การให้อั่งเปา (ซองแดง) หรือ แต๊ะเอีย ในเทศกาลตรุษจีน มีความหมายและความเชื่ออย่างไร

การให้อั่งเปา (ซองแดง) หรือ แต๊ะเอีย ในเทศกาลตรุษจีน มีความหมายและความเชื่ออย่างไร

การให้อั่งเปา (ซองแดง) หรือ แต๊ะเอีย ในเทศกาลตรุษจีน มีความหมายและความเชื่ออย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"วันตรุษจีน" ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญของคนที่มีเชื้อสายจีน ที่รับประเพณีสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นวัฒนธรรมของคนจีนรวมถึงในประเทศไทยนี้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งวันตรุษจีน 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ วันนี้ทาง Sanook Campus จึงอยากนำเกร็ดความรู้ในวันตรุษจีน รวมไปทั้งที่มาและความหมายของ "อั่งเปา" หรือ แต๊ะเอีย หรือว่าซองแดงที่ใครๆหมายตากันมาฝากทุกท่านด้วย

ใน วันตรุษจีน ถือกันว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งมักจะออกมาเฉลิมฉลองกันในวันนี้ เป็นประเพณีที่เก่าแก่มาอย่างยาวนาน

ชาวจีนจะเตรียมการกันในช่วงก่อนวันตรุษจีนนี้ประมาณ 1 เดือนเพื่อที่จะทำความสะอาดบ้าน เตรียมสถานที่ ตกแต่งบ้านเพราะว่าเป็นความเชื่อในเรื่องของการ "รับทรัพย์ รับโชค" และเชื่อว่าทำความสะอาดของเก่าทิ้งแล้วสิ่งดีๆจะเข้ามา

รวมทั้งในวันตรุษจีน จะมีการกราบไหวบรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆเพื่อเป็นการอวยพรและเคารพ และทานอาหารร่วมกันทั้งครอบครัว ที่เห็นบ่อยๆในการไหว้ก็เป็นอาหารจำพวก เป็ด ไก่ หมู กุ้ง หรือหมี่เตี๊ยว ถือว่าจะเป็นวันครอบครัวสำคัญมากๆของชาวจีน

วันตรุษจีน 2567

วันตรุษจีนจะแบ่งออกเป็น 3 วันได้แก่ วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว

  • วันจ่าย วันนี้ครอบครัวเชื้อสายจีนจะไปซื้อของเพื่อมาสักการะ เทพเจ้า และบรรพบุรษ ในวันไหว้นั่นเอง

  • วันไหว้ วันที่คนในครอบครัวเชื้อสายจีนจะถือว่าวันนี้เป็นวันสิ้นปี ก็จะมีการไหว้เทพเจ้าๆต่างๆเพื่อขอโชคขอลาภก่อนขึ้นปีใหม่

  • วันเที่ยว วันเที่ยวเป็นวันแห่งโชคลาภ และสิริมงคล จะเป็นการไปกราบไหว้ผู้ใหญ่ รวมทั้งออกไปท่องเที่ยวงานประเพณีหรือสถานที่ต่างๆในวันนี้ 

อั่งเปา

แล้วทำไมตรุษจีนถึงต้องมี "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" มีความหมายอย่างไร 

ธรรมเนียมที่ใครๆก็ต้องนึกถึงในวันตรุษจีนคือ อั่งเปา ซองสีแดงเป็นสีมงคล สีแห่งโชคลาภของชาวจีนดังนั้นซองใส่เงินหรือ อั่งเปา ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงเป็นการอวยพร และส่งต่อโชคลาภให้กับเด็กๆหรือผู้ที่ไม่มีรายได้และคนอายุน้อยกว่า เปรียบเสมือนการอวยพรให้ มีโชค มีความสุข และร่ำรวย เป็นเงินขวัญถุงและเปรียบเสมือนความเจริญรุ่งเรืองและ เพิ่มพูน ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือกันในเหล่าชาวจีน ในวัยเด็กคุณแม่ถึง "จะคอยห้ามไม่ให้นำเงินมาใช้" ในทันทีเพื่อเป็นการฝึกให้ประหยัดอดออมอีกด้วย

ความแตกต่างกันระหว่าง "อั่งเปา" และ "แต๊ะเอีย" ทั้งสองอย่างนี้คือสิ่งเดียวกัน จะเรียกอย่างไรก็ได้ มีที่มา มาจากภาษาจีนแต้จิ๋วเหมือนกัน แต่ก่อนเดิมนั้นจะเรียก "แต๊ะเอีย" เนื่องมาจากเงินจีนสมัยก่อนจะมีรูตรงกลาง ซึ่งเด็กๆจะนำมาคล้องผูกไว้ที่เอว แต๊ะเอียก็แปลว่า "ผูกไว้ที่เอว" เลยเป็นที่มาของคำๆนี้

จนปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนไปเงินเริ่มกลายเป็นธนบัตร ก็เลยมีการนำเงินมาใส่ซองสีแดง ซึ่งซองแดงที่พูดถึงนั่นคือคำว่า "อั่งเปา" นั่นเอง อั่ง(จีนแต้จิ๋ว) แปลว่าแดง เปา(จีนแต้จิ๋ว) แปลว่า กระเป๋าหรือซอง จนทำให้ปัจจุบันมีการเรียกคำว่า "อั่งเปา" มากขึ้นแต่บางบ้านก็ยังคงเรียกแต๊ะเอียอยู่เหมือนกัน

เป็นเกร็ดข้อมูลเล็กๆก่อนจะถึงวันตรุษจีน วันหนึ่งที่สำคัญสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนจีน ในประเทศไทยซึ่งได้รับวัฒนธรรมอันเก่าแก่นี้มาเต็มๆ เป็นวันปีใหม่ของชาวจีนที่สำคัญวันหนึ่ง ยังไงทางเราขออวยพรให้แก่คนไทยเชื้อสายจีนทุกคน หรือจะนำคำอวยพรนี้ไปอวยพรกันต่อได้เลย "ซินเจียยู่อี่ ซินหนี่ฮวดไช้" (จีนแต้จิ๋ว), "ซินเหนียนไคว่เล่อ"(จีนกลาง)  ขอให้ทุกท่าน เฮง เฮง รวย รวย "อั่งเปาตั่วตั่วไก๊" กันถ้วนหน้า

 อั่งเปา

การให้อั่งเปา หรือ แต๊ะเอีย ในเทศกาลตรุษจีน มีความหมายและความเชื่อดังนี้

  1. เป็นการอวยพร
    • เด็กๆ: อวยพรให้เด็กๆ โชคดี มีโชคลาภ สุขภาพแข็งแรง เจริญเติบโต
    • ผู้ใหญ่: อวยพรให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน สุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว
    • คู่แต่งงาน: อวยพรให้มีความสุข สมหวังในชีวิตคู่
  2. เป็นการแบ่งปันโชคลาภ: ตามความเชื่อของชาวจีน สีแดงเป็นสีมงคล เงินในอั่งเปาเปรียบเสมือนการแบ่งปันโชคลาภให้กับผู้รับ
  3. เป็นการเสริมสิริมงคล: เลขในธนบัตรที่ใส่ในอั่งเปาก็มีความหมายมงคล เช่น เลข 8 หมายถึง โชคลาภ เลข 9 หมายถึง ความยั่งยืน
  4. เป็นการสานต่อประเพณี: การให้อั่งเปาเป็นประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ และสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว
  5. เป็นการสร้างความสุข: เด็กๆ มักตื่นเต้นกับการได้รับอั่งเปา เป็นการสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับเด็กๆ

การให้อั่งเปาเป็นประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมายาวนาน เป็นการแสดงความรัก ความห่วงใย และความปรารถนาดีต่อผู้รับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook