อ่านจากตำรา "ช่วยจำ" ได้มากกว่าอ่านจาก "หน้าจอ"

อ่านจากตำรา "ช่วยจำ" ได้มากกว่าอ่านจาก "หน้าจอ"

อ่านจากตำรา "ช่วยจำ" ได้มากกว่าอ่านจาก "หน้าจอ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

book

คณะนักวิจัยทำการทดลองและประเมินพฤติกรรมผู้อ่านที่เป็นคนรุ่นใหม่ พบว่าการอ่านข้อมูลจากตำราช่วยให้จำประเด็นสำคัญได้มากกว่าการอ่านจากหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

คนยุคมิลเลนเนียลที่เกิดหลัง ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) และผู้ที่เกิดหลังยุคดังกล่าว (Post Millennials) ถูกจัดว่าเป็น 'พลเมืองดิจิทัลโดยธรรมชาติ' (Digital Native) เพราะเป็นกลุ่มคนที่เติบโตขึ้นมาในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและการดำเนินงานต่างๆ 

คนกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยและสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้มากกว่าคนรุ่นก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็ทำให้สื่อในยุคเก่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะหนังสือ ตำรา หรือสิ่งพิมพ์ที่เคยเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาเรียนรู้ของคนทั่วโลกมาหลายร้อยปี เพราะคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะอ่านหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนมากกว่าอ่านจากสิ่งพิมพ์ตัวเล่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกยังได้วางแผนระยะยาวเพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมายเมื่อปี 2009 กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาภายในรัฐใช้ตำราเรียนในรูปแบบดิจิทัลให้ครบทุกวิชาภายในปี 2020 ขณะที่อีกหลายประเทศมีนโยบายสนับสนุนให้โรงเรียนใช้แท็บเล็ตควบคู่ไปกับการเรียนจากอีบุ๊ก การย้อนกลับไปใช้ตำราหรือสิ่งพิมพ์ตามเดิมจึงอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

 c3rvcmfnztavmtm4mtm2os5qcgc

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยจำนวนหนึ่งบ่งชี้ว่า การอ่านข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลให้คนมีความอดทนน้อยลงที่จะอ่านข้อมูลที่มีความยาวหรือซับซ้อน ทำให้ ลอเรน เอ็ม. ซิงเกอร์ และแพทริเชีย เอ. อเล็กซานเดอร์ คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ในสหรัฐฯ ทำการทดลองและศึกษาพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่าง 90 คน ซึ่งเป็นคนยุคมิลเลนเนียลและหลังมิลเลนเนียล เพื่อเปรียบเทียบว่าคนเหล่านี้เข้าใจหรือสามารถจับใจความสำคัญจากการอ่านสื่อประเภทใดได้ดีกว่า โดยเปรียบเทียบระหว่างสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมกับข้อมูลดิจิทัล

คณะนักวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงประจักษ์ โดยให้กลุ่มเป้าหมายทดลองอ่านข้อมูลเรื่องต่างๆ จากสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล จากนั้นจึงให้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้อ่าน โดยกลุ่มเป้าหมายเกือบทั้งหมดยืนยันว่า ชอบอ่านข้อมูลที่เป็นดิจิทัลมากกว่าการอ่านหนังสือหรือตำรา และทำความเข้าใจเนื้อหาดิจิทัลได้ดีกว่า แต่เมื่อทำการวัดผลความเข้าใจด้วยการถามถึงประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน พบว่ากลุ่มเป้าหมายจำประเด็นสำคัญและรายละเอียดที่อ่านจากหนังสือได้มากกว่าการอ่านข้อมูลดิจิทัล

 c3rvcmfnztavmtqxmzq5my5qcgc

เหตุผลหน่ึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมการอ่านข้อมูลจากหนังสือหรือตำราทำให้คนจดจำได้มากกว่า เป็นการอ้างอิงผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่สรุปว่า หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีสิ่งขัดจังหวะและรบกวนสมาธิของผู้อ่านมากกว่า เช่น ความสว่างหรือความเร็วในการเลื่อนหน้าจอ ขณะที่การอ่านเรื่องต่างๆ จากสิ่งพิมพ์จะมีความต่อเนื่องมากกว่า เพราะการอ่านข้อมูลหนึ่งหน้ากระดาษจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมหรือความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ แต่ข้อมูลจากหน้าจอจะถูกตัดให้สั้นเพื่อให้เหมาะกับการเลื่อน หรือ Scroll ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้อ่านไม่ค่อยจะต่อเนื่อง เพราะต้องเลื่อนหน้าจอไปมา

ด้วยเหตุนี้ เว็บไซต์การประชุมเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ซึ่งนำผลวิจัยดังกล่าวมาเผยแพร่ จึงได้ระบุว่า การเรียนรู้ที่รวดเร็ว มีราคาที่ต้องจ่าย ซึ่งหมายถึงความจดจำและความเข้าใจที่อาจจะลดน้อยลงของผู้เรียนรู้ในโลกสมัยใหม่ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งมาแทนการอ่านตำราหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม WEF ได้กล่าวถึงข้อดีของข้อมูลดิจิทัลเพิ่มเติม โดยระบุว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ ขณะที่การค้นหาข้อมูลต่อยอดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังระบบอินเทอร์เน็ตมีต้นทุนต่ำกว่าการค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ แต่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายกว่ามาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook