใจในการเขียนภาษาอังกฤษของตน และจะไม่ส่งอีเมลสำคัญๆ โดยไม่ตรวจความถูกต้องผ่านโปรแกรม Grammarly เสียก่อน

เขากล่าวว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านไอที รวมทั้งตัวเขาเอง เขียนภาษาอังกฤษไม่เก่ง นี่เป็นเหตุผลที่เข้าใช้โปรแกรม Grammarly ตรวจความถูกต้องเสียก่อน โดยเฉพาะหากเป็นอีเมลที่สำคัญที่จะส่งไปให้หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานทุกคนในบริษัท

อเล็กซ์ เชฟเชนโก (Alex Shevchenko) จากกรุงเคียฟ (Kyiv) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Grammarly เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เขาเรียนปริญญาโทที่ประเทศแคนาดา เขากล่าวว่าการเขียนรายงานวิจัยยากมาก ในฐานะผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เขามีปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษและเขียนไม่เก่งเป็นทุนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงหันมาใช้เทคโนโลยีในการช่วยแก้ปัญหานี้

ในปี ค.ศ. 2008 หรือกว่า 8 ปีที่แล้ว อเล็กซ์ เชฟเชนโก และเพื่อนอีกสองคน แม็กซิม ลิทวิน (Maxim Lytvin) กับ ดมิทโทร ลิเดอร์ (Dmytro Lider) ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Grammarly

อเล็กซ์ เชฟเชนโก กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทคือช่วยผู้ใช้สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างชัดเจน และสื่อสารได้ผล และเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างไร้คำเขียนผิด

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัททั้งสามคนสร้างบริษัทใหม่ขึ้นมาโดยใช้ประสบการณ์ของตน และพัฒนาจากโปรแกรมที่พวกเขาคิดค้นขึ้นก่อนหน้านี้ คือ Mydropbox.com ซึ่งได้ขายไปในปี 2007

บรรดามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ใช้โปรแกรมตรวจสอบการเขียนภาษาอังกฤษดังกล่าว ได้กลายมาเป็นลูกค้ารุ่นแรกๆ ของโปรแกรม Grammarly

ทุกวันนี้ โปรแกรมตรวจแกรมมาร์ภาษาอังกฤษซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์นี้ มีให้เลือกใช้ทั้งเวอร์ชั่นฟรีและที่ต้องเสียเงิน คนใช้โปรแกรมนี้มีทั้งคนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

ปีนี้ทางบริษัททำรายได้ 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากลูกค้าหลายบริษัททุกวันนี้ Grammarly มีสำนักงานในซานฟรานซิสโก มหานครนิวยอร์คและกรุงเคียฟ ของยูเครน

แม้ว่าการเปิดสำนักงานในซานฟรานซิสโกจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็คุ้มค่าด้านการลงทุน เนื่องจากมีเครือข่ายพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาที่จะช่วยบริษัทพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก แต่ในบรรดาสำนักงานทั้งหมด สำนักงานที่กรุงเคียฟถือว่าใหญ่ที่สุด เพราะมีทีมวิศวกรและเจ้าหน้าที่อื่นๆ กว่า 100 คน

อเล็กซ์ เชฟเชนโก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท กล่าวว่า ทีมวิศวกรชุดแรกเริ่มของบริษัทเคยอยู่ประจำที่กรุงเคียฟ วิศวกรที่เก่งที่สุดของโลกมาจากยูเครน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในยูเครนผลิตวิศวกรที่มีความสามารถเป็นที่ต้องการของบริษัทใหญ่ๆ เช่น กูเกิ้ล หรือ เฟสบุ๊ค ตลอดเวลา

เขากล่าวว่า ซิลลิคอนวัลเล่ย์มองยูเครนว่าเป็นประเทศแหล่งทรัพยากรผลิตวิศวกรที่มีความสามารถ แต่ในปัจจุบันยูเครนได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งตัวเขาเองและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทมีบทบาทสูงในเรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook